ชุมชนเข้มแข็งด้วยกลุ่มกิจกรรม


ชุมชนเข้มแข็งด้วยกลุ่มกิจกรรม

ชุมชนเข้มแข็งด้วยกลุ่มกิจกรรม

---------------------

     ตามหลักการบริหารการจัดการ  การดำเนินกิจการใดๆให้ประสบผลสำเร็จจะต้องเริ่มต้นด้วยการจัดตั้งองค์กร  เพื่อทำหน้าที่ผลักดันกิจกรรมนั้นๆ ให้บรรลุผล  ทำนองเดียวกันกับการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง  ผู้เกี่ยวข้องจะต้องส่งเสริมให้สมาชิกชุมชนจัดตั้งองค์กรขึ้น เพื่อทำหน้าที่ตอบสนองและแก้ไขปัญหาของชุมชน

     การจัดตั้งองค์กรดังกล่าว จะต้องเริ่มต้นด้วยกลุ่มกิจกรรมเล็กๆ โดยเริ่มต้นเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิกที่ง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป สู่กิจกรรมที่ยากขึ้นตามลำดับ

     องค์ประกอบกลุ่มกิจกรรม มีทั้งการบริหารจัดการองค์กร และการดำเนินงานกิจกรรม

     1.  การบริหารจัดการองค์กร  มีเรื่องที่ต้องดำเนินการ ดังนี้

           1.1  การจัดองค์กรและการบริหาร  ได้แก่ การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหาร  ซึ่งมีประธาน  รองประธาน  กรรมการ  เลขานุการ และเหรัญญิก  รวมถึงฝ่ายต่างๆ ตามความจำเป็น  โดยแบ่งหน้าที่กันทำตามบทบาทและภารกิจ

           1.2  การประชุมคณะกรรมการบริหารเป็นประจำทุกสัปดาห์  โดยมีวาระการประชุมที่ชัดเจน

           1.3  การประชุมประจำเดือนสมาชิก โดยมีวาระการประชุมที่ชัดเจน

           1.4  การวางระเบียบ กฎ ข้อบังคับในการดำเนินงาน  เช่น การจัดการเรื่องเงินปันผลและเฉลี่ยคืน เป็นต้น

           1.5  การจัดหาแหล่งเงินทุน  เช่น การลงหุ้น  เป็นต้น

           1.6  การวางระบบบัญชี

     2.  การดำเนินงานกิจกรรมที่เริ่มต้นจากกิจกรรมง่ายๆ ไปสู่กิจกรรมที่ยาก มีดังนี้

          2.1  การออมทรัพย์  มีหลายรูปแบบ

                 1)  การออมทรัพย์แล้วรวบรวมเงินฝากธนาคาร

                 2)  การออมทรัพย์แบบสะสมทุน  โดยแปลงเงินออมเป็นทุนเรือนหุ้น  เพื่อทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง

                 3)  การออมทรัพย์แบบเล่นแชร์  มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมเงินช่วยเหลือสมาชิกที่เดือดร้อน

                 4)  การออมทรัพย์แบบสมบูรณ์  มีการรับฝากเงินและปล่อยเงินกู้  มีคณะกรรมการบริหาร และสถานที่ดำเนินการ  มีระเบียบ  ข้อบังคับ และระบบบัญชีที่ถูกต้อง  หากการดำเนินงานมีผลกำไรจะจัดสรรเงินกำไรเป็นกองทุนสวัสดิการต่างๆ

          2.2  กลุ่มกิจกรรมที่ร่วมกันซื้อ - ขาย และบริการ

                  1)  การรวมกันซื้อ  เป็นการรวบรวมเงินเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตบริการให้แก่สมาชิก  เช่น  ปุ๋ย  อาหารสัตว์  ยากำจัดศัตรูพืข  เป็นต้น

                  2)  การรวมกันขาย  เป็นการรวบรวมผลผลิตทางการเกษตรของสมาชิกออกจำหน่าย  มีวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาพ่อค้าคนกลาง  ราคายุติธรรม และหมดปัญหาการชั่ง ตวง วัด

                  3)  การให้บริการกับสมาชิก  เป็นการระดมเงินทุนจากสมาชิก  เพื่อดำเนินกิจกรรมให้บริการ  เช่น การติดตั้งระบบน้ำ  การซื้อโต๊ะ  เก้าอี้  ถ้วยชามให้สมาชิกเช่า เป็นต้น

            2.3  กลุ่มร้านค้าจำหน่ายสินค้าเพื่ออุปโภค บริโภค  เป็นการรวบรวมเงินทุนเพื่อซื้อหาสินค้าอุปโภค บริโภค  จำหน่ายแก่สมาชิกในราคายุติธรรม  โดยมีการแบ่งผลกำไรตามธุรกิจที่สมาชิกทำกับกลุ่ม

          2.4  กลุ่มผลิต หรือ แปรรูปสินค้าการเกษตร  ได้แก่

                  1)  กลุ่มผลิตสินค้าการเกษตรเพื่อจำหน่าย  เช่น  กลุ่มปลูกกล้วยหอม  กลุ่มปลูกผัก  กลุ่มเลี้ยงไก่  เป็นต้น

                  2)  กลุ่มแปรรูปสินค้าการเกษตร  ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่ทำกันในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร  เช่น การถนอมอาหาร  หัตถกรรม  ศิลปประดิษฐ์  เป็นต้น

     นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร  ควรส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน  จากกิจกรรมที่ง่ายๆ ไปสู่กิจกรรมที่สลับซับซ้อนขึ้น  หากในพื้นที่มีกลุ่มกิจกรรมหลายๆ กลุ่ม  ควรส่งเสริมกลุ่มเหล่านั้นให้ร้อยเป็นกลุ่มเครือข่าย  ซึ่งจะมีพลังในการแก้ไขปัญหาของชุมชนมากยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 56890เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2006 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เมื่อไรจะได้อ่านเรื่องราวของจังหวัดยะลาบ้างคะท่านเกษตรจังหวัด
นางสาวจริยาวดี ดวงแก้ว

ขอความอนุเคราะห์ เรื่องการดำเนินงานกิจกรรมการออมทรัพย์แบบสมบูรณ์ทั้งระบบเพื่อ ดำเนินกิจกรรมภายในโรงงานเพื่อสนับสนุนพนักงานให้เกิดการออกทรัพย์

และการพึ่งตนเอง

ขอบคุณมากคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท