HR-LLB-TU-2556-TPC-ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย


ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย

                      ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสิทธิเสรีภาพอย่างหนึ่งคือ สิทธิในชีวิตร่างกาย และเสรีภาพที่จะพัฒนาบุคลิกภาพและศักยภาพของตนได้อย่างเต็มภูมิ โดยมนุษย์ทุกคนมีอยู่อย่างเท่าเทียมกันไม่จำกัดเฉพาะสัญชาติหรือเขตแดนใดๆบน หลักการของความเสมอภาคเพราะเหตุว่ามนุษย์นั้นมีคุณสมบัติตอบสนองสิ่งแวดล้อม ภายนอกอย่างเป็นนามธรรมได้ ต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นสิ่งที่มีจริงแท้ตามธรรมชาติไม่อาจปฏิเสธการมีอยู่หรือสละทิ้งได้ไม่ว่า กรณีใดๆ โดยมีกฎหมายที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองคุ้มครองไว้ให้ พร้อมๆกับการแบ่งแยกองค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยเพื่อเป็นหลักประกันไว้ว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นจะไม่ถูกล่วงละเมิด[1]

โดยรัฐธรรมนูญไทยได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐[2]

มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา ๒๖ การใช้อำนาจ โดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิและ
เสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่า ที่ไม่ละเมิดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือ ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน

                        ผู้ที่เป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายคือผู้ที่หลบหนีเข้าประเทศไทยโดยวิธีการ ที่ฝ่าฝืนกับกฎหมาย พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ในลักษณะต่างๆ เพื่อเข้ามาท่องเที่ยว ตั้งถิ่นฐาน หรือเพื่อใช้แรงงานในลักษณะของแรงงานต่างด้าวเป็นต้น ปัญหาของผู้ที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่เป็นการหลบหนีเข้าเมืองของแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดน ติดต่อกับเขตพื้นที่ของประเทศไทย เช่น แรงงานจากประเทศ ลาว พม่า กัมพูชา เป็นต้น เนื่องจากประเทศเหล่านี้ มีเขตชายแดนที่ติดต่อกับประเทศไทย สามารถเดินทางเข้าเมืองมาได้โดยง่าย ประกอบด้วยรายได้ขั้นต่ำของประเทศทั้งสามไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ จึงเกิดเป็นการอพยพเข้าเมืองในรูปแบบต่างๆทั้งการอพยพด้วยตนเอง หรืออาศัยนายหน้าค้าแรงงานข้ามชาติ ก่อให้เกิดเป็นการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของแรงงานต่างด้าวจากกลุ่มประเทศดัง กล่าวขึ้นเป็นจำนวนมากในประเทศไทย

                       กรณีศึกษาน้องนิก หรือ น้องนิวัฒน์ จันทร์คำ เกิดวันที่ 13 เมษายน 2538 ณ ประเทศเมียนม่าร์ จากมารดาและบิดาเป็นคนเชื้อชาติไทยลื้อ ไร้รัฐและไร้สัญชาติเพราะ ไม่มีประเทศไทยลื้อปรากฏอยู่ในโลก ในปัจจุบันน้องนิกมีอายุประมาณ 19 ปี ซึ่งมารดาของน้องนิก ได้อาศัยอยู่ในประเทศเมียนม่าร์และได้รับเอกสารประจำตัวที่ออกโดยประเทศเมียนม่าร์ แต่เนื่องจากน้องนิกได้ศึกษาเล่าเรียนในประเทศไทยมาโดยตลอด จึงต้องการที่จะศึกษาต่อจนจบการศึกษา จนกระทั่งปัจจุบันน้องนิกก็ยังไม่เป็นคนไร้รัฐและไร้สัญชาติ เพราะยังไม่ได้รับการรับรองสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรของรัฐใดเลยบนโลก [3]

                       แม้เป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติก็ตามแต่เนื่องด้วยน้องนิกเป็นมนุษย์ย่อมมีศักดิ์ศรีความเป็นคน ไม่ควรได้รับการดูถูกและควรได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันจากบุคคลที่อยู่ ร่วมกันในสังคม ซึ่งสิทธิทางด้านการศึกษาเป็นสิทธิหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ให้น้องนิกไม่ถูกดูถูกเหยียดหยาม และได้รับการปฏิบัติต่อตนอย่างการเป็นมนุษย์คนหนึ่ง นอกจากนี้ สิทธิในการได้รับการศึกษาเป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง จึงทำให้น้องนิกมีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาเล่าเรียนในประเทศไทยดังปรากฏในข้อ 26 (1) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

[1] นายสรวิศ วงศ์บุญสิน. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คืออะไร?. l3nr. [Website] 2011 http://www.l3nr.org/posts/464776

ค้นข้อมูล : 15 พฤษภาคม 2557

[2] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐. [PDF] [ited 2014 My 16]. Aailable fromhttp://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=8337 ค้นข้อมูล : 15 พฤษภาคม 2557

[3] ข้อเท็จจริงของน้องนิก แหล่งข้อมูล : กรณีศึกษาเด็กชายนิวัฒน์ จัทร์คำ เอกสารประกอบการสอน กฎหมายสิทธิมนุษยชน 2557 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ค้นข้อมูล : 15 พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 568463เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท