ทุกข์....ของครูผู้สอน....ภาษาไทย


ปัญหานี้ จะแก้ที่ไหนดี


ไม่รู้ว่า....ครูภาษาไทย ที่สอนภาษาไทยมาหลาย ๆ ปี เรียกว่าจากรุ่นลูกถึงรุ่นหลาน

จะเจอปัญญหาเหมือน ๆ คุณมะเดื่อกันบ้างหรือเปล่านะ.....

คุณมะเดื่อ  ไม่ได้เรียนวิชาเอกภาษาไทยมาโดยตรง   แต่ตัองมาสอนภาษาไทย

นับแต่บรรจุวันแรก  ....  ซึ่ีงยุุคนั้น  โรงเรียนประถม  ไม่มีการเลือกครูที่จบวิชาเอก

ใด ๆ  เหมือนยุคนี้    และครูที่บรรจุใหม่ยุคนั้น  ส่วนใหญ่ ก็จะจบ ป.กศ. ( ต้น )

เหมือนคุณมะเดื่อนี่แหละ   จึงต้องสอนได้ทุกวิชา




ย้อนหลังไป สามสิบกว่าปี  ( คนแก่นึกถึงอดีต  อิ อิ  )เทคโนโลยีต่าง ๆ ยังไม่ผุด

เหมือนดอกเห็ดได้ฝน เหมือนปัจจุบันนี้   เด็ก ๆ  ที่สมาธิสั้นมีน้อยมาก  

เรื่องกิริยามารยาทตลอดจนคำพูดคำจา ก็ได้รับการอบรมฝึกฝนเสร็จสรรพ

มาตั้งแต่บ้านแล้ว  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  การอ่าน  การเขียน  

ผู้ปกครองจะสานต่อจากโรงเรียนเป็นอย่างดี




การอ่านหนังสือ ก่อนนอน  หรือหลังทำการบ้านเสร็จ  ดูเหมือนจะ

เป็นกิจวัตรหลักของเด็ก ๆ ที่จะต้องทำเป็นประจำเมื่ออยู่บ้าน

ดังนั้น  เด็ก ๆ ยุคนั้น  จะอ่าน  เขียน เก่ง  อ่านหนังสือคล่อง

เป็นส่วนใหญ่  มีบ้างที่มีปัญหาการอ่าน  ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา

แต่ ในห้องหนึ่งจะมีเพียงสองสามคนเป็นอย่างมาก   ส่วน

การเขียน  เด็ก ๆ จะเขียนหนังสือเป็นระเบียบเรียบร้อย

ถึงลายมือไม่สวย  แต่ก็จะอ่านง่าย




เด็กจะเขียนหนังสือผิดน้อยมาก  เด็กจะมีความรอบคอบในการเขียน

มีการอ่านทบทวนหลังเขียนเสร็จแล้ว  เด็ก ๆ จะมีความคิดสร้างสรรค์

มีสมาธิและมีความตั้งใจเขียนดีมาก



จะว่าไปแล้ว  สภาพแวดล้อมทางสังคม   ความเจริญก้าวหน้าของโลก  มีส่วนมากมาย

กับการเรียนของเด็ก ๆ  สมัยก่อน  เด็ก ๆ ฟังแต่วิทยุ  ต้องตั้งใจฟัง  ต้องจินตนาการ

ไปตามเสียงที่ได้ยิน  ผลที่ตามมาก็คื ได้สมาธิในการฟัง   และได้ความคิดสร้างสรรค์

ค่ำคืน...ไม่มีโทรทัศน์  ไม่มีเกม  ไม่มีคอมพิวเตอร์  ไม่มีโทรศัพท์มือถือ  ที่สำคัญ

ไม่มีรถเครื่อง  รถยนต์ได้ได้ท่องเที่ยวในยามราตรี   จึงมีแต่หนังสือ  กับพ่อแม่

ผู้ปกครองที่ ให้ลูก ๆ หลาน ๆ อ่านหนังสือให้ฟัง  



คุณมะเดื่อจำได้ฝังใจว่า  พ่อจะเป็นคนสอนให้อ่าน  ให้เขียน  ให้ทำการบ้าน  โดยมี

ไม้บรรทัด  ( ที่ทำด้วยไม้จริง ๆ  มิตรรักแฟนเพลงหลาย ๆ คนคงเกิดทันนะ ) วางไว้

ข้าง  ๆ  คำไหนที่พ่อสอนแล้ว  ยังอ่านผิดอีก  เป็นโดนไม้บรรทัดตีเผียะ ทันที

ทีนี้จำจนวันตาย  หรือ ถ้ายังอ่านไม่ได้อีก  พ่อก็จะบอกว่า..." ตัวที่โดนตีเมื่อกี้นี้แหละ"




กาลเวลาผ่านไป......เวลาในชีวิตของเด็ก ๆ วัยที่กำลังผึกอ่าน 

ฝึกเขียนถูกฉุดดึงไปด้วย สิ่งล่อตา  เร้าใจในสังคม  คือ วิดีโอ

โทรทัศน์  ร้านเกม  รวมถึงการออกไปสัมผัสกับสังคมนอกบ้าน

ที่ง่ายดายด้วยพาหนะต่าง ๆ   ภาพความอบอุ่นในครอบครัว

ภาพของพ่อ  แม่  ผู้ปกครองที่สอนลูกหลานให้อ่านเขียน หรือ

ทำการบ้านยามเย็น  จางหายไปจากสังคม  แม้แต่สังคมชนบท

กลายเป็นภาพของ " ห้องเรียนกวดวิชา "  หรือ  " ห้องแถวที่รับ

สอนพิเศษ "  มาแทนที่




ย้อนกลับมาดูสภาพการเรียนการสอนในโรงเรียนกันบ้าง......

เสาเข็มที่เป็นรากฐานของชีวิตการศึกษาของเด็กอยู่ที่การเรียน

ในช่วงชั้นที่ 1  สำคัญที่สุดคือ  ป. 1  ป. 2   สมัยก่อน  ครูที่สอนเก่ง

สอนดี  โรงเรียนจะจัดให้สอน  ป.1  จนครูหลายคน สอน ป.1 

จนเกษียณก็มี   เด็ก ป.1  จึงอ่าน เขียนเก่ง  มีหลักในการอ่าน

การเขียน  และเขียนหนังสือ เป็นระเบียบ เรียบร้อย  




เดี๋ยวนี้.....( เอาเฉพาะ ที่ใกล้ ๆ ตัวคุณมะเดื่อ นะ  ที่ไกล ๆ  อาจจะ

ผิดแผกแตกต่างไปจากนี้ )  เมื่อไร้ระบบ  จึงไม่มีอะไรเป็นเกณฑ์

ในการจัดครูลงสอน ในระดับประถมต้น  ( ป.1 - ป.3 )  เมื่อไม่มี

เสาเข็ม  ที่ตอกอย่างมั่นคง  เมื่อเด็กขึ้นมาถึงคุณมะเดื่อในชั้น

ป.4  ซึ่งเปรียบเสมือนการ ตีฝา   มุงหลังคาแล้ว  แม้คุณมะเดื่อ

จะรังสรรค์ ฝา  หรือ  หลังคาให้งดงามเพียงใด   บ้างทั้งหลัง

ก็พังอย่างไม่เป็นท่า .....  เด็ก ป. 4  มีความรู้การอ่าน  การเขียน

พอ ๆ กับ เด็ก  ป. 2   ยุคก่อน  ทั้งการอ่าน  การเขียน ไม่คล่อง

เกือบทุกคน   คำง่าย ๆ  ก็เขียนไม่ถูก  ....  อย่างนี้แล้ว....

จะแก้ไขที่ครู  หรือ  เด็ก   หรือ  บ้าน   หรือ....ระบบงาน  ดีล่ะ  ??




ขอบคุณเพลง ชะตากรรม ประกอบบันทึกนี้ จาก YouTube

หมายเลขบันทึก: 570951เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2014 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2014 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

เป็นการเรียนรู้ที่เข้าถึงเด็ก...และลึกซึ้งเชื่อมโยงกับธรรมชาติดีจังครับ

..........ในระดับประถมศึกษาชั้นที่สอนยากที่สุดคือชั้น ป.๑ และเป็นชั้นที่ทำให้ครูมีความสุขที่สุด เหนื่อยที่สุดต้องทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ให้เขาอย่างเต็มที่ ต้องใช้รูปแบบการสอนที่หลากหลาย ใจเย็น  อดทนสูง และสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือปลูกฝังเขาให้มีระเบียบวินัย รับผิดชอบงานมอบหมายให้ได้ จึงจะทำให้การสอนได้ง่ายขึ้น เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ต่างกัน บางคนเร็วมา บางคนช้ามากๆ จากประสบการณ์ที่เคยสอน ป.๑ มาก่อน เวลาเด็กทำงานเสร็จจะต้องมาอ่านให้ครูฟังก่อนรายบุคคล (ถ้าผิดแนะนำ แก้ไข) ถ้าผ่านให้เขาอ่านหนังสือภาพ นิทาน ที่เตรียมไว้รอเพื่อน แล้วครูจะได้มีเวลาซ่อมเด็กที่เรียนช้า สิ่งที่ได้รับทำให้เขาอ่านหนังสือได้เร็วขึ้น เป็นการปลูกฝังการอ่านไปในตัว (ในสมัยนั้นยังไม่มีโทรทัศน์ หรือเกม แพร่หลาย หากเขาได้อ่านการ์ตูนเด็กจะมีความสุข กระตือรือร้นค่ะ)

..........ครู ป.๑ - ๓ จะต้องสานต่อกันค่ะ  ถือว่าช่วงนี้เป็นช่วงสำคัญที่เราจะสร้างให้เขาอ่านได้ดี แต่ถ้าเกิดไปแผ่วในชั้นใดชั้นหนึ่งในช่วงนี้  ครูป.๔ -๖ ต้องเหนื่อยกันละค่ะ  ดิฉันเองก็ไม่ได้จบเอกภาษาไทยโดยตรง แต่อาศัยการเรียนรู้จากตำรา และประสบการณ์ตรงจากครูรุ่นพี่ รุ่นแม่ และคุณพ่อของดิฉน ท่านได้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือตลอด ยอมรับว่าเหนื่อยมากๆ แต่ก็สุขใจที่เขาอ่านได้

..........สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กอ่านหนังสือไม่คล่อง เชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากสื่อเทคโนโลยีที่ไม่ถูกต้อง เช่น เล่นเกม ดูโทรทัศน์มากเกินไป และเด็กขาดความรับผิดชอบค่ะ การที่จะแก้ไขนั้นจะแก้ที่ครูเพียงฝ่ายเดียวคงไม่ได้ ต้องร่วมแก้ด้วยกันหลายๆฝ่าย  ไม่ว่าจะเป็นครู ผู้ปกครอง ตัวเด็ก และระบบภายในค่ะ

..........ต้องขออภัยคุณครูมะเดื่อนะคะที่เขียนยาวไปหน่อย

สวัสดีจ้ะคุณทิมดาบ  หายไปนานพอควรนะจ๊ะ  ขอบคุณที่แวะมาทักทายจ้ะ

สวัสดีจ้ะคุณอร   คุณมะเดื่อก็เคยสอนประจำชั้น ป.1 มาแล้ว  แม้จะไม่กี่ปี  แต่ก็ทราบดีว่า  ครูที่สอน ป.1 จะต้องเป็นครูที่มีความอดทน  ใจเย็นแค่ไหน  ตำราที่ว่าแน่ ๆ แล้ว มาเจอเด็ก ป.1 ตำรานั้นก็ด้อยไปถนัดใจ.....หลายครั้งต้องประยุกต์ใช้  หรือแต่งตำราใหม่กันเลยทีเดียว  สมัยที่คุณมะเดื่อสอน ป.1 นั้น  ที่โรงเรียนของคุณมะเดื่อ  ยังไม่เปิดสอน ชั้นอนุบาล  ดังนั้นเด็ก  ป.1 จึงยังไม่ผ่านการเรียนรู้ใด ๆ 

มาเลย  นอกจากเรียนรู้จากบ้าน   จับดินสอยังไม่เป็น  ต้องจับมือเขียน  ช่วงนั้นคุณมะเดื่อไว้ผมยาว  จึงได้  "  เหา  "  จากเด็กแถมมาด้วย...5555   คุณมะเดื่อจึงว่า  ครู ที่สอน ป.1  ต้องเป็นครูที่เก่งสุด ๆ 

เรียกว่า  ครูมือโปร  เลยทีเดียว   .......... ขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะจ๊ะ  ดีใจที่ได้พบคุณครูอร

ครูมืออาชีพเช่นกันจ้ะ

บัดนั้น....พญาภิเพกยักษี เห็นพระองค์ทรงโศกโสกี  อสุรีกราบลงกับบาทา.......

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจในมนุษย์ มันสุกซึ่งลึกล้ำเหลือกำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกลียวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเท่าหนึ่งในน้ำใจคน....ทุ่องทุกวันก่อรเลิกเรียน

ภาษาไทยคือหัวใจสำคัญในการเรียนของเด็ก หากเด็กไม่ถนัดภาษาไทย -> เด็กก็จะไม่ชอบอ่าน ->เรียนไม่เข้าใจ ->ไม่รอบรู้ ไม่เก่ง ไม่ฉลาด -> จะเรียนต่อชั้นสูง ๆ ได้อย่างไร ซึ่งส่งผลโดยตรงกับอนาคตเด็ก

 มาให้กำลังใจคุณครู อาจารย์ภาษาไทยทุกท่านนะค่ะ

หวัดดีจ้ะลุงวอ   คุณมะเดื่อก็ท่องทุกเย็นก่อนเลิกเรียนเหมือนกันจ้ะ  ยังจำได้จนทุกวันนี้  ที่ชอบมาก ๆ ก็บท " ลำหับชมป่า..."  ลำหับสาวชาวเงาะ ( ซาไก )  ไม่คิดว่าในชีวิตนี้จะได้พบเจอลำหับ (ซาไก)  ตัวจริงนะ  ขอบคุณที่มาทักทายจ้ะลุงวอ

หวัดดีจ้ะคุณกุหลาบ  ถูกต้องที่สุดจ้ะ  เด็กไทย โดยเฉพาะเด็กประถม  หากมีปัญหาในการอ่าน การเขียนภาษาไทยแล้ว....วิชาอื่นก็ยากลำบากไปหมด  ขอบคุณสำหรับการทักทายและกำลังใจจ้ะ

"อย่าคิดว่าทุกข์..คิดว่า..สนุกกับการ..เรียนของเด็กๆ"..น่าจะหมดสมัยกับการจับมือเด็กเรียนแล้ว..มั้ง...แถมท่องจำ...นั่งเรียนทั้งวันๆ..เบื่อมั้ง..(เรายังเบื่อเลย)...เรียนกับเล่นน่าจะเป็นเรื่องที่ไปพร้อมๆกันได้...มั้ง..อิอิ..ยายธี...มีดอกไม้มาฝาก..ให้กำลังใจ..ด้วยเจ้าค่ะ

สวัสดีจ้ะยายธี ที่รัก  ขอบคุณสำหรับกำลังใจจ้ะ  ดอกไม้สวยมาก  คล้าย ๆ พวงชมพูบ้านเรานะจ๊ะ

นี่คือ ปัญหาระดับชาตินะครับ เราบ้าอเจนด้าห่วยๆ ของนักการเมือง ของประเทศมากไปว่า ปีหน้าจะเข้าเออีซี แต่ถามหน่อยว่า เรามีดีอะไรอวดเขา เรามีรากฐานอะไร ที่จะโชว์คนอื่น มัวแต่เร่งเร้า ให้เด็กเรียนภาษาอังกฤษๆๆหรือภาษาต่างชาติ แล้วภาษาตัวเองเก่ง ดี มีคุณภาพแค่ไหนครับ  สงสารครูที่จะต้องถูกล้างสมองให้ตื่นเต้นไปกับคำว่า "เป็นหนึ่งเดียวกัน" ในอาเซี่ยน แล้วมากระตุ้นให้เด็กไทยบ้า เห่อห่อภาษาต่างชาติแบบงูๆ ปลาๆ รวมไม่รวมเขตเอเชียก็ไม่ได้ย้ายหนีไปทวีปอื่นนะครับ เรายังปักหลักที่เดิม ทะเลาะกันเหมือนเดิม

รัฐฉลาดหรือชาติเสื่อม หรือเพราะอิทธิพลของสังคมโลกหลอกหลอนเรา  ครูควรจะสอนให้รู้และเข้าใจภาษาไทยให้มากครับ เพราะภาษาคือ สื่อแทนใจ ความคิด ทัศนะ วัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ ฯ ของประเทศ และภาษาเป็นสื่อกลางในการแสดงความคิดเห็นให้ตรงเจตนาและอารมณ์ครับ หากเด็กสื่อภาษาผิดๆ ไม่ซึ้งในคำและความหมาย โตขึ้นเขาจะสื่อสารถูกหลักภาษาอย่างไรละ

โดยเฉพาะเด็กเนิททั้งหลายที่จะก้าวไปสู่การเขียนวิทยานิพนธ์ครับ การใช้ภาษาวิชาการ ภาษาเขียนไม่เป็น จะเป็นผู้รู้ได้อย่างไร ผมได้ช่วยเหลือนักทำวิจัยหลายคน พบว่า ปัญหาในการทำวิจัยคือ ๑) ไม่รู้ประเด็นของงานวิจัย จึงสื่อออกมาเป็นภาษาไม่ชัด ๒) ใช้ภาษาไทยไม่ถูก (ภาษาเขียน) ๓) วิเคราะห์พลความที่อ้างมาไม่เป็น ๔) ความลุ่มลึกของภาษาและความคิดไม่สมกับคำว่า งานวิจัย ครับ

ปัญหาภาษาไทยเกิดมาตั้งแต่เด็กๆครับ ไปถึงมัธยมก็ถูกโลกสื่อครอบงำเกลี้ยง แล้วไปตันที่ระดับอุดมศึกษา เพราะกลุ่มนี้ต้องใช้ภาษาให้เป็นถูกต้อง ซึ่งจะไปสอดคล้องกับทัศนคติ ความคิด การวิเคราะห์ เหตุผล เชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆให้ได้ มิฉะนั้น ก็จะเป็นงานวิจัยแบบขนมชั้นหรือเป็นงานวิจัยแบบแกงโฮะ ครับ

ให้ดูบทบันทึกที่เคยเขียนเพิ่มครับ  ขอคุณครับที่อ่าน ไม่ได้กดดันอะไรนะครับ แต่อยากแชร์ปัญหาที่ดองมานาน ฝากผอ. ชยันต์ ช่วยที ขอบคุณคุณมะเดื่อครับ

http://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/5649... (ภาษาไทย)

เมื่อเด็กเปลี่๊ยนไป....;วืธีสอน...ก็ต้องเปลี่ยน..คะ....แบบที่นั่งนิ่งๆ ...แล้วมองบนกระดาน....อินี้ ...ฉาน ทำไม่ค่อยได้แล้ว ....อีนี่ ส่วนใหญ่ สนจาย สั้น จ๊ะ...อิ อิ

-สวัสดีครับครู

-เป็นปัญหาใหญ่เลยนะครับ

-สมัยนี้..มีแต่ ..อุ๊ๆ..อิ๊ๆ งุัๆ งิ ๆ

-สบายดีนะครับ?

-มีเรื่องราวของน้อง ๆ ยุวเกษตรกรมาฝากครับ..

อ่านบันทึกแล้วเห็นภาพ เห็นความจริงที่มากับความเปลี่ยนแปลงจริงๆ  ทั้งครูและพ่อแม่ก็บ่นว่าเด็กเดี๋ยวนี้สมาธิสั้น เรียนอะไรนานไม่ได้ เหนื่อยใจแทนครูเหมือนกันนะคะ  คงเป็นเพราะมีสิ่งมาดึงความสนใจเด็กๆ ไปเยอะนะคะ

ขอส่งดอกไม้เป็นกำลังใจให้คุณมะเดื่อนะครับ

คงต้องปรับเปลี่ยนการสอน

ให้สอดคล้องกับตัวนักเรียน

บางอย่างก็แก้ยาก

เหมือนติดกระดุมเมล็ดแรกผิด

มันก็ผิดมาเรื่อยๆ

แต่เราเป็นครู ต้องแก้ไขครับ สู้ๆครับ แก้ในชั้นเรานี่ละ 55555

สวัสดีจ้ะอาจารย์สุรศักดิ์  เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องหันหน้ามาให้ความสำคัญและแก้ปัญหาการอ่าน การเขียนของเด็กไทยโดยด่วนแล้วจ้ะ  มิใช่แต่จะมุ่งหวังให้โรงเรียนเป็นหัวหอก ( หัก ๆ ) แต่อย่างเดียว  คุณมะเดื่อสอนภาษาไทยในระดับประถมมาตลอดชีวิตความเป็นครูทราบดีว่า อาการ " ป่วย" ของภาษาไทยดังที่อาจารย์ได้กล่าวไว้ในบันทึกของอาจารย์นั้น  มันถึงขึ้นที่ ICU จะไม่เปิดประตูต้อนรับแล้ว ......เราต้องทำพร้อมกันทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องล่ะจ้ะ   ....  ท่านผอ.ชยันต์คนเก่ง ก็คงเจอปัญหาเหมือน ๆ กันนี่่แหละจ้ะ   ท่านคนเดียวคงจะแก้ไขได้ยากยิ่งจ้ะ   ขอบพระคุณอาจารย์ที่มาแลกเปลี่ยนทัศนะกัน ไม่ถือเป็นการกดดันจ้ะ  เพราะมันเป็นเรื่องจริง  ที่คุณมะเดื่อประสบกับตนเองมาตลอด  ขอบคุณอีกครั้งนะจ๊ะ

หวัดดีท่าน ผอ.คนขยัน    ถูกต้องจ้ะ  ทุกคนต้องร่วมกันแก้ปัญหา  ว่าไปตามหลักการ  แต่มองดูโรงเรียนคุณมะเดื่อแล้ว........เฮ้อ...!  เศร้า   เศร้า   เศร้า....!

หวัดดีคุณเพชร   คุณมะเดื่อก็สบายดีจ้ะ   กำลังจะประชุมผู้เกี่ยวข้อง กับ ศพด. ในการจัดอบรมยุวเกษตรกร ที่คาดว่าจะจัดราว ๆ กลางเดือนหน้าจ้ะ  คุณเพชร  คุณมด สบายดีนะจ๊ะ

หวัดดีจ้ะพี่นุ้ย   จริง ๆ แล้ว ปัญหาเด็กสมาธิสั้น ในสมัยนี้ เกิดจากสิ่งแวดล้อมมากกว่าเกิดโดยธรรมชาติของเด็ก เหมือนสมัยก่อน ๆ  และเกิดด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการของครอบครัวด้วยส่วนหนึ่งจ้ะ  เรียกว่า  กรรมของเด็ก และ  เวรของครูน่ะแหละ  ขอบคุณพี่นุ้ยที่มาให้กำลังใจจ้ะ

หวัดดีจ้ะลุงชาติิ  น้อมรับดอกไม้ด้วยความขอบคุณจากใจจริงจ้ะ

หวัดดีน้องขจิต   ก็ต้องว่ากันไปตามหน้าที่จ้ะ  ขอบคุณที่มาให้กำลังใจ  เดือนหน้าว่างวันไหนบ้างจ๊ะ  อยากเชิญไปผจญภัยที่กุยบุรีอีกจ้ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท