ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย


        คำว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มิใช่เรื่องแปลกใหม่ที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นเกิดขึ้นมาพร้อมๆกับการกำเนิดมนุษย์ เป็นสิ่งที่มีอยู่ติดตัวเรามาตั้งแต่เราเกิด และจะยังอยู่กับเราไปจนถึงวันตาย กล่าวได้ว่ามนุษย์กับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไม่อาจแยกออมากันได้ หากแยกทั้งสองออกจากกันย่อมหมายถึง การลดทอนความเป็นมนุษย์นั่นเอง

         ศักดิ์ศรี คือ การยอมรับของบุคคลในสังคมในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ที่ได้รับการยอมรับของสังคมมนุษย์และเรื่องดังกล่าวต้องเป็นเรื่องดีงามเท่านั้นเรื่องไม่ดี ไม่ให้รวมเรื่องศักดิ์ศรี แม้ว่าพฤติกรรมที่บุคคลกระทำนั้น หรือต้องการกระทำนั้นๆ อาจจะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก็ได้ถือว่าเป็นเรื่องดีงาม สมควรยกย่องและต้องถือปฏิบัติเพื่อเป็นมติขององค์การ การยอมรับขององค์กรต่างๆ นั้นด้วยก็ได้ สิทธิเสรีภาพหรืออำนาจและหน้าที่ก็ถือเป็นศักดิ์ศรีด้วยเช่นกัน

         มนุษย์ คือ บุคคลทั่วไป ไม่เลือกว่าจะเป็นชนชาติใด เผ่า ศาสนา ผิวสี ภาษา และอื่นๆ ที่มีสภาพเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนของสังคมตลอดจนองค์กร / องค์การ ที่อาศัยมติเป็นข้อปฏิบัติไปตามประสงค์ขององค์การองค์การก็ให้ถือเป็นมนุษย์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นคำว่าสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในรัฐธรรมนูญให้ถือว่าเป็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยเช่นกัน[1]

         ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ ปี 2550

มาตรา 4 “ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง ”
มาตรา 26 “ การใช้อำนาจ โดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิและ
เสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ “
มาตรา 28 “ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิ และ
เสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือ ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน “[2]

          นอกจากนี้ยังปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

ข้อที่1 มนุษย์ทั้งหลายเกิดมาอิสระเสรีและเท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิทุกคนได้รับการประสิทธิประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง[3]

          จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มิใช่มีแต่กับเฉพาะผู้ที่เป็นพลเมืองของรัฐนั้นๆ หากแต่เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนบนโลกสามารถใช้ยันต่อบุคคลอื่นได้ไม่ว่าตนจะอยู่แห่งหนใด แม้ว่าจะเป็นคนไร้รัฐ ไม่มีสัญชาติ ศักดิ์ความเป็นมนุษย์ของคนๆนั้น ก็ไม่อาจถูกจำกัดหรือลดทอนลงได้


                                          ที่มา: http://www.romyenchurch.org/messages/files/human_m.jpg

กรณีศึกษาน้องนิค หรือ นายนิวัฒน์ จันทร์คำ

          น้องนิค หรือนายนิวัฒน์ จันทร์คำ เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2538 ที่ประเทศเมียนมาร์ โดยน้องนิคไม่มีหนังสือรับรองการเกิด หรือมีชื่อในทะเบียนประวัติใดๆ น้องนิคจึงเป็นบุคคลผู้ไร้รัฐโดยสิ้นเชิง น้องนิคเข้ามาในประเทศไทยเมื่ออายุประมาณ3-4ขวบซึ่งมาอาศัยอยู่กับป้าที่จังหวัดตรัง โดยมารดาของน้องนิคเป็นคนไทยลื้อไร้รัฐไร้สัญชาติ ในเวลาที่เดินทางเข้าประเทศไทย บิดามารดาและน้องนิคไม่มีหนังสือเดินทางหรือได้รับการตรวจลงตราใดๆทั้งสิ้น ทั้งสามคนจึงเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่อย่างไรก็ดีต้องถือว่าน้องนิคไม่มีความผิดฐานเข้าเมืองผิดกฎหมาย เพราะในขณะที่เข้าเมืองมานั้น น้องนิคมีอายุเพียง 3-4 ขวบ จึงขาดเจตนาที่จะเข้าเมืองผิดกฎหมายน้องนิคได้อาศัยอยู่กับคุณป้า เมื่อถึงวัยที่ต้องได้รับการศึกษา น้องนิคก็ยังไม่มีเอกสารรับรองสถานะบุคคลใดๆ คุณป้าของน้องนิคเกรงว่า น้องจะไม่ได้รับการศึกษา จึงได้ใช้เอกสารของบุตรชายตนเพื่อให้น้องนิคเข้าเรียนในชื่อของบุตรชายตน

           จากข้อเท็จจริงข้างต้นจะเห็นว่า น้องนิคเป็นคนต่างด้าวไม่มีสัญชาติไทย จึงทำให้ถูกรัฐปฏิเสธในการให้การศึกษา ซึ่งสิทธิในการได้รับการศึกษาเป็นสิทธิหนึ่งที่มนุษย์ทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน และไม่ถูกเลือกปฏิบัติ แม้ว่าบุคคลนั้นจะเป็นพลเมืองของรัฐหรือไม่ก็ตาม รัฐก็มีหน้าที่ต้องให้โอกาสในการศึกษาแก่ทุกๆคน จึงกล่าวได้ว่าในกรณีนี้ น้องนิค ถูกลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ถูกกีดกันมิให้ได้รับโอกาสในการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาคน การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการขัดต่อ ปฏิญญาสากล ข้อที่ 26 ที่วางหลักไว้ว่า

(1) บุคคลมีสิทธิในการศึกษา การศึกษาจะเป็นสิ่งที่ให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่า อย่างน้อยที่สุดในขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐาน ขั้นประถมศึกษาให้เป็นการศึกษาภาคบังคับ ขั้นเทคนิคและขั้นประกอบอาชีพเป็นการศึกษาที่จะต้องจัดมีขึ้นโดยทั่วๆ ไป และขั้นสูงเป็นขั้นที่จะเปิดให้ทุกคนเท่ากันตามความสามารถ

(2) การศึกษาจะมุ่งไปในทางพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างเต็มที่และเพื่อเสริมพลังเคารพต่อสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นมูลฐานให้แข็งแกร่ง ทั้งจะมุ่งเสริมความเข้าใจ ขันติ และมิตรภาพในระหว่างประชาชาติ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา และจะมุ่งขยายกิจกรรมของสหประชาชาติเพื่อการธำรงสันติภาพ[4]

ประกอบกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 ที่พึ่งมีมาไม่นานนี้ ก็ได้วางหลักไว้ว่า

การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

         จึงสรุปได้ว่า ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีสัญชาติอะไร เป็นพลเมืองของรัฐหรือไม่ รัฐก็ต้องให้ความคุ้มครองในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แก่ทุกคนอย่างไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งในกรณีนี้ รัฐก็ควรเปิดโอกาสทางการศึกษาแก่คนไร้รัฐอย่างเช่นกรณีน้องนิค เพราะว่าการศึกษา เป็นสิ่งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์สามารถพัฒนาได้และมนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน

นายภัทรภณ  อุทัย


[1] ความหมายของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

http://www.ongkarn-leio.org/knonwlege.php

[2] รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550

http://www.ombudsman.go.th/10/documents/law/Consti...

[3] ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

http://www.l3nr.org/posts/367042

[4] พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552

http://www.wbtvonline.com/pdf/9-04-201409-25-55.pd...

หมายเลขบันทึก: 568483เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท