ความชอบธรรม : ทฤษฎีทั่วไป และความชอบธรรมในรัฐไทย ตอนที่ 4


2. ความชอบธรรมทางการเมือง หมายถึงอะไร

     มีนักวิชาการทางการเมืองให้นิยามความชอบธรรมนี้ไว้อย่างหลายมาก เช่น

     Max Weber (1950)นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน กล่าวว่า จากประวัติศาสตร์สังคมมนุษย์ ที่ผ่านมาสามารถแบ่งการใช้สิทธิอำนาจปกครองที่ถือว่าชอบธรรมในเรื่องการใช้อำนาจ ได้ 3ประเภท ได้แก่

     1.สิทธิอำนาจปกครองเชิงบารมี (charismatic authority)ความชอบธรรมในการใช้สิทธิอำนาจปกครองรูปแบบนี้ขึ้นอยู่กับการให้การยอมรับของประชาชนต่อบารมีของผู้นำซึ่งใช้สิทธิอำนาจนั้น ยกตัวอย่างเช่นการให้การยอมรับการปกครองของหัวหน้าเผ่าจากคนภายในเผ่าหรือแม้แต่การยอมรับจากลูกน้องต่อหัวหน้าที่มีบารมี เป็นต้น

     2. สิทธิอำนาจปกครองเชิงจารีตประเพณี (traditional authority) ความชอบธรรมในการใช้สิทธิอำนาจปกครองรูปแบบนี้ขึ้นอยู่กับการให้การยอมรับของประชาชนต่อการใช้สิทธิอำนาจที่สืบเนื่องรูปแบบเช่นนั้นมาอย่างยาวนานจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งจนอาจกล่าวได้ว่าเป็นจารีตประเพณีที่สืบปฏิบัติต่อกันมาประเทศที่มีรูปแบบการปกครองแบบนี้ก็คือ ประเทศที่ปกตรองโดยระบอบกษัตริย์ (monarchy)เป็นต้น

     3. สิทธิอำนาจปกครองเชิงเหตุผลหรือตามกฎหมาย (rational/legal authority)ความชอบธรรมของการใช้สิทธิอำนาจปกครองแบบนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ปกครองได้ทำตามกฎหมายมากน้อยขนาดไหน ซึ่งพิจารณาได้จากตัวกฎหมายในรัฐธรรมนูญประเทศที่มีการใช้สิทธิอำนาจแบบนี้ก็ได้แก่ ประเทศที่มีระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน (representative democracy)

     ลิขิต ธีรเวคิน ในเรื่องความชอบธรรมทางการเมือง (Political Legitimacy) ของผู้ใช้อำนาจรัฐ อธิบายเรื่องการเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจ(acquiring power)ที่มีความชอบธรรม ไว้ดังนี้ ในระบบการเมืองจะมีกฎกติกาของการเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจ เช่น ในสมัยโบราณกาลนั้นผู้ซึ่งมีความสามารถและแข็งแรงที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ปกครอง หรือผู้ที่สามารถจะแก้ปัญหาที่สังคมกำลังเผชิญอยู่ก็จะมีความชอบธรรมเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจได้ จนกระทั่งถึงจุดที่มีประเพณีการสืบเชื้อสาย โอรสของกษัตริย์ก็มีสิทธิที่จะสืบราชสมบัติต่อจากพระบิดาจนกลายเป็นประเพณีการสืบสันตติวงศ์ และในบางกรณีการใช้กำลังเข้ายึดอำนาจจนกุมสถานการณ์ได้ก็จะกลายเป็นผู้ที่มีความชอบธรรมที่จะเป็นผู้ครองอำนาจรัฐ ในกรณีของจีนนั้นถือได้ว่าได้รับอาณัติจากสรวงสวรรค์ (themandate of heaven) ในกรณีของไทยนั้นผู้กระทำการยึดราชบัลลังก์ได้สำเร็จก็จะอ้างว่ามีบุญบารมีและมีบุญญาธิการที่จะครองสิริราชสมบัติ จึงมีประเพณีปราบดาภิเษกนอกเหนือจากราชาภิเษก ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้คือสิ่งที่ MaxWeberถือว่าเป็นการครองอำนาจโดยประเพณี (traditional legitimacy)

     แต่เมื่อใดที่ทั้งความชอบธรรมทางการเมืองแบบประเพณีมีแต่ไม่ทำหน้าที่ในการจัดการปกครอง สังคมก็จะมุ่งหาตัวบุคคลเป็นหลัก โดยประชาชนจะโหยหาตัวบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษที่เรียกว่าบุญญาธิการ(charisma) โดยคนๆ นั้นสามารถดึงดูดผู้คนให้มีความนิยมชมชอบ และมีความเชื่อว่าจะเป็นผู้มาแก้ปัญหากลียุคได้ ผู้นำเช่นนี้เป็นทำนองเดียวกับผีบุญหรือผู้มีบุญตามคติของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเชื่อว่าผู้มีบุญหรือผีบุญจะมาเกิดเพื่อมาแก้ยุคเข็ญของแผ่นดิน และนี่คือที่มาของกบฏผีบุญในยุคล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ความชอบธรรมในส่วนนี้คือการเชื่อในผู้นำแบบอาณาบารมี (charismaticlegitimacy)

     แต่มาในยุคระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน การลงคะแนนเสียงของประชาชนจึงเป็นที่มาของความชอบธรรมทางการเมือง (sourceof legitimacy) หรือที่เรียกว่า เสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์ (voxpopuli, vox dei) ผู้ที่ชนะการเลือกตั้งก็จะมีความชอบธรรมทางการเมือง ในส่วนนี้ Max Weberกล่าวว่าเป็นความชอบธรรมทางการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีเหตุผล (legal-rational legitimacy)

     ที่กล่าวมาเบื้องต้นคือความชอบธรรมทางการเมืองอันเกี่ยวเนื่องกับการเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจ ถ้าการเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจผิดยุค ผิดสมัย เช่นในยุคที่มีการปกครองแบบประ ชาธิปไตย แต่เข้าสู่ตำแหน่งอำนาจโดยใช้กองกำลังก็จะไม่มีความชอบธรรมทางการเมือง

     Sternberger (1968) ให้คำนิยามความชอบธรรมว่า เป็นรากฐานแห่งอำนาจปกครองที่ถูกนำไปใช้ใน 2นัย ได้แก่ ความตระหนักรู้ในส่วนของผู้ปกครองว่าตนเองมีสิทธิในการปกครองและการให้การยอมรับต่อการปกครองนั้นของผู้ถูกปกครอง

     Dahl (1971)อธิบายความชอบธรรมว่าเปรียบเหมือนอ่างเก็บน้ำ กล่าวคือถ้าน้ำในอ่างเก็บน้ำมีปริมาณที่สมบูรณ์เพียงพอต่อความต้องการก็จะทำให้สรรชีวิตที่อยู่รอบอ่างเก็บน้ำนั้นมีความมั่นคงปลอดภัยแต่ถ้าน้ำในอ่างเก็บน้ำลดลงเมื่อใดก็จะส่งผลให้ความมั่นคงของสรรพชีวิตลดลงตามส่วนของน้ำ ดังนั้นความชอบธรรมในรัฐส่วนใหญ่ก็เกิดมาจากการยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับการปกครองในรัฐนั้นหรือไม่อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ก็มีข้อยกเว้นก็คือในหลายประเทศที่ไม่มีระบอบการปกครองแบบที่รัฐส่วนใหญ่ทำอยู่การปกครองในรัฐนั้นก็ยังดำรงอยู่ได้ เพราะการสนับสนุนของชนส่วนน้อยที่เป็นผู้นำ (influentialelite) เพราะพวกเขาเห็นว่า ระบอบการปกครองในประเทศของตนชอบธรรมแล้

ยังมีต่อนะครับ

หมายเลขบันทึก: 568976เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2014 21:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2014 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท