เสนอผลงานวิชาการ ECTI-CARD


เสนอผลงานวิชาการ ECTI-CARD ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 21-23 พฤษภาคม 2557


                     การประยุกต์ใช้ QR code กับระบบการจัดการสารสนเทศห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

                     Applying QR code for Science Laboratory Information Management System

                               ชีวิน ชนะวรรโณ1, เนาวัล ศิริพัธนะ2, ผุสดี มุหะหมัด3 และลัดดา ปรีชาวีรกุล4

                                                 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

                  E-mail: {cheewin.c1, phutsadee.m3, ladda.p4}@psu.ac.th, [email protected]2

บทคัดย่อ

QR-Code หรือรหัสคิวอาร์ เป็นชื่อเรียกทางการค้าของบาร์โค้ดสองมิติชนิดหนึ่ง โดยสามารถอ่านรหัสผ่านทางกล้องรับภาพของอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ เช่น สมาร์ทโฟน (Smartphone) แท็บเล็ต (Tablet) ได้เป็นอย่างดี การนำรหัสคิวอาร์มาประยุกต์ใช้กับระบบการจัดการสารสนเทศห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (Laboratory Information Management System: LIMS) ซึ่งเป็นระบบที่มีกลไกการทำงานในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แบบอัตโนมัติ โดยครอบคลุมการทำงานตั้งแต่ขั้นตอนการรับ-ส่งตัวอย่างจากผู้ใช้บริการ การทดสอบและวิเคราะห์ตัวอย่าง จนถึงการรายงานผลการวิเคราะห์ตัวอย่าง ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน สะดวก รวดเร็ว และปราศจากข้อกำจัดทั้งสถานที่และเวลา ทั้งของผู้ใช้บริการและเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ บทความนี้ได้ใช้หน่วยเครื่องมือกลาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นกรณีศึกษา จากการนำไปใช้งานจริง พบว่า การนำรหัสคิวอาร์มาใช้งานร่วมกับการทำงานของระบบการจัดการสารสนเทศห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำงานได้มีประสิทธิภาพ ลดข้อผิดพลาด และลดความซ้ำซ้อนในการเก็บข้อมูลได้เป็นอย่างดี อีกทั้งสามารถทวนสอบข้อมูลได้โดยไม่กระทบต่อกระบวนการทำงานตามปกติ สอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการ (ISO/IEC17025:2005)

Keywords: ระบบการจัดการสนเทศห้องปฏิบัติการ, ห้องปฏิบัติการ, รหัสคิวอาร์

หลังจากได้ผ่านการทำงานด้านระบบสารสนเทศห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ มาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ได้เห็นผลงานเป็นรูปเป็นร่าง ได้ทดลองใช้ระบบจริง และที่สำคัญได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากสามารถทดแทนระบบการทำงานเดิมได้เกือบทั้งหมด ทำงานได้รวดเร็วประหยัดเวลา มีประสิทธิภาพ ลดข้อผิดพลาดจากขั้นตอนการทำงานด้วยระบบเดิม ไม่มีขั้นตอนซ้ำซ้อน ที่สำคัญสามารถทวนสอบข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของระบบมาตรฐานคุณภาพห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 ได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ โดยไม่กระทบต่อกระบวนการทำงานตามปกติ

ที่สำคัญการนำรหัสคิวอาร์มาใช้งานร่วมกับการทำงานของระบบการจัดการสารสนเทศห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ในปัจจุบันนอกจากจะประหยัดเวลาในการทำงานเป็นอย่างมากแล้วยังสามารถแทนที่ระบบเดิมที่ใช้เอกสารกระดาษเป็นหลักมาเป็นการเก็บในฐานข้อมูลของเว็บเซิร์ฟเวอร์ทำให้ง่ายในการจัดการข้อมูลช่วยให้การสืบค้นข้อมูลสะดวกรวดเร็วและช่วยลดการซ้ำซ้อนของข้อมูลนอกจากนั้นยังสามารถติดตามสถานะของตัวอย่างว่าอยู่ในขั้นตอนไหนเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าและในอนาคตจะขยายระบบQR_LIMS โดยเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบการจัดเก็บสารเคมีที่คงเหลืออยู่ในคลังสารเคมีของห้องปฏิบัติการต่อไป


และก็ได้เขียนบทความส่งในการประชุมวิชาการ งานวิจัย และพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 6 “การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้โลกมีสันติสุข” จัดโดยมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาร่วมกับสมาคมไฟฟ้าอิเลกทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและสารสนเทศ “ECTI-CARD “ 

การเข้าร่วมประชุมวิชาการ โดยการนำเสนอผลงานในรูปแบบของ Oral Presentation เป็นการพัฒนาบุคลากรในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่สำคัญได้เห็นการพัฒนาผลงานในรูปแบบต่างๆ ของนักวิชาการหลากหลายสถาบัน ที่สำคัญเป็นการเพิ่มแรงจูงใจสำคัญในการพัฒนางานต่อไปด้วย

หมายเลขบันทึก: 569134เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2014 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2014 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท