ปฏิรูปอีกครา สถานศึกษาสำคัญที่สุด


ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ตั้งใจปัดฝุ่นกิจกรรมทำหนังสือเล่มเล็ก ควบคู่กับกิจกรรมวิชาการต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียนรักการอ่านการเขียน เส้นทางนักเขียนน้อย..คงต้องค่อยๆปลูกฝัง สัมพันธ์กับจุดเน้น สพฐ.ที่มุ่งให้นักเรียนเขียนตอบ แบบอัตนัย ซึ่งไม่ใช่ง่ายเลย ถ้าครูไม่ดำเนินการผ่านศิลปะ ที่ต้องผสมผสานกันระหว่างเรื่องกับรูป และกระดาษกับสีสัน

ในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมา จนถึงในรอบสัปดาห์ที่ผ่านไป สำนึกดีๆเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง พยายามที่จะทำให้งานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเป็นปัจจุบัน ตามคำแนะนำของผู้มีความรู้และประสบการณ์บอกเราว่า ต้อง"ทำทุกวันและทำทุกคน" พอได้ลงมือปฏิบัติจริงจึงพบว่ามีเรื่องที่ต้องทำและสะสางมากมาย

คลายเครียดได้บ้าง เมื่อทีมงานรายการ"คบเด็กสร้างบ้าน"จากช่อง 7 สี มาหาข้อมูลและสัมภาษณ์นักเรียนชั้น ป.๕  เด็กหญิงสดานันท์ วงษ์สุววรณ(ขวัญ) เพื่อนำไปเขียนบทโทรทัศน์และบันทึกเทป ด้วยเห็นว่าเป็นเด็กดี มีคุณลักษณะพิเศษที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน แม้ว่าครอบครัวจะมีฐานะยากจน "บ้าน"ไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่สอบได้ที่หนึ่ง อ่านคล่องเขียนคล่อง..ดีกว่าลูกผู้ดีมีฐานะ

วันต่อมา..รู้สึกเหนื่อยที่จะพูดบรรยายให้แก่ผู้มาศึกษาดูงาน..เหนื่อยใจเมื่อคิดว่า..ทำไม..จึงไม่เรียนรู้หลักการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ถ่องแท้กันเสียก่อน แล้วคิดวิเคราะห์ไปแต่ละมิติที่สอดคล้องกับบริบทโรงเรียน และทำไมจึงลุกขึ้นมาสนใจ ในเวลาที่จะถูกประเมิน เรื่อง "พอเพียง" เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ต้องนำพาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน..เราจึงให้นักเรียนเป็นผู้นำในการเล่าเรื่องราว เพื่อการเรียนรู้ของผู้ที่มาเยี่ยมเยือน...นับวันยิ่งจะเข้าใจ โรงเรียนจะเล็กหรือใหญ่..มันอยู่ที่วิธีคิดจริงๆ

ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ตั้งใจปัดฝุ่นกิจกรรมทำหนังสือเล่มเล็ก ควบคู่กับกิจกรรมวิชาการต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียนรักการอ่านการเขียน เส้นทางนักเขียนน้อย..คงต้องค่อยๆปลูกฝัง สัมพันธ์กับจุดเน้น สพฐ.ที่มุ่งให้นักเรียนเขียนตอบ แบบอัตนัย ซึ่งไม่ใช่ง่ายเลย ถ้าครูไม่ดำเนินการผ่านศิลปะ ที่ต้องผสมผสานกันระหว่างเรื่องกับรูป และกระดาษกับสีสัน

การไม่อยู่โรงเรียนถึงสองวัน รู้สึกว่าชีวิตว่างเปล่า เหมือนมิได้ทำประโยชน์อันใด ให้แก่ทางราชการ แต่อันที่จริงก็ทำอยู่ โดยไปเข้ารับการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ในสองเรื่อง ที่เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพของโรงเรียนเครือข่าย..(กลุ่มโรงเรียน) เหมือนเขตตั้งใจจะสนับสนุนงบประมาณ แต่กลุ่มเครือข่ายจะต้องคิดค้นนวัตกรรมนำสู่คุณภาพที่ดีกว่าเดิม และวันต่อมาเข้ารับฟังการชี้แจงแถลงไขสิ่งที่ต้องมีต้องใช้ในการประกันคุณภาพภายใน เพื่อการรับรองของ สมศ.ทั้งรอบสามรอบสี่

ความรู้ที่ได้ทั้งหมดทั้งมวล ก็เข้าใจดีว่า ผู้จัด(เขตพื้นที่)มีความปรารถนาดีที่จะเห็นโรงเรียนและกลุ่มโรงเรียนก้าวไปข้างหน้า..แต่เราก็อดคิดไม่ได้ว่า..หลายเรื่องหลายราว เหมือนความรู้วนไปวนมา เหมือนเคยรับรู้มานับครั้งไม่ถ้วน และเหมือนว่าการประชุม..ต้องการใช้เวลาและงบประมาณให้หมดไป คือ เราก็ไม่ใช่คนดีคนเก่งอะไร แต่ก็พอจะเข้าใจว่า บางเรื่องเป็นหน้าที่ที่ต้องทำกันอยู่แล้วมิใช่หรือ และถ้าจะให้ประหยัด..ครูและผู้บริหาร ก็น่าจะศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองได้

เมื่อเป็นดั่งนี้กระมัง..คสช.จึงของบประมาณการศึกษากลับคืนไปตั้งหลัก มิฉะนั้น..ครูต้องทิ้งโรงเรียนไปนั่งอบรมสัมมนาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ฟังแต่เรื่องเดิมๆ เพื่อผลสัมฤทธิ์ที่ได้เหมือนเดิมอีก แต่ถ้าครูมีเวลาศึกษาด้วยตนเอง และให้เวลาแก้ปัญหากับเด็กในชั้นเรียน คุณภาพการศึกษาย่อมจะดีขึ้นอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตามเนื้อแท้ของการศึกษา..เข้าถึงไม่ยาก เพียงแต่"หัวใจ"ของความเป็นครู ต้องเข้มแข็งพอ และไม่ควรคิดใหม่ทำใหม่ไปเรื่อย เช่น โรงเรียน..แบบนั้น..โรงเรียน..แบบนี้ แล้วก็อบรม ประกวดประชัน แข่งขันประเมิน ตอนนี้ก็เห็นว่ามีโครงการ โรงเรียนสุจริต(มั้ง) คิดแล้วก็ขำๆ ทำไมไม่ทำโครงการ  สพฐ.ศธ.สุจริตบ้าง ก็เห็นว่า วันก่อนมีการสอบผอ.เขต. สอบเสร็จแล้ว ก็ต้องให้สอบใหม่(ในภาค ข.) ..บ้านเมืองเรา การศึกษา..ผู้นำ...คำพูดกับการปฏิบัติมักจะตรงข้ามกันเสมอ

ท้ายที่สุด..ก็จบลงด้วยความสุข ที่ลูกชายย้ายจากบ้านเช่าเข้าอยู่บ้านพักครู วันที่ไปส่งลูกขึ้นบ้านใหม่ จำได้ว่าเป็นบ้านทรงเก่า ที่อยู่คู่โรงเรียนมานานมากกว่า ๓๐ ปี การศึกษาอนุรักษ์สิ่งเหล่านี้ไว้อย่างดี จากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก เป็นสวัสดิการที่ครูไทยพอหาได้ แต่ไม่ทุกที่ ก็แปลกดี ทีโกงกินกันเป็นร้อยล้านพันล้าน ดูง่ายดาย แต่กับการศึกษาว่าด้วยบ้านพักครู..จะตระหนึ่ถี่เหนียวกันไปถึงไหน เพราะถึงอย่างไร ปฏืรูปการศึกษา จะโมเดลไหนก็ตาม สถานศึกษาสำคัญที่สุด ครับ

                                                                                              ชยันต์  เพชรศรีจันทร์

                                                                                               ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๗

 


ขอบคุณเพลงโรงเรียนของหนู จาก YouTube



หมายเลขบันทึก: 571283เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2014 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2014 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

จะบ่น  จะด่า  จะว่า  จะชัง  อย่างไร....ยังไง ๆ ก็ออกนอกกรอบ  นอกกำแพงไม่ได้อยู่ดี...

เป็นผู้น้อย ค่อยก้ม  ประนมกร    ลำบากก่อน.....แล้วจะ....ตาย....เมื่อปลายมือ...55555

มาสนับสนุนโครงการหนังสือเล่มเล็ก

เด็กๆจะได้เขียนและอ่านได้

การจะเขียนอะไรได้เก่งนักเรียนส่วนใหญ่จะผ่านการอ่านมาก่อน

สมัยก่อนเราเขียนเรียงความบ่อยมาก ครูแก้ไขให้ เป็นผลให้เรารักการอ่านการเขียนครับ

งบประมาณบ้านพักครูทุกที่เลยครับ

โทรมและเก่ามาก   มาให้กำลังใจครับ...

มาให้กำลังใจ ...โครงการ... นักเขียนน้อย .... หนังสือเล่มเล็ก...ของเด็กๆๆ นะคะ

เป็นกำลังใจให้นะครับชยันต์

"ทำไมไม่ทำโครงการ สพฐ.ศธ.สุจริตบ้าง ก็เห็นว่า วันก่อนมีการสอบผอ.เขต. สอบเสร็จแล้ว ก็ต้องให้สอบใหม่(ในภาค ข.) ..บ้านเมืองเรา การศึกษา..ผู้นำ...คำพูดกับการปฏิบัติมักจะตรงข้ามกันเสมอ"  อาจารย์ครับการสร้างภาพมันง่ายกว่าตัวเองปฎิบัติจริงครับ

ชอบโครงการหนังสือเล่มเล็กค่ะ

เผยแพร่ให้อ่านได้มั๊ยคะ  อยากอ่านค่ะ

ขอบคุณครับ ขอบคุณทุกท่านที่อ่านบันทึกของผม

คุณnui ครับ แล้วผมจะเขียนเล่าให้ฟัง ถึงแนวดำเนินการทำหนังสือ..

ตอนนี้ไปได้สวย เพราะจับจุดได้ ว่าทำทำไม เด็กได้อะไร มากกว่าจะทำเป็นผลงานเลื่อนซี เลื่อนตำแหน่ง

ผมเรียนรู้มาจาก ครูมะเดื่อ ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท