ไปฟังนักวิชาการ เสวนา ทองคำพัทลุง 4 (หลากความเห็น มากประเด็น หลายอาจารย์)


ไม่เอาทองไปผูกกับ ศาสนา จะเป็นอิสระทางความคิด กำแพงวัฒนธรรมฐานทรัพยากรสังคม ซึ่งต้องก้าวข้ามผ่านกำแพง ใครเอาทองมาจากไหน ไม่สนใจ แต่เราจะตั้งคำถามใหม่แก่แผ่นดินนี้อย่างไร เราจะสร้างการเรียนรู้ให้ ลูกหลานอย่างไร นี้คือสิ่งที่คนเมืองลุงต้องคิด

     


 ฟังการเสวนา ให้ความเห็นเรื่องทองพัทลุง จากนักประวัติศาสตร์แล้ว  

ลองมาฟังความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ อาจารย์ บรรจง  ทองสร้างจากมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา

พูดไว้ก็น่าฟังว่า....

พื้นที่ห้วยหานออก กว้าง 2 กม. กว้าง 5 กม.ไปเชื่อมคลองเดียว ทะลุห้วยมีพรุ เป็นจุดขุดทอง

การตรวจอายุดิน และตรวจภาชนะก็บอกอายุได้ และยังได้กล่าวถึง เลทุบาตร ของวัดเขียน 

ไปสะทัง บางแก้ว ถึงท่าช้าง อำเภอควนขนุนปัจจุบัน  รศ. 131 พระเจ้าแผ่นดิน ให้ ทอง อิฐ ปูน 

เพื่อบูรณะวัด เมื่อสมัย ขุนคดราชา จะเลิกวัดวาอาราม ด้วยว่ามีการเบียดบังของวัดไปเป็นของส่วนตน 

       ข้อสังเกตุเจดีย์แถบลุ่มน้ำทะเลสาบจะเป็นแบบลังกาวงศ์  อาจารย์ ขำ กาฬสุวรรณ เล่าว่า  

เมืองปาตะลีบุตร ปะตาลีบุง หรือพัทลุง อยู่ไม่เหนือนคร ไม่ใต้สงขลา การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์

บอกอายุได้หอยน้ำเค็มที่สงขลา บอกได้ว่ามีอายุ 3500ปี จากการตรวจทางวิทยาศาสตร์ ...


    .อาจารย์ สานิต  เพชรกาฬ นักวิชาการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น บอกว่าโคกเมืองวัดเขียน 

สร้างขึ้นสมัยอาณาจักรศรีวิชัย 


อาจารย์สมคิด ทองสง ผู้อำนวยการโรงเรียน บางแก้วพิทยาคม เล่าถึงเส้นทางสายน้ำ้ ในอดีต 

ควนช่องดง รัตภูมิ สงขลา สตูล  น้ำราบ หาดเลา ตรัง ล้วนเป็นเส้นทางสายน้ำ ในอดีต  

     นาย อาณัฐ  บำรุงวงศ์  ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปกรที่ 14 นครศรีธรรมราช เล่าถึงทอง ภาคใต้  

ชื่อภูเขาทอง ที่ระนอง เคยขุดพบลูกปัดโบราณ หลัดฐานในโฉนด ที่พบทอง พัทลุง ระบุว่า 

เป็นลำห้วยโบราณ  เป็นพรุ  เป็นคลอง  ทองที่ขุดพบ จารึกตัวอักษรจีน  คือแซ่หวง  หรือหวัง 

และตะวันออกเฉียงใต้ รูปกำไลต้นแขน หัวคล้ายพญานาค แต่ไม่เหมือนพญานาค สันนิษฐานว่า

เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งของจีน คือ เห-รา เป็นการผสมพันธ์ ระหว่างพญานาคกับจรเข้  

        อาจารย์ พยุง ณ.พัทลุง กล่าวถึงพื้นที่พบทองว่า

" แม่น้ำลำคลองเมื่อมีอายุมากขึ้นเรียก old river ปกติจะไหลช้าลง 

แต่เวลาน้ำมากจะไหลเร็วกัดเซาะคดโค้งเป็นรูปเกือกม้า 

เมื่อเกิดน้ำท่วมแม่น้ำจะไหลลัดตรงท่ีคอดตัดตรงไม่ไปตามทางโค้งอีก 

ตะกอนจะปิดหัวท้ายส่วนแม่น้ำท่ีถูกตัดออกไป กลายเป็นคลองด้วน

บ้านเราเรียกหาน วิชาภูมิศาสตร์เรียกทะเลสาบรูปแอกวัว Ox bowl lake 

เมื่อน้ำไม่ไหลผ่านมีแต่ไหลลงยามฝนตก สารแขวนลอยท่ีมากับน้ำก็ทับถมเป็นตะกอน

จนตื้นเขินอันนี้ใช้เวลามากน้อยขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ ตรงทุ่งอ้อ 

อยู่ระหว่างควน ก็ตื้นเร็วกลายเป็นพรุ และ ท่ีราบลุ่มทุ่งเกษตรกรรมเหมือนท่ีเห็น 

ตรงนั้นเป็นแม่น้ำลำคลองแน่นอน อาจจะทางเดินของคลองเคี่ยมท่ีเปลี่ยนเส้นก็ได้ 

อันนี้ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากภาพถ่ายดาวเทียมอธิบายได้ 

ตรงโค้งของแม่น้ำลำคลองจะเป็นท่ีอันตรายในการเดินเรือ 

เรือมักจะล่มตรงนั่นเหมือนบางกระจะตอนใต้กรุงศรีอยุธยาท่ีเรียกว่าสุสานสำเภา "


     อาจารย์ เอ่ี่ยม  ทองดี สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเซีย มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า 

การตั้งคำถามนำไปสู่การสร้างความรู้ ไม่ใช่ท้องถิ่นนิยม ลุ่มน้ำทะเลสาบ สร้างศักดิ์ศรี ชื่อเสียง  

สร้างอัตลักษณ์คนลุ่มน้ำ ปรากฎการพบทองจะอธิบายความเป็นพัทลุงได้มั้ย  ไม่เอาทองไปผูกกับ

ศาสนา จะเป็นอิสระทางความคิด  กำแพงวัฒนธรรมฐานทรัพยากรสังคม ซึ่งต้องก้าวข้ามผ่านกำแพง

 ใครเอาทองมาจากไหน ไม่สนใจ  แต่เราจะตั้งคำถามใหม่แก่แผ่นดินนี้อย่างไร  เราจะสร้างการเรียนรู้ให้

ลูกหลานอย่างไร  นี้คือสิ่งที่คนเมืองลุงต้องคิด  

   นายอำนวย   เสมอใจ  ปราชญ์ชาวบ้าน  บอกว่าคน

พัทลุงคิดว่าทองพบที่พัทลุงก็ต้องเป็นของชาวพัทลุง 


 คุณโกสินทร์ ไพศาลสินทร์ พ่อค้าและอดีตนายก

เทศมนตรีเทศบาลพัทลุง รับลูกบอกว่ายินดีสนับสนุนงบประมาณ ให้ทองอยู่พัทลุง ซึ่งเวทีเสวนายังไม่มี

ข้อสรุป ฝากทางผู้จัด ไปคิดและจัดคุยกันต่อ 



คุณ โกศิล ไพศาลสินทร์

ครูทูรย์ ศิริรัตน์ บล็อกเกอร์ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง โตนด

ส.เสมอใจ สรุปโยนประเด็นให้คนทั้งพัทลุงร่วมตัดสินใจ

จรูญ  นุ้ยปาน นักเขียน นักวาด และนักทำ

ร่องรอยของความเก่าที่วัดเขียน

เครื่องอัดเส้นขนมจีน 

เขตเลณทุบาต ของวัดตะเขียนบางแก้ว ระบุว่า  " แต่แพรกแม่น้ำบางแก้ว  แล่นไปตามแพรกแม่น้ำข้างๆแล่นไปตามคลองโพสมาๆ แล่นไปตาลฟ้ารั่ว   แล่นไปละหานเลน แล่นไปปากกระวะ แล่นไปพญาเตย ๆ  แล่นไปแก่งตาเสียด แล่นไปตามลำน้ำพระเกิด  จนทะเลสาบเป็นแดน(เลณุบาต)......ค้นพบจากสมุดเก่า บ้านคุณ ญาดา พลยิ้ม บ้านหาดพัททอง)

หมายเลขบันทึก: 570556เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2014 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2014 05:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

จะเห็นอย่างไรกับเรื่องในอดีตทีตีความกันไปตามหลักฐานและสมมุติฐาน

แต่ปัจจุบัน ค้นพบที่พัทลุง   ควรจะเก็บไว้อนุรักษ์ไว้ในพิพิธภัณฑ์ที่จังหวัดพัทลุง

จะเป็นประโยชน์เอื้อแก่ประชาชนชาวพัทลุงในอนาคตค่ะ

ตามมาอ่านจ้ะลุงวอ   ขอบคุณจ้าา

Pattalung can do with nore 'tourists attraction' -- I support another display centre in Pattalung.

I am a bit puzzled by :

...นาย อาณัฐ บำรุงวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปกรที่ 14 นครศรีธรรมราช เล่าถึงทอง ภาคใต้ ชื่อภูเขาทอง ที่ระนอง เคยขุดพบลูกปัดโบราณ หลัดฐานในโฉนด ที่พบทอง พัทลุง ระบุว่า เป็นลำห้วยโบราณ เป็นพรุ เป็นคลอง ทองที่ขุดพบ จารึกตัวอักษรจีน คือแซ่หวง หรือหวัง และตะวันออกเฉียงใต้ รูปกำไลต้นแขน หัวคล้ายพญานาค แต่ไม่เหมือนพญานาค สันนิษฐานว่า เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งของจีน คือ เห-รา เป็นการผสมพันธ์ ระหว่างพญานาคกับจรเข้...

He adds evidence of the digging site being a watery area (ที่พบทอง พัทลุง ระบุว่า เป็นลำห้วยโบราณ เป็นพรุ เป็นคลอง). But he then adds this รูปกำไลต้นแขน หัวคล้ายพญานาค แต่ไม่เหมือนพญานาค สันนิษฐานว่า เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งของจีน คือ เห-รา เป็นการผสมพันธ์ ระหว่างพญานาคกับจรเข้ which is confusing perhaps he means มกร (มะกะระ) as in ราศีร์มกร หรือ ราศีร์มังกร ของอินเดียโบราณ (please search the Net with 'makara' or 'มกร').

Perhaps we should ask for explanation from ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปกรที่ 14 นครศรีธรรมราช.

-สวัสดีครับ

-น่าสนใจเรื่องประวัติเมืองใต้

-เย็นวาน..ได้ฟังข่าวเรื่องทองเมืองใต้

-เห็นแล้วประทับใจที่มีคนนำมาคืน...แผ่นดิน...

-ชอบใจเครื่องอัดเส้นขนมจีน..

-คิดๆ  ดูว่าเขาจะอัดเส้นขนมจีนอย่างอย่างไรหนอ?

พบทองที่พัทลุงก็ต้องเป็นของเมืองพัทลุงสิ จะเอาไปเก็บที่อื่นได้อย่างไร

อาจารย์ บรรจง ทองสร้าง

คนนี้รุ่นพี่ผมเองสมัยเป็นนายกองการนักศึกษา

ผมเรียกแกว่าพี่แป๊ะ ครับ สนิทกัน

ชอบใจ

  ผศ.เอ่ี่ยม ทองดี สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเซีย มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า

การตั้งคำถามนำไปสู่การสร้างความรู้ ไม่ใช่ท้องถิ่นนิยม ลุ่มน้ำทะเลสาบ สร้างศักดิ์ศรี ชื่อเสียง

สร้างอัตลักษณ์คนลุ่มน้ำ ปรากฎการพบทองจะอธิบายความเป็นพัทลุงได้มั้ย ไม่เอาทองไปผูกกับ

ศาสนา จะเป็นอิสระทางความคิด กำแพงวัฒนธรรมฐานทรัพยากรสังคม ซึ่งต้องก้าวข้ามผ่านกำแพง

ใครเอาทองมาจากไหน ไม่สนใจ แต่เราจะตั้งคำถามใหม่แก่แผ่นดินนี้อย่างไร เราจะสร้างการเรียนรู้ให้

ลูกหลานอย่างไร นี้คือสิ่งที่คนเมืองลุงต้องคิด

เข้าใจคิดดี   

คนเมืองพัทลุงคิดอย่างไรครับบบบบบบบบบบบบบ

พัทลุงเมืองเก่า อุดมสมบูรณ์ตามสายน้ำ ชีวิตเดินทางตามสายน้ำตามธรรมชาติในอดีตมีความมากสุขครับ

เรียนน้อง อร แรกวา นัดประชุมสภาองค์กรชุมชนจังหวัดพัทลุง

ได้หยิบยกประเด็นทองพัทลุงมาหารือ ทุกคนเห็นด้วยที่จะให้ทองตกอยู่ในพัทลุง

แต่ติดขัดข้อกฎหมายความปลอดภัยในการเก็บรักษา

ซึ่งในประเด็นนี้เป็นการปฎิบัติ

ในชั้นต้นต้องเห็นพ้องต้องกันทั้งพัทลุงว่า

ทองต้องอยู่ที่พัทลุง

สวัสดีน้องมะเดื่อ  

ชันี สิงหาทริปป่าละอู  คงมีเรื่องราวมาเล่าผ่านบันทึก

ขอบคุณท่าน sr ที่มาเพิ่มความเห็นเรื่อง เห-รา

เรียนคุณเพชร เครื่องอัดเส้นขนมจีน  เขาบอกว่าอัดได้ครั้งละหลายสิบกิโล 

ตอนนี้เลิกใช้ทางวัดเอามาเก็บไว้

เรียนอาจารย์ Nui  ทางสภาองค์กรชุมชน ๅ43 สภา ประชุมลงมติกันว่า ควรใช้ปรากฎการพบทองให้เป็นประโยชน์ต่อชาวพัทลุง

เรียนท่านอาจารย์ ขจิต 

อาจารย์ บรรจงให้ข้อการตรวจอายุทองทางวิทยาศาสตร์ น่าสนใจ

แต่ผมบันทึกการแสดงความเห็นทางวิทยาศาสตร์ไม่ทัน

จึงบันทึกมาตามที่นำมาแบ่งปัน

ขอบคุณครับคุณพ. ทำอย่างไรให้ทองอยู่ที่พัทลุง คือประเด็นที่คนในชุมชนกำลังถกกัน

ผมย้ายแล้วครับ มาอยู่ไฟฟ้าสทิงพระแล้วครับท่าน

ขอบคุณ ผ่านทิ้งพระจะแวะเยี่ยมครับท่าน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท