ข้อคิดก่อนเข้าพรรษา 2556


บุคคล หรือสังคม หรือองค์กรใดที่ไม่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน หรือมีแต่ความวุ่นวายขัดแย้งเป้นประจำ

สังเกตให้ดี จะเห็นว่าเพราะคนๆนั้น สังคมนั้นๆ องค์กรนั้นๆ มักนำเอาแต่ปัญหา หรือวิธีการขึ้นมาพูด หรือนำเสนอให้เห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่โตที่สำคัญมาก (ทำนองหมกหมุ่นแต่ปัญหาทั้งวัน) 

สังคมหรือองค์กรที่เจริญประสบความสำเร็จ หรือบุคคลที่พัฒนาก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา ส่วนมากจะมุ่งไปที่ "เป้าหมาย หรืออุดมคติ" มากกว่า "ปัญหาและวิธีการ" เพราะไม่ว่าสิ่งใดก็ตาม ต่อให้ทำได้ดีขนาดไหน ก็ต้องมีผิด มีพลาด มีพลั้ง มีเผลอจนได้ ไม่มีทางจะทำให้ได้ผลครบถ้วนได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกคน 


โบราณถึงสอนว่าเวลาทำบุญอะไร ให้อธิษฐานว่า "นิพพานัง ปัจจุโย โหตุ" นั่นก็ให้ระลึกว่า นิพพาน คือ เป้าหมายของชาวพุทธ   


แต่ขณะที่เวียนว่ายตายเกิดก็ต้องทำอะไรที่ผิดพลาดไปตามกิเลสตัณหา ไม่แม้แต่ผู้ตั้งใจเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ตาม แต่ถึงแม้ว่าจะผิดพลาดไปบ้าง หลงไปตกต่ำหลายชาติบ้าง แต่เป้าหมายที่ฝังลึกในจิตใจ ก็จะมีเหตุให้ได้สติ ยกระดับจิตใจขึ้นมาสู่เส้นทางพระนิพพานในที่สุด


บ้านเมืองไทยที่ผ่านมา นำพระพุทธศาสนามาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต แต่..คนไทยกลุ่มหนึ่ง (แบบสลิ่มหรือพรรคการเมืองหนึ่ง) กลับชอบพูดแต่ "ปัญหา" "วิธีการ" มากกว่า "เป้าหมาย หรืออุดมคติ"


ท่านทั้งหลายครับ ปัญหาไม่มีวันจบสิ้นจากชีวิต สังคม และโลกใบนี้ได้หรอกครับ เพราะถ้า "คน" ยังเป็น "คน" แต่...ถ้าเราสามารถยกระดับจิตใจของ "คน" ให้เป็น "มนุษย์" หรือ "เทวดา" หรือ "พรหม" หรือ "พระ" นั่นแหละปัญหาถึงจะเบาบางลงได้


เป้าหมาย" หรือ "อุดมคติ" จึงควรเป็นสิ่งที่ชาวพุทธเราควร"ตระหนัก" และยึดมั่นถือปฏิบัติให้มากทุกวัน โดยเฉพาะ "เป้าหมายที่ไปสู่พระนิพพาน"


ท่านทั้งหลายครับ   ปัญหาจริงๆแล้ว ไม่ได้มีไว้ให้ "แก้ไข" เพราะเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ก็แสดงว่ามันเป็นอดีตไปแล้ว แต่ปัญหาเป็นเรื่องที่ "คน" ต้องผ่านประสบการณ์ เพื่อเกิดการพัฒนา "การเรียนรู้"


สิ่งที่ทุกท่านพึงทำ พึงตั้งจิตให้มี "โยนิโสมนสิการ" คือ พยายามไม่ให้เกิดปัญหาแบบนั้นขึ้นมาอีก ถ้ายังมีเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายแบบนั้นอยู่.


ขอทุกท่านโชคดี เกิด"การเรียนรู้" จนมี"สติและปัญญา" ในพรรษายุกาล ๒๕๕๖ นี้นะครับ


เขียนเมื่อ  22  กรกฏาคม 2556

หมายเลขบันทึก: 569642เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2014 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2014 12:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท