กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


การที่จะกล่าวถึงสิทธิมนุษยชนในไทยนั้นต้องรู้ความหมายก่อน ซึ่งก็คือ  สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เป็นสิ่งที่ทุกคนควรได้รับความคุ้มครองในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง หากพิจารณาตามกฎหมายไทยที่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนนั้นมีหลายประการไม่ว่าจะเป็นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา หรือพระราชบัญญัติต่างๆ

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้ให้สัตยาบันปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๑และได้มีการรับรองสิทธิมนุษยชนในรัฐธรรมนูญ ของไทยในสังคมปัจจุบัน สถานการณ์ปัญหาอาชญากรรมมีลักษณะก่อเหตุทวีความรุนแรงขึ้นดังเห็นได้จากข่าวหรือหนังสือพิมพ์ รัฐจึงมีมาตรการป้องกันสังคมให้สงบสุขโดยมีการตรากฎหมาย ทั้งกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายอาญาเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิด และป้องกันการเกิดอาชญากรรมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เป็นการใช้อำนาจรัฐเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและเอาผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลจึงได้มีการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนหรืออาจเรียกได้ว่า สิทธิขั้นพื้นฐาน ได้ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 และตามประมวลกฎหมายอาญา การลงโทษผู้กระทำความผิด มี 5 ประเภท คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สินโทษประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่รุนแรงที่สุด ที่ใช้ต่อผู้กระทำความผิด เพื่อแก้แค้นทดแทนความผิดที่ได้กระทำขึ้นรวมทั้งยังเป็นการข่มขู่ยับยั้ง และสำคัญที่สุดคือการตัดโอกาสการกระทำผิดซ้ำอันเป็นการกำจัดผู้กระทำความผิดออกไปจากสังคมอย่างเด็ดขาดด้วยการกระทำวิธีถึงแก่ความตาย สำหรับประเทศไทยได้เปลี่ยนโทษประหารชีวิตจากการใช้อาวุธปืนมาเป็นการฉีดสารยาพิษแม้การก่ออาชญากรรมจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาแต่การลงโทษประหารชีวิตเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน เนื่องจากสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อันเป็นหลักการสูงสุด ตามด้วยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 มนุษย์ทั้งหลายเกิดมาอิสระเสรี และเท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิประสาทเหตุผล และมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง จึงมีประเด็นถกเถียงว่าการลงโทษประหารชีวิตจำเป็นหรือไม่เนื่องจากมีความเห็นว่าการลงโทษประหารชีวิตนอกจากจะเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แล้วยังตัดโอกาสการกลับตัวของผู้กระทำความผิด หรือในกรณีที่ผู้นั้นมิใช่ผู้กระทำความผิดจริงก็จะเป็นการคร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์

http://www.lexilogos.com/declaration/thai.htm

http://www.l3nr.org/posts/465841

หมายเลขบันทึก: 568347เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท