ความชอบธรรม : ทฤษฎีทั่วไป และความชอบธรรมในรัฐไทย ตอนที่ 8


3. มีตัวชี้วัดอะไรบ้างในตัวความชอบธรรม

สำหรับ “ตัวชี้วัดความชอบธรรมทางการเมือง” ตามข้อมูลข้างต้นผมวิเคราะห์ว่ามีดังนี้ คือ

1. การให้การยอมรับต่อการปกครองนั้นของผู้ถูกปกครองซึ่งวัดได้จากระดับการให้การสนับสนุนจากสาธารณชน (degree of publicsupport) ในเรื่องต่าง ๆ อาทิ การออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง การเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มผลประโยชน์และพรรคการเมืองการให้การสนับสนุนยอมรับนโยบายของรัฐบาลและสิ่งที่รัฐบาลขอความร่วมมือในบางกรณี และการให้ความเชื่อมั่นในความมีประสิทธิภาพของระบบยุติธรรม

2. การให้การยอมรับในที่มาของการเข้าสู่อำนาจของผู้ปกครองด้วยการทาตามกฎเกณฑ์ที่มีอยู่

3. การให้การยอมรับว่าผู้ปกครองใช้อานาจบริหารประเทศอย่างเหมาะสมภายใต้กฎเกณฑ์กระบวนการ และกฎหมาย

4. การให้การยอมรับว่าผู้ปกครองใช้อานาจบริหารประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

จากตัวชี้วัดข้างต้นควรให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญเป็นหลักในทุกข้อเนื่องจากเป็นกฎหมายสูงสุดที่ในใช้ในการปกครองประเทศ

เนื่องจากความชอบธรรมในรัฐไทย ไม่สามารถเขียนในทีี่นี้ได้ เพราะมีมุมมองของประวัติศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ผมจึงขออนุญาตงดไปตอนนี้ก่อน หากสถานการณ์เหมาะสมที่จะเปิดเผยได้ ค่อยมาคุยและถกเถียงเรืองนี้กันนะครับ

หมายเลขบันทึก: 569222เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2014 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2014 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท