HR-LLB-TU-2556-TPC-ศาลสิทธิมนุษยชน


ศาลสิทธิมนุษยชน

ในปัจจุบันนี้สังคมโลกได้ให้ความสนใจกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากขึ้น โดยเห็นได้จากการที่มีการทำข้อตกลงเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศ และมีประเทศเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศบนโลกที่เห็นถึงความสำคัญของการคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนของคนภายในรัฐจึงมีการลงนามเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกและตกลงให้ สัตยาบันในอนุสัญญาหลายฉบับ เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น

กรณีศึกษา ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป

ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (The European of Human Rights-ECtHR) ตั้ง อยู่ที่เมืองสตราส์บูร์ก(Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส ตามหลักการในอนุสัญญายุโรปว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ปี 1950 (The European Convention on Human Rights) เพื่อดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติตามอนุสัญญาของประเทศสมาชิก ซึ่งอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า อนุสัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms) ซึ่งเป็นหนึ่งในอนุสัญญาที่สำคัญที่สุด ที่สภายุโรป (The Council of Europe) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกของสภายุโรป ทั้ง 47 ประเทศได้เข้าเป็นภาคีและรับหลักการของอนุสัญญาฯ หลักสำคัญของอนุสัญญาสรุปได้ดังต่อไปนี้

  • สิทธิในการดำรงชีวิต
  • การนำคดีขึ้นสู่ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป จะสามารถทำได้โดยรัฐบาลคู่กรณีหรือบุคคลธรรมดาเพื่อฟ้องร้องรัฐบาลของรัฐ ภาคีทั้ง 47 ประเทศหากเกิดการละเมิดในสิทธิมนุษยชนโดยรัฐ ทั้งนี้ คำพิพากษาของศาลมีผลผูกพันต่อรัฐคู่กรณีที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาล และแนวทางการพิจารณาคดียึดถือตามคำพิพากษาที่ได้พิพากษาไปแล้วเป็นหลัก (Case law)[1]

    ในอาเซียนซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่นั้นยังไม่มีศาลสิทธิมนุษยชนอาเซียน มีเพียงปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งในอนาคตอาจมีการจัดตั้งศาลอาเซียน รวมถึงศาลสิทธิมนุษยชนอาเซียน

    โดยเนื้อหาของปฏิญญาฯ ประกอบด้วย๗ส่วน[2] ได้แก่

    (๑) อารัมภบท

    (๒) หลักการทั่วไป

    (๓) สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

    (๔) สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

    (๕) สิทธิในการพัฒนา

    (๖) สิทธิในสันติภาพ

    (๗) ความร่วมมือในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน

    องค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนเกี่ยวด้วยสิทธิมนุษยชน ( ASEAN Intergovernmental Commission Human Rights : AICHR ) เป็นองค์กรความร่วมมีของรัฐในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2009 ตามปฏิญญาชะอำ – หัวหิน ซึ่งต้องการที่จะให้บังคับการให้เป็นไปตาม กฎบัตรอาเซียน ( ASEAN Charter )ซึ่งมีใจความสำคัญในการสนับสนุนและคุ้มครองสอทธิมนุษยชนในอาเซียน ให้เป็นไปได้จริง[3] แต่ในทางปฏิบัตินั้น ไม่สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกับ ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเนื่องจากรัฐแต่ละรัฐก็มักจะทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน ต่อประชาชนของรัฐตนเองเช่นเดียวกัน AICHR จึงมักไม่สามารถที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบข้อตกลงที่ได้กำหนดไว้ใน กฎบัตรอาเซียนได้ และเมื่อแต่ละรัฐซึ่งเป็นองค์ที่อยู่ในAICHR ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ก็มักยินยอมต่อกัน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วนั้น แม้จะมีองค์กรความร่วมมือระหว่างอาเซียนเกี่ยวด้วยสิทธิมนุษยชน แต่ก็ไม่สามารถเป็นการรับรองสิทธิมนุษยชนภายในอาเซียนได้แต่อย่างใด แต่จะเสมือนเป็นองค์กรที่คอยเชื่อมโยงระหว่างรัฐภายในภูมิภาคอาเซียนมากกว่า

    [1] นางสาว ณัชชมล แสนเรือง. ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป VS เคท มิดเดิลตัน. l3nr. [Website] 2011 16]. http://www.l3nr.org/posts/466240ค้นข้อมูล : 15 พฤษภาคม 2557

    [2] ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. [PDF] http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/13...ค้นข้อมูล : 15 พฤษภาคม 2557

    [3] ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป แหล่งข้อมูล :เอกสารประกอบคำบรรยายวิชา สิทธิมนุษยชน โดย อ.ดร. รัชนีกร ลาภวณิชชา ค้นข้อมูล : 15 พฤษภาคม 2557

  • สิทธิในการที่จะได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมทั้งในทางแพ่งและอาญา
  • สิทธิที่จะได้รับการคำนึงถึงชีวิตส่วนตัวและครอบครัวของบุคคล
  • เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
  • เสรีภาพทางความคิด จิตสำนึกและศาสนา
  • สิทธิในการที่จะได้รับการเยียวยาที่ดี
  • สิทธิในการครอบครองทรัพย์สินอย่างสุขสงบ
  • สิทธิในการเลือกตั้งและการรับเลือกตั้ง
  • หมายเลขบันทึก: 568461เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 11:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท