เด็กเขย่งปลายเท้า...กำลังบอกอะไรเรา?


ขอบพระคุณกรณีศึกษาน้อง ก. วัย 3 ปีที่เป็นหลานของสัตว์แพทย์ประจำบ้านดร.ป๊อป ที่เคยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงกระบวนการฝึกน้องให้พูดดีขึ้นด้วยการฝึกกระโดดแทมโบลีน 30 ครั้งต่อวัน แต่น้องทำเกิน 50 ครั้งต่อวัน เม่ื่อหลายเดือนก่อน แต่วันนี้น้องพูดเรียกพ่อแม่ได้น่ารัก แต่มีภาวะสมาธิสั้นที่น่าสนใจครับ

เริ่มจาก...น้องลงจากรถด้วยรอยยิ้ม สบตาผมแวบหนึ่ง ก็เรียกคุณพ่อให้จูงมือขณะที่คุณแม่อุ้มน้องคนเล็กอยู่ แต่น้องเดินเขย่งปลายเท้าแทบทุกก้าว ผมเลยขอทำความคุ้นเคยกับน้องราว 10 นาทีก็ไม่เป็นผล เพราะน้องจะไม่ให้ผมสัมผัสตัวเค้า น้องออกเสียงและเล่นเสียงพึมพำด้วยตัวเอง น้องชอบล้างมือและนำสบู่มาแตะหน้า น้องไม่นั่งเก้าอี้ให้ลงน้ำหนักเท้าแต่จะนั่งนอนกับพื้น และเขย่งเท้ามากขึ้นพร้อมๆกับการกรีดร้องดัง เมื่อลองให้ปากกาและกระดาษ น้องก็ชอบระบายสีและเขียนเส้นไปมามากมาย แถมให้คุณพ่อจับมือเขียนพยัญชนะไทยด้วย คุณพ่อบอกว่า น้องชอบฉีกกระดาษแผ่นพับต่างๆ ชอบเล่นเกมไอแพด คุณแม่ก็เสริมว่า น้องเค้าชอบดูดนมจากขวด กัดเคี้ยวหลอด และเลือกกินอาหารแต่ไม่เคี้ยวอาหาร เมื่อสังเกตมากขึ้น น้องติดชอบเขย่งเท้าให้พ่อหรือแม่อุ้ม ... เมื่ออาทิตย์ก่อนได้ลองให้ไปเล่นกับเพื่อนๆอนุบาล ก็เห็นอารมณ์ดีแต่ไม่ได้สังเกตว่าเขย่งเท้าหรือไม่

เมื่อถามถึงตอนก่อนคลอด (ตอน 10 เดือน) แม่เจอเหตุการณ์ที่ตกใจน่ากลัว (วัยรุ่นมาขโมยของที่บ้าน) ส่วนพ่อก็มีนิสัยคิดไวทำไวไม่อยู่นิ่ง เมื่อถามถึงหลังคลอด (ตอนก่อน 6 เดือน) แม่พบว่า น้องดูดนมแม่เร็วและแรงมาก จนนมมีไม่พอจึงให้นมจากขวด และเริ่มกรีดร้องตอนที่เด็กโตข้างบ้านมารังแกบ่อยครั้ง 

จากนั้น...ผมตั้งสมมติฐานว่า น้องมีภาวะสมาธิสั้น เดินเขย่งปลายเท้า กรีดร้อง กลัวผู้ใหญ่แปลกหน้า และจากระบบประสาท (การปรับตัวของสมองต่อระบบสัมผัสที่ไวเกินไป ระบบการใช้ตาที่ไวเกินไป และระบบการได้ยินที่ช้าร่วมกับระบบการทรงตัวที่ช้า) หรือระบบการเลี้ยงดู (พ่อเคยใช้ไอแพดจิ้มภาพและมีเสียงแต่ใช้เวลามากเลยเลิกจนปล่อยให้เด็กเล่นเกมภาพที่ไม่มีเสียง - นั่ง/นอนกับพื้นก้มมองนานเป็นชั่วโมง แม่อยากให้ลูกน้ำหนักดีจึงให้ดูดนมจากขวดทุกวัน พ่อและแม่อุ้มลูกทุกครั้งที่ลูกเรียกร้องความสนใจด้วยการกรีดร้อง) หรือทั้งสองอย่าง...เมื่อทบทวนด้วยการสังเกตพฤติกรรมของน้องกับผู้ปกครองรวม 1 ชม. ผมจึงสรุปว่า น้อง ก. มีภาวะสมาธิสั้นจากการใช้กล้ามเนื้อเล็ก (ตา ลิ้น ปาก มือ) ได้ดีเกินวัยจนส่งผลให้ขาดการพัฒนาระบบการทรงตัวลงน้ำหนักข้อเท้าทั้งสองข้างกับขาดการหยุดนิ่งใช้การได้ยินเรียนรู้เสียงให้มีข้อมูลในการสื่อสาร 

วิธีการทดลองและประเมินโปรแกรมที่ออกแบบเพื่อพัฒนาเด็กชายท่านนี้ ได้แก่:-

  • แนะนำให้กระโดดเล่นได้แต่ลองใช้วิธีการปิดตาเป็นพักๆ หรือใช้ที่ปิดตา (ถ้ายอม) เพื่อลดการใช้ตาที่ไวใน 3-5 นาที (ตัวเลขแปรตามอายุ 3 ปี)
  • แนะนำให้ค่อยๆ เลิกทานนมขวด เพิ่มการดื่มนมจากการดูดกล่องกับการยกแก้วดื่ม
  • แนะนำให้กิจกรรมที่ชอบใช้ตาไม่เกิน 3-5 นาที รวมทั้งจัดให้นั่งเก้าอี้ให้กิจกรรมอยู่ในระดับสายตา
  • แนะนำเพิ่มกิจกรรมที่ชอบให้ใช้ตาและหูได้นานกว่า 5 นาที เช่น การดูภาพและการฟังคำศัพท์ที่จะสื่อสารได้ในชีวิตประจำวัน
  • แนะนำให้ฝึกกิจกรรมบำบัดที่คลินิกกับนักกิจกรรมบำบัดเพื่อปรับพฤติกรรมต่างๆ ให้สมวัย เช่น นิ่งฟังเสียง ส่งเสียงไม่กรีดร้อง และยอมรอไม่เรียกร้องให้อุ้ม เป็นต้น
  • แนะนำให้เพิ่มการสัมผัสกอดเด็กให้นั่งนิ่งฟังเสียงร้องของตนเองกับฟังเสียงของคนอื่นใน 3 นาที ซึ่งพบว่า ยิ่งเพิ่มการสัมผัสและการให้ผู้ปกครองอดทนจับเดินทันทีหลังหยุดร้อง (โมโหง่ายแต่หยุดร้องเร็ว - ข้อดีของสมาธิสั้น) เด็กเดินโดยไม่เขย่งปลายเท้าและสามารถกดลงน้ำหนักเต็มเท้าได้มากขึ้นนาน 5 นาที  
หมายเลขบันทึก: 570016เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2014 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2020 09:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบพระคุณมากครับท่านอาจารย์ JJ คุณ tuknarak และคุณบุษยมาศ 

หลานชายคนแรกของครอบครัว ตอนเดินได้ใหม่ๆก็เขย่งปลายเท้าเดิน แต่ไม่มีอาการอย่างอื่นที่เป็นปัญหา ปกติทุกอย่าง ...พี่เข้าใจว่าสายตายังไม่สัมพันธ์กับการใช้กล้ามเนื้อมือ และกล้ามเนื้อเท้ามากกว่านะคะ ...ตอนนี้โตเป็นหนุ่มแล้วค่ะ

พี่สังเกตว่ามีพ่อแม่เลี้ยงลูกตามใจลูกด้วยวิธีไม่เหมาะสมและจะส่งผลต่อพฤติกรรมเยอะ อย่างเช่นร้องก็เอานมจุกปาก  อุ้มก็เขย่า กรีดร้องก็ตามใจ งอแงก็เอาไอแพดใส่มือ ฯลฯ อาจารย์เขียนหนังสือที่อ่านง่ายๆ ขายสักเล่มสิคะ ว่าด้วยการเลี้ยงลูกที่บ่มเพาะนิสัยไม่พึงประสงค์-พึงประางค์ทั้งมวล วิธีแก้ไข และวิธีที่เหมาะสม  อาจารย์มีวิชาการอยู่ในมือเยอะ  เขียนได้ดีแน่ๆ 

พี่พักในบ้านพักโรงพยาบาล เห็นความเปลี่ยนแปลง  ตอนลูกพี่เล็กๆ เด็กออกมาวิ่งเล่น เล่นกีฬา สรรหาอะไรสนุกๆ เล่นกัน พ่อแม่ก็นั่งดูลูกเล่น ลงไปเล่นกับลูก ได้ประโยชน์ต่อพัฒนาการทุกด้าน  

๑๐ ปีมานี้ไม่มีเด็กๆ ออกมาอยู่นอกบ้านอีกแล้วเพราะทุกคนอยู่หน้าจอ  แม่ๆ ก็ได้แต่บ่น แต่ไม่มีวิธีจัดการ เด็กๆ รุ่นต่อไปคงจะสมาธิสั้น วินัยไม่มี สังคมกับใครไม่เป็น นั่งแต่หน้าจอกันทั้งประเทศกระมัง

ขอบคุณครับ Dr. Pop การใช้กล้ามเนื้อเล็ก (ตา ลิ้น ปาก มือ) ได้ดีเกินวัยจนส่งผลให้ขาดการพัฒนาระบบการทรงตัวลงน้ำหนักข้อเท้าทั้งสองข้างเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากครับ

อ่านด้วยความสนใจใคร่รู้ น่าสนใจมาก เคยคิดว่าเด็กสมาธิสั้นคือเด็กที่ช่วงความสนใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดต่ำกว่าปกติมาก แตไม่ทราบว่าทำให้พฤติกรรมอื่น ๆมีปัญหาด้วย หรือว่าพฤติกรรมที่เป็นปัญหาเกิดจากการอบรมเลี้ยงดูกันแน่ หรือเป็นเพราะสรีระและระบบประสาท ผลการพัฒนาหรือบำบัดเป็นอย่างไรDr. Pop คงบันทึกให้อ่านอีกนะคะ

-สวัสดีครับ

-เรื่องราวน่าสนใจมาก ๆครับ

-เด็กสมาธิสั้น...

-เป็นเรื่องที่ต้องดูแลเอาใจใส่มาก ๆนะครับพี่หมอ

-ขอบคุณครับ

ขอบพระคุณมากๆครับพี่ดร.พจนา พี่ nui พี่ rojfitness และคุณเพชรน้ำหนึ่ง...เป็นข้อมูลที่น่าสนใจและสร้างกำลังใจให้ผมช่วยเด็กเขย่งปลายเท้าเท่าที่จะทำได้ทางกิจกรรมบำบัดและธรรมชาติของการพัฒนาจิตสังคม

ขอบพระคุณมากครับคุณ GD ผมคิดว่า คำตอบที่จะเป็นสาเหตุของทางระบบสมองหรือระบบการเลี้ยงดูที่มีผลต่อสมาธิสั้นและพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น การเขย่งเท้าเวลาเดิน การร้องไห้เมื่อแตะสัมผัส ฯลฯ นั้นคงต้องใช้เวลาในการตรวจประเมินด้วยการสังเกตพฤติกรรมที่เป็นบวกลบและการคิดวิเคราะห์ตามองค์ความรู้ทางระบบจิตประสาทสรีรวิทยากับระบบพฤติกรรมการพัฒนามนุษย์ประกอบกันครับผม

สวัสดีค่ะ..ดร.ป้อป..สบายดีนะคะ..."ปั้นดินครั้งนี..มีโอกาศได้สัมผัสกับเด็กสมาธิสั้นที่..มายืนใกล้..ขอเล่นดิน..ยายธีให้ดินกับเด็กคนนี้..และสอนเธอให้สัมผัสกับดิน..และได้บอกเธอว่าการสัมผัสดินนั้นเป็นอย่างไร..ปรากฎว่าเธอนั้นยืนปั้นดินจนเป็นดอกไม้..ที่อ่อนไหว..ได้อย่างน่าทึ่ง..เจ้าค่ะ..."

โครงงานปั้นดิน..ของbuntekuh..สมาคมนี้ได้ทุนสนับสนุนจากหลายๆมูลนิธิและรัฐ..เป็นงาน..ที่มีส่วน..ช่วยกมารบำบัด..ในสังคม..หน่วยหนึ่ง..ด้วย..เจ้าค่ะ

ขอบพระคุณมากครับคุณยายธี เป็นตัวอย่างกิจกรรมบำบัดที่ดีมากๆครับสำหรับการพัฒนาเด็ก

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท