ตำราดูพระเครื่อง มีกี่แบบ???????


น่าจะมีมากมายหลายแบบครับ เท่าที่นึกออก เช่น


1. ตำราหลอกขายของ ตำราของโรงงานทำพระเก๊ ตามที่เขามี แล้วแต่จะเขียน หรือของแท้ เท่าที่มี ใช้กันมากในเวบ สังคมออนไลน์

2. ตำราหลอกเด็ก เขียนให้คนไม่มีความรู้อ่าน เขียนอย่างไรก็ได้ ไม่ต้องมีความรู้อะไรก็เขียนๆไป อ้างโน่นอ้างนี่ ไม่มีหลักการอะไรที่น่าเชื่อถือได้ ไม่มีหลักฐานที่เป็นจริง หรือควรอ้างอิง

3. ตำราเซียน เขียนรักษาหน้าตัวเอง ว่าตัวเองระดับไหน มีตำราประกอบ เขียนแบบพูดเอง เออเองล้วนๆ

4. ตำราเพื่อการเรียนรู้ มีหลักฐาน หลักการอ้างอิงชัดเจน ทุกแง่ ทุกมุม

และ
5. ตำราของคนที่คิดว่าตัวเองรู้ เขียนแบบอ้างประสบการณ์อย่างเดียว ไม่มีการอ้างอิงความจริงใดๆ มักอยู่ในวารสารต่างๆ

ฯลฯ

ดังนั้น เวลาเปิดตำรา ถ้าแยกไม่ออกก็หลงเข้าป่าไปเลย เพราะขยะมีมากกว่าของจริง

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

หมายเลขบันทึก: 570014เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2014 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2014 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ข้อ 1,2,3 ไม่น่าจะเรียกว่า "ตำรา" เพราะคำว่า "ตำรา" เป็นคำนาม หมายถึง แบบแผนที่ว่าด้วยหลักวิชาต่างๆ..ส่วนข้อ 5 เป็นคนที่มีประสบการณ์ในการจับต้องพระเครื่องบ่อยๆ เช่นคนที่มีอาชีพ "รับอัด (กรอบ)พระ" หรือเคยมีอาชีพ "ซ่อมพระ" เช่นอ.วิโรจน์ ใบประเสริฐ (เฮียเท้า..ภาษาจีนแต้จิ๋วแปลว่า หัวนะครับ) ใช้นามปากกาว่า "นิรนาม" สอนวิธีดูพระสมเด็จ ในนิตยสารพระพรีเซียส และอีกหลายเล่ม นั่นก็เขียนจากประสบการณ์ที่เคยเห็น และจับต้องมา ส่วนของอาจารย์แสวงนั้น เขียนจากหลักวิทยาศาสตร์ที่มีเหตุ และผลที่ได้ร่ำเรียนมาพร้อมกับประสบการณ์ที่ได้สัมผัสมา เหมือนกับหนังสือของท่านอาจารย์ "เชียร ธีรสานต์" ที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นวิทยาทานแก่คนที่อยากดูพระเครื่องเป็น โดยไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงใดๆ อันนี้เองครับ ที่ทำให้ผมเลื่อมใส และนับถือครับ..

คนที่เพิ่งเรียนรู้และไม่มีคนคอยชี้แนะหรือมีอัตตาสูงๆ คิดว่าตัวเองประสบความสำเร็จในอาชีพอื่น เมื่อมาเล่นพระและมีสตางค์ แต่คิดว่าวิชายากๆก็เรียนรู้เองได้ ก็ไปหาซื้อตำรามามั่วๆ ศึกษาเอง ก็เลยรับความรู้แบบผิดๆมา ตำราพวกนี้ก็เลยขายได้บ้าง มีคนมาถามผมว่าควรใช้หลักอย่างไรในการเลือกมีคนมาถามผมว่าควรใช้หลักอย่างไรในการเลือกตำรา ส่วนใหญ่ก็ให้ไปหาหนังสือเก่าประมาณปี2535ลงไป เพราะรูปพระในสมัยนั้นส่วนใหญ่จะแท้ มีเก๊ปนบ้าง หรือหนังสือที่แจกผู้ชนะในงานประกวดมาตราฐาน เอามาเทียบเคียงกันหลายๆเล่มหน่อย ตำราทุกอย่างใช้ได้หมดแต่ต้องเท่าทันว่าถูกผิดตรงไหน สอบทานมากๆ ถามผู้รู้มากๆ เปรียบเทียบจากของจริง โดยยอมลงทุนไปซื้อพระแท้จากผู้รู้เลย ถกกันต่อหน้า ถ้าตรงก็จ่ายตังค์ ไม่ตรงถอย เอาตำรามายัน อาจทำให้เรารู้ว่าตำรานั้นใช้ได้หรือไม่ ...สวัสดี

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท