สิทธิในเสรีภาพของคนต่างด้าว


เสรีภาพในการแสดงออกหรือ freedom of expression ในภาษาอังกฤษเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานประการหนึ่ง ในบางกรณี อาจแยกเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (freedom of opinion) อีกประการหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในการแสดงออก หรือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่างก็เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และเป็นสิทธิที่มีการรับรองไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศ

โดยกฎหมายระหว่างประเทศสำคัญสองฉบับ ที่รับรองเสรีภาพในการแสดงออกไว้คือ[1] ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) และ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant of Civil and Political Rights) ซึ่งประเทศไทยได้รับรองเป็นภาคีของทั้งสองฉบับ โดยเข้าเป็นภาคีของกติการะหว่างประเทศฯ เมื่อ 29 ตุลาคม 2539 จึงมีผลผูกพันประเทศไทย (สำหรับปฏิญญาสากลฯ นั้น ไม่มีผลผูกพันในทางกฎหมาย)

กฎหมายระหว่างประเทศทั้งสองฉบับ บังเอิญรับรองเสรีภาพในการแสดงออกไว้ในบทบัญญัติข้อเดียวกันคือข้อ 19 โดย ข้อ 19 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนบัญญัติไว้ว่า

“บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมั่นในความเห็นโดยปราศจากการแทรกสอดและที่จะ แสวงหา รับ ตลอดจนแจ้งข่าว รวมทั้งความคิดเห็น โดยผ่านสื่อใดๆ และโดยมิต้องคำนึงถึงเขตแดน”

ส่วนข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองมีสามวรรค โดยรับรองเสรีภาพในการแสดงออกไว้ในสองวรรคแรกดังนี้

1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะถือความเห็นใดก็ได้โดยปราศจากการแทรกสอด
2. บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับ และกระจายข่าวและความคิดเห็นทุกรูปแบบ โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ไม่ว่าด้วยวาจา เป็นลายลักษณ์อักษร หรือการตีพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ประสงค์

อย่างไรก็ ตาม กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองมิได้มองว่า เสรีภาพในการแสดงออกเป็นสิทธิโดยสัมบูรณ์ แต่อาจถูกจำกัดได้ ทั้งนี้การจำกัดสิทธิต้องอยู่ในวงแคบและมีเงื่อนไขดังที่บัญญัติไว้ในวรรค สามของข้อ 19 ดังนี้

3. การใช้สิทธิตามที่บัญญัติในวรรคสองของข้อนี้ต้องเป็นไปโดยมีหน้าที่พิเศษและ ความรับผิดชอบ จึงตกอยู่ใต้ข้อจำกัดตัดทอนบางเรื่อง แต่ทั้งนี้ต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายและจำเป็นแก่
(ก) การเคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น
(ข) การรักษาความมั่นคงของชาติ หรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรม

จาก ข้อบัญญัติในวรรคสามนี้ จะเห็นได้ว่าการที่รัฐจะจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกได้นั้น จะต้องกระทำโดยมีเงื่อนไขสามประการคือ หนึ่งต้องออกเป็นกฎหมาย สองต้องเป็นไปเพื่อเคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น และสามต้องเป็นไปเพื่อการรักษาความมั่นคงของชาติ หรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรม

การรับรองเสรีภาพในการแสดงออกในปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง รวมทั้งข้อจำกัดสิทธิในวรรคสามของข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศฯสอดคล้องกับการรับรองเสรีภาพในการแสดงออกของบุคคลและ เสรีภาพของสื่อมวลชนในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันพ.ศ. 2550 ของไทย ซึ่งการรับรองเสรีภาพในการแสดงออกของบุคคลและเสรีภาพของสื่อมวลชนนี้เป็นไป อย่างก้าวหน้านับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ. 2540 สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้รับรองไว้ในมาตรา 45 ถึงมาตรา 48 โดยมาตรา 45 เป็นมาตราหลักซึ่งได้รับรองเสรีภาพในการแสดงออกของบุคคลและเสรีภาพของสื่อ มวลชนไว้อย่างครอบคลุม

มาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2550 บัญญัติหลักการทั่วไปไว้ในวรรคแรกว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น” และวรรคสองบัญญัติว่าการจำกัดสิทธิต้องออกเป็นกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความ มั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน ซึ่งจะเห็นได้ว่าสอดคล้องกับข้อจำกัดสิทธิตามข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศฯ

ตัวอย่างกรญีศึกษาในกรณีนี้คือ กรณีนายสาธิต เซกาล ซึ่งมีการเนรเทศนายสาธิตในครั้งนี้เป็นการกลั่นแกล้งที่ขัดต่อหลักกฎหมาย สิทธิมนุษยชน อยากให้มีความเป็นธรรมเพราะการที่นายสาธิต แสดงความเห็นทางการเมืองนั้นก็แสดงความเห็นในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่จะต้องตอบ แทนแผ่นดินที่อยู่อาศัย ซึ่งการต่อสู้ก็เป็นการแสดงความคิดเห็นในเวทีสาธารณะและไม่ได้เป็น ปฏิปักษ์แก่ประเทศแต่อย่างใด เพียงแต่ไปกระทบกระเทือนกับนายกรัฐมนตรี

[2]เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่การชุมนุม กปปส. สวนลุมพินี นายถาวร เสนเนียม แกนนำกปปส. แถลงถึงความคืบหน้ากรณีที่ยื่นเรื่องต่อศาลแพ่งเพื่อขอให้ดำเนินการกับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ในฐานะ ผอ.ศรส.จากกรณีลงนามในคำสั่งเนรเทศนายสาธิต เซกัล นายกสมาคมนักธุรกิจไทย-อินเดีย ว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นการละเมิดคำสั่งศาลแพ่ง ซึ่งหลังจากที่ตนได้ยื่นคำร้องศาลได้รับคำร้อง และมีการนัดไต่สวน 25 มี.ค.นี้ โดยจะมีการเรียกโจทย์และจำเลยมาไต่สวนพร้อมกัน แต่อย่างไรก็ตามขณะนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน(กสม.)ได้มีข้อสรุปและมี หนังสือไปถึง ร.ต.อ.เฉลิม พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. นายจารุพงศ์เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย และนายสาธิต โดยหนังสือดังกล่าวระบุ 5 ประเด็นคือ

1.นายสาธิต มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยมาแล้วประมาณ 50 ปี และมีชื่ออยู่ในเอกสาร ทร.14 ส่งผลให้นายสาธิตสามารถอยู่ในราชอาณาจักรได้โดยไม่ต้องขอเอกสารอนุมัติ (วีซ่า)

2.การใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในมาตรา 11 ในการเพิกถอนมีเป้าหมายเหมือนเนรเทศนั้น ต้องคำนึงถึงการแทรกแซงสิทธิในการอยู่ร่วมเป็นครอบครัวตามกติการะหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมืองด้วย

3.การใช้อำนาจของฝ่ายบริหารต้องระมัดระวังและต้องอยู่บนพื้นฐานสุจริตไม่ เลือกปฏิบัติ โดยในกรณีของนายสาธิตซึ่งมีหมายจับในข้อหากบฏอยู่ ดังนั้นนายสาธิตจึงต้องอยู่ในประเทศจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ซึ่งหากมีการสั่งเนรเทศก็เท่ากับว่า เป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือให้ผู้ต้องหาออกนอกประเทศโดยไม่ต้องการรับโทษ

4.การพิจารณาของคณะกรรมการตรวจคนเข้าเมือง เป็นการพิจารณาที่ขัดหลักธรรมมาภิบาล

5.ศาลแพ่งได้ให้การคุ้มครอง นายสาธิต ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถใช้ข้อบังคับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้ ดังนั้นการเนรเทศจึงไม่สามารถเนินการได้เช่นกัน

แสดงให้เห็นว่านายสาธิตซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นได้ถูกละเมิดสิทธิที่นายสาธิตมี


[1] ศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน เสรีภาพในการแสดงออก โดย ศิลป์ฟ้า ตันศราวุธ วันที่ Monday, 28 June 2010 15:50

สืบค้นทาง http://www.thaimedialaw.org/index.php?option=com_flexicontent&view=items&cid=33&id=99&Itemid=9&lang=en

[2] เดลินิวส์ (ออนไลน์) ยก 5เหตุผล กสม.จี้เลิกคำสั่งเนรเทศ “สาธิต เซกัล” วันอังคาร 11 มีนาคม 2557 เวลา 18:55 น.

สืบค้นทาง http://www.dailynews.co.th/Content/politics/

หมายเลขบันทึก: 568477เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท