อิทธิบาท ๔ ในการปฏิบัติงาน


ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ในการปฏิบัติงานของบุคลากร

โรงพยาบาลหนองม่วงไข่จังหวัดแพร่

ชื่อนักวิจัย :นางอัมพร หงษ์เจ็ด โรงพยาบาลหนองม่วงไข่

ที่มา: เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๔๗โรงพยาบาลหนองม่วงไข่ เริ่มประสบปัญหาการเกิดภาวะหนี้สินค้างชำระค่าเวร ค่าทำงานล่วงเวลา ค่ายาและเวชภัณฑ์เนื่องจาก การได้รับการจัดสรรค่ารายหัวต่อประชากรได้รับน้อย โรงพยาบาลได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ ในการบริหารองค์กร มีการใช้หลัก อิทธิบาท ๔ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน การฟังการแสดงธรรม ,เสียงตามสาย

วัตถุประสงค์:๑) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานโดยการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการปฏิบัติงาน๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติงานโดยการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการปฏิบัติงาน๓) เพื่อศึกษาผลการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท๔ในการปฏิบัติงาน

ระเบียบวิธีวิจัย:เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)แบบผสมผสานประกอบด้วยวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวน ๑๑๐ คนและแบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน ๑๓คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมSPSS ๑๘.๐ for Window สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ( t-test) และวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร

ผลการวิจัยพบว่า:การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท๔ในการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๗๙) และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านจิตตะ(= ๓.๙๕) ด้านวิมังสา (= ๓.๘๕) ด้านฉันทะ (= ๓.๗๕ ) และด้านวิริยะ( = ๓.๖๒)ด้านการเปรียบเทียบจำแนกตามระดับตำแหน่งการปฏิบัติงานพบว่าไม่แตกต่างกันผลการประยุกต์ใช้เจ้าหน้าที่มีความตื่นตัว ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ ทำงานอย่างเต็มกำลังความรู้ความสามารถ ผ่านพ้นภาวะวิกฤติได้รับรางวัลในการพัฒนาบุคลากร ด้านจริยธรรม

การนำผลการวิจัยไปใช้:เจ้าหน้าที่ได้รับการขัดเกลาด้านจิตใจ มีความเข้าใจในหลัก อิทธิบาท ๔ สามารถเชื่อมโยงในการพัฒนาคุณภาพของงาน

บทเรียนที่ได้รับ:การสร้างความตระหนักให้แก่เจ้าหน้าที่ การมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ:เจ้าหน้าที่มีการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปปรับใช้

การสนับสนุนขององค์กร: ผู้บริหารให้การสนับสนุนทุกๆด้านในการจัดกิจกรรม

พระครูวิมลกิตติสุนทร,ดร.  รองเจ้าคณะจังหวัดแพร่  เจ้าอาวาสวัดพระธาตุช่อแฮพระอารามหลวง พระอาจารย์ผู้ตรวจเครื่องมือ

พระครูโกวิทอรรถวาที ,ดร.  ผู้อำนวยการสำนักงาน มจร.แพร่ พระอาจารย์ผู้ดูวิทยานิพนธ์

ศน.ประพันธ์  หงษ์เจ็ด  ผู้ช่วยเหลือในการทำวิจัยทุกขั้นตอน  

พญ.กรวรา  เสถียรพัฒนกูล  แพทย์ผู้ปรึกษาในการทำวิจัย

สถาบัน มจร.แพร่ที่ให้โอกาสได้ศึกษาเรียนรู้พระพุทธศาสนา

หมายเลขบันทึก: 569691เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2014 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2014 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ฝากเรียนท่านศน.ประพันธ์  มีโอกาสจะแวะไปคารวะอีกครั้ง

ดีจังเลยครับ

ได้งานวิจัยที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาและพัฒนางานได้ด้วย

กำลังจะไปสอนภาษาอังกฤษให้พระที่มหาจุฬาฯ วังน้อยเหมือนกันครับ

ดีจังค่ะ จะได้ช่วยกันสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท