การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ


มนุษย์ทุกคนเมื่อได้เกิดมาแล้ว ย่อมทำให้เกิดสิทธิตามมา ซึ่งสิทธินั้นเรียกว่า สิทธิมนุษยชน เป็น สิทธิ ที่ทุกคนมีอยู่ในฐานะเป็นมนุษย์ ทั้งสิทธิในการดำรงชีวิตอยู่ในส่วนบุคคลและสิทธิในการอยู่ร่วมกันในสังคม สิทธิในความเป็นมนุษย์นั้น มีทั้งสิทธิตามกฏหมายและสิทธิที่มีอยู่โดยไม่ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของกฏหมาย แต่เป็นสิทธิที่เกิดจากมาตรฐานเพื่อความถูกต้อง ความเป็นธรรม หรือความยุติธรรม แต่เดิมสิทธิมนุษยชนจะกล่าวถึงในชื่ออื่น เช่น สิทธิในธรรม สิทธิในธรรมชาติ เป็นต้น

สิทธิมนุษยชนจะครอบคลุมสิทธิต่างๆ ในการดำรงชีวิตของมนุษย์เพื่อให้มีชีวิตที่ดีในสังคมดังนี้

  • สิทธิ ในชีวิต ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้และได้รับการคุ้มครองให้ปลอดภัยได้รับการตอบสนอง ตามความต้องการขั้นพื้นฐานของชีวิต ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ทุกชีวิตล้วนมีคุณค่าด้วยกันทั้งสิ้น ไม่วาจะเป็นบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีวิตอยู่เป็นพิเศษจาก ผู้อื่น เช่น คนพิการ คนชรา ฯลฯ ดังนั้นทุกคนควรปฏิบัติต่อบุคคลด้อยโอกาส ให้ความสำคัญ ให้โอกาสและให้ความช่วยเหลือตามสมควร เพื่อให้ทุกชีวิตมีความเท่าเทียมกันมากที่สุด
  • สิทธิ ในการดำเนินชีวิตและพัฒนาตนเองตามแนวทางที่ถูกต้อง คนในสังคมต้องให้โอกาสกับคนที่เคยกระทำไม่ถูกต้อง ให้โอกาสคนเหล่านี้ได้รับการอบรมแก้ไขและพัฒนาตนเองใหม่ ให้สามารถมีชีวิตที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น
  • สิทธิ ในการยอมรับนับถือ หมายถึง การที่บุคคลพึงปฏิบัติต่อกันด้วยการยอมรับซึ่งกันและกัน ให้ความสำคัญกับศักดิ์ศรีและคุณค่าของชีวิตด้วยความเท่าเทียมกัน

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะได้เข้าร่วมรับรอง "ปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน" ของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ และ บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนไว้อย่างชัดเจน แต่ในความเป็นจริง ในสังคมก็ยังคงมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ให้เห็นได้พบทั่วไป

ดังเช่นกรณีของน้องผักกาดหรือ ด.ญ.ผักกาด ที่เกิด ณ โรงพยาบาลแม่สอด เมื่อ พ.ศ.2549 โดยไม่มีการแจ้งเกิด จึงมิได้มี การับรองสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรของรัฐใดเลย ทำให้ประสบปัญหาความไร้รัฐ และเป็นบุคคลผู้ไร้สัญชาติ ทั้งยังเป็นผู้มีความพิการทางร่างกายมา แต่กำเนิด ไม่สามารถขยับร่างกายหรือพูดได้อย่างคนปกติ ซึ่งในความเป็นจริงน้องผักกาดมีสิทธิได้รับสัญชาติไทยตามหลักดินแดน เนื่องจากเกิดในราชอาณาจักรไทยย่อมได้รับสัญชาติไทย ตามมาตรา 7 (2) พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 [2] การที่น้องผักกาดเป็นคนไร้รัฐย่อมก่อให้เกิดปัญหา คือ ส่งผลให้น้องผักกาดไร้สิทธิในหลักประกันสุขภาพในกองทุนเพื่อบุคคลที่มีปัญหา สถานะบุคคล ทำให้น้องผักกาดไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจากรัฐได้ เพราะ แม้ว่า น้องผักกกาด จะถูกบุพการีทอดทิ้งตั้งแต่แรกเกิด แต่โรงพยาบาลแม่สอดซึ่งเป็น สถานที่ ที่น้องผักเกิดเกิด ก็ไม่สามารถละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่่ได้ ซึ่งในความเป็นจริง น้องควรจะได้รับสิทธิการรับรองสถานะบุคคล ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็รการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสิทธิที่น้องผักกาดควรจะได้รับ ดั้งนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรีบดำเนินแก้ไข โดยการรับรองสถานะบุคคลให้น้องผักกาด ไม่เป็นคนไร้รัฐ เพื่อที่น้องผักกาดจะได้รับสิทธิในหลักประกันสุขภาพ

นิภัทร สันติสัตยพรต 5501680994

หมายเลขบันทึก: 568310เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท