เพาะเห็ดอย่างไรภายใต้ภาวะขี้เลื่อยแพง.....


ผมเคยเขียนบันทึกแนะนำเกี่ยวกับการใช้วัสดุอื่นแทนขี้เลื่อยในการทำก้อนเห็ด และตอบไว้ในช่องแสดงความเห็นสม่ำเสมอ ทุกครั้งที่มีคนสอบถาม ถึงวันนี้ก็ยังเป็นปัญหาหลักของการประกอบอาชีพฟาร์มเห็ด  โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย  เพราะขี้เลื่อยยางพารา และ ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนจากโรงเรื่อยต่างๆ มีราคาแพงขึ้นมาก 

1.จากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น 

2. จากความต้องการที่มากขึ้น 

3.จากการที่ผู้ขนส่งต้องเสียเวลาหลายวันในการเข้าคิวรอขี้เลื่อยจากโรงเลื่อย และ การที่มีผู้ประกอบการขนส่งขี้เลื่อยมีน้อยราย

4. และการขึ้นราคาของโรงเลื่อยเพราะเห็นว่าขายได้และมีราคาดี

แนะนำแนวทางไว้ให้เลือกคราวๆ อีกครั้ง ดังนี้

1.การใช้ก้อนเห็ดเก่ากลับมาเป็นส่วนผสมก้อนเห็ดใหม่ 30  ใช้ได้กับเห็ดหลายชนิด และ ได้พิสูนณ์แล้วว่าไม่ได้ทำให้ผลผลิตเห็ดลดลงแต่อย่างใด.....ติดตามในบันทึกเก่าๆของผม

2.การใช้ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนอื่นๆในท้องถิ่น แทนขี้เลื่อยไม้ยางพารา  อาจจะมีเนื้อหยาบกว่า ไม่สะดวกในการใช้ สีไม่สวยงาม แต่จะประหยัดต้นทุนไปได้กว่า 40 เปอร์เซ็นต์ และเดี๋ยวนี้ในหลายๆท้องถิ่นก็มีขี้เลื่อยประเภทนี้มากขึ้น เนื่องจากมีการแปรรูปไม้ทำเครื่องฟอรนิเจอร์และของที่ระรึกมากขึ้นกว่าแต่ก่อน......

3.การใช้วัสดุอื่นๆที่ไม่ใช้ขี้เลื่อยในการทำก้อนเห็ด  แนะนำเฉพาะการทำก้อนเพื่อเปิดดอกจำหน่ายเอง....เพราะให้ปริมาณผลผลิตไม่มากเท่าทำจากขี้เลื่อยเช่น ฟางข้าว  ต้นข้าวโพด  เปลือกถั่วต่างๆ  แต่ประหยัดทุนได้มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์  .......ติดตามได้จากบันทึกเก่าๆของผมได้

4.การใช้ขี้เลื่อยผสมระหว่างไม้ยางพาราและไม้อื่นๆ ประยัดค่าใช้จ่าย ประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์

5,การบริหารจัดการฟาร์มใหม่ ได้แก่

-การเก็บขี้เลื่อยไว้ในร่ม เพื่อป้องกันการเน่าเสีย เก็บได้นานขึ้น 

-การทำการผสมส่วนผสมแบบประณีต และการนึ่งก้อนเห็ดให้สุก จะทำให้ก้อนเห็ดลดการสูญเสียได้มาก (เกษตรกรบางฟาร์มนึ่งก้อนเห็ดเสียกว่า40-70 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นมาก ทั้งต้องทำก้อนใหม่ ต้องแกะถุงออกทิ้ง การทำให้ ต้นทุนวัตถุดิบส่วนผสมที่ต้องทำให้หลายครั้ง

-การใช้เชื้อที่แข็งแรง ปลอดสิ่งเจือปน ปลอดแมลง ปลอดโรค  หากมีความพร้อมต้องทำเชื้อเห็ดเองจะทำให้ประหยัดต้นทุนได้กว่า 10-20 เปอร์เซ็นต์....เชื้อเห็ดเดี่ยวนี้ราคาแพง  ต้องสั่งซื้อเป็นเวลานานกว่าจะไ้ด้  และคุณภาพไม่ดี มีเชื้อ และ แมลง แง ไร ปน  เชื้อไม่แข็งแรงเพราะต่อเชื้อหลายครั้งเกินไป.....

-การบ่มเชื้อในห้องสะอกด เหมะสม ป้องกันเชื้อเห็สูดญเสียจาก น้ำฝน  แมลง โรค ไรต่างๆ  การใช้ระบบเดินวนทางเดียวไม่เดินย้อนกลับ ภายในฟาร์ม 

สรุปว่าการทำก้อนเชื้อใหเสียหายน้อยจะช่วยลดต้นทุนลงได้กว่าครึ่ง และ การใช้วัสดุอื่น หรือ ก้อนเห็ดเก่าเองมาใช้ในการทำก้อนเชื้อใหม่จะลดต้นทุนลงได้มากกว่าครึ่ง  เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจไม่มากก็น้อย  โดยเฉพาะเกษตรกรทำฟาร์มขนาเล็กเช่นที่ผมบอกครับ

หมายเลขบันทึก: 569127เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2014 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2014 12:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • โกทูโนและโกทู..อาชีพทำเงินได้จริง
  • ขอชื่นชมครับ

ขอบคุณที่เขียนบล็อคนี้ขึ้นมาค่ะ ได้ความรู้มาก


ขอบคุณที่ติดตามครับ...คุณมนสิชา อุทัย

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท