ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก



ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก

         ปัจจุบันมีหลายประเทศที่ต้องเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชนไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย สำหรับสิทธิมนุษยชนสากลและปัญหาสิทธิมนุษยชนในบ้านเมือง ยังคงเป็นปัญหาอย่างมาก โดยเฉพาะกับสิทธิความเป็นมนุษย์ของชนกลุ่มน้อยในสังคมโลก อาธิ กรณีโรฮิงญาซึ่งเป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามในรัฐอาระกัน ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในรัฐ ถูกเหยียดหยามและเลือกปฏิบัติและถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากโดยรัฐบาลทหารพม่า ตั้งแต่การบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ตามกฎหมายสัญชาติพม่าปี 1982 (Burma Citizenship Law) ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลทหารถ้าจะออกจากพื้นที่ และต้องจ่ายเงินถ้าจะออกจากพื้นที่ทำให้มีสถานภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำมาก เนื่องจากไม่สามารถหางานทำหรือค้าขายได้ ซ้ำร้ายยังถูกละเมิดไม่ให้รับสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ ห้ามแต่งงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหารพม่า นับว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีสถานการณ์ความเป็นอยู่ที่เลวร้ายที่สุดในพม่า ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวโรฮิงญาต้องหนีภัยจากพม่าเป็นจำนวนมาก หากพิจารณาเหตุปัจจัยเหล่านี้ ชาวโรฮิงญาจึงน่าจะมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย ซึ่งโดยหลักปฏิบัติของนานาชาติแล้ว ผู้ลี้ภัย หรือผู้หนีภัยความตาย จะต้องไม่ถูกส่งกลับเพื่อไปเผชิญหน้ากับภาวะความเสี่ยงต่อชีวิต และจะต้องได้รับการช่วยเหลือคุ้มครองจากประเทศที่เข้าไปลี้ภัยด้วยหลักมนุษยธรรมในฐานะมนุษยชนคนหนึ่ง

          แต่เมื่อชาวโรฮิงญามีสถานะที่แตกต่างกับประชาชนในรัฐอาระกันหรือชนชาติยะไข่ ทั้งเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม และภาษาพูด อีกทั้งรัฐบาลทหารพม่ามีทัศนคติว่า ชาวโรฮิงญาเข้ามาอยู่ในพม่าไม่นาน ทำให้รัฐบาลทหารไม่ยอมรับความเป็นประชาชนของพม่า แม้ปัจจุบันในรัฐอาระกันมีประชาชนทั้งหมดกว่า 3 ล้านคน และประมาณ 1ล้านกว่าเป็นชาวโรฮิงญาก็ตาม เมื่อรัฐบาลทหารพม่ามีนโยบาย “สร้างชาติพม่า” เพื่อจะ “กำจัดชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย" ชาวโรฮิงญาจึงได้รับผลกระทบอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันมีชาวโรฮิงญาหลบภัยออกมาจากรัฐอาระกันจำนวนมาก ในบังกลาเทศ ปากีสถาน มาเลเซีย และเชื่อว่ามีจำนวนมากกว่าหนึ่งหมื่นคนในประเทศไทย

         ชาวโรฮิงญาในประเทศไทยนั้น มีการอพยพเข้ามาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ไม่ใช่ว่าเพิ่งเข้ามา หลายๆ ส่วนมีส่วนร่วมในขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าในปี ค.ศ.1988 แต่ด้วยวิถีชีวิตที่นับถือศาสนามุสลิมทำให้มีข้อจำกัด ปัจจุบันมีชาวโรฮิงญาหลบภัยออกมาจากรัฐอาระกันจำนวนมาก ในบังกลาเทศ ปากีสถาน มาเลเซีย และเชื่อว่ามีจำนวนมากกว่าหนึ่งหมื่นคนในประเทศไทย และการเข้ามาในประเทศไทยของคนเชื้อชาติต่างๆ มีมานานแล้ว รัฐบาลไทยควรตระหนักอย่างจริงจังในการนำข้ออ้างใดๆ มาเพื่อผลักดันชาวโรฮิงญาไปเผชิญหน้ากับความตายในประเทศพม่า ซึ่งเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมอย่างยิ่ง ประชาคมชาวโลกควรหันมาตระหนักอย่างจริงจังต่อสิทธิมนุษยชนสากล ที่มนุษย์ทุกผู้ทุกนามควรจะได้รับไม่ว่าจะในฐานะของพลเมืองที่ทุกคนมีหน้าที่ต่อประชาคม ในการใช้สิทธิและเสรีภาพของตน ทุกคนตกอยู่ในการบังคับของข้อจำกัดโดยกฎหมายเท่านั้น เพื่อประโยชน์ที่จะได้มาซึ่งการรับนับถือและการเคารพสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นตามสมควร และที่จะเผชิญกับความเรียกร้องต้องการอันเที่ยงธรรมของศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชน และสวัสดิการทั่วไปในสังคมประชาธิปไตย หรือแม้แต่ในฐานะของรัฐบาล รัฐบาลทุกรัฐบาลที่จะปกครองประเทศต้องสร้างหลักประกันว่า จะเคารพปกป้องและทำให้สิทธิมนุษยชนได้รับการปฏิบัติให้เป็นจริงในสังคม รวมทั้งดำเนินการอย่างมีขั้นตอน ให้ปรากฏในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในการจัดทำรัฐธรรมนูญและในการบัญญัติไว้ในกฎหมายถึงหลักการสำคัญของสิทธิ

บทความพิเศษ-โรฮิงญา กับ สิทธิมนุษยชนสากล แหล่งที่มา: http://www.komchadluek.net/detail/20090228/3113/3113.html[28เมษายน2557]

ปัญหาโรฮิงยากับแนวทางแก้ปัญหา แหล่งที่มา:http://www.sscthailand.org/index.php?option=com_docman&task=doc_download&gid=6&Itemid=566&lang=th[28เมษายน 2557]

หมายเลขบันทึก: 568667เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท