ครอบครัวข้ามชาติ


              

                                       

        (ที่มา :http://lh4.ggpht.com/_FPMtx8yjo3o/TT_guNbQrqI/AAAAAAAAAZU/Lj2ZAfRTV1s/1-100225.jpg)

              ในสังคมโลกปัจจุบันที่เปิดกว้างทางความคิด และเสรีภาพในการแสดงออก การเดินทางและการสื่อสารที่ไร้พรมแดน ทุกคนเข้าหากันได้ง่ายขึ้น แม้จะอยู่กันคนละประเทศ มีสัญชาติที่ต่างกัน จึงเป็นเหตุให้มีโอกาสใกล้ชิด สนิทสนมกัน จากการเพื่อนคุย คนร่วมงาน เจ้านายลูกจ้าง และอาจพัฒนากลายเป็นความสัมพันธ์ฉันคนรัก และเมื่อตัดสินที่จะสมรสกันแล้ว ยังมีสิ่งต่างๆที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหาตามมาให้แกคู่สมรสของตน หรือภายหน้าอาจจะมีบุตรด้วยกัน แต่เมื่อเราปฏิบัติไม่ถูกต้อง หรือด้วยความไม่รู้ว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร แน่นอนมันย่อมมีปัญหาตามมา

               จากที่กล่าวไปเบื้องต้น กรณีที่มีการพบรักกันของคู่รักคนละสัญชาติ คนละประเทศ เมื่อมีความสัมพันธ์กันดังกล่าวแล้วทั้งคู่ย่อมมีความต้องการที่จะอยู่กินและเลี้ยงดูกันฉันสามีภรรยา จึงต้องมีการเดินทางข้ามประเทศเพื่อไปอยู่ในประเทศของคู่สมรสของตนฝ่ายใดฝ่าย อาจจะเป็นประเทศของสามี หรือภรรยา กรณีเช่นนี้เราจะเรียกครอบครัวนี้ว่า ครอบครัวข้ามชาติ

               เราจะมาศึกษาปัญหาของครอบครัวข้ามชาติในประเทศไทยกัน ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ก็คือเมื่อสามีหรือภรรยาที่เดินทางตามคู่รักตนเข้ามาในประเทศไทย โดยที่ไม่ได้ไม่ได้ทำวีซ่าคู่สมรส(Spouse Visa (K3))[1] แต่ทำท่องเที่ยว[2]หรืออย่างอื่นแทน ที่ทำให้อยู่ในประเทศคู่รักของตนได้ไม่ถาวร และเมื่อวีซ่าหมดอายุก็ไม่ได้สนใจจะไปทำเรื่องต่อ หรืออีกกรณีหนึ่งเป็นการที่อยู่ประเทศใกล้เคียงกันเดินทางไปมาหากันได้สะดวก เช่น ประเทศลาว[3] เมียนมาร์[4] และกัมพูชา จึงเดินทางเข้ามาอยุ่ด้วยกันเป็นแรงงานต่างด้าว คนเหล่านี้เมื่ออยู่กินกันไปและมีบุตรธิดาด้วยกัน จะทำให้เด็กที่เกิดมามีปัญหาทางสถานะบุคคล และทำให้ไม่ได้รับสิทธิทางสวัสดิการที่ดีที่สุดที่เด็กควรจะได้รับ เช่น กรณีศึกษาของครอบครัวเจดีย์ทอง

               ครอบครัวเจดีย์ทอง ประกอบไปด้วย นายอาทิตย์ เป็นคนไทย มีสัญชาติไทย กับคู่รักชาวมาเลเซียคือ นางแพทริเซีย ที่ไปพบรักกันตอนไปทำงานที่ประเทศไต้หวัน หลังหมดสัญญาจ้างแรงงานนายอาทิตย์ได้เดินทางกลับประเทศไทย ส่วนนางแพทริเซียยังทำงานต่อจนหมดวีซ่าจึงเดินกลับมาเลเซียแต่ระหว่างทางนางแพททริเซียเดินทางเข้าประเทศไทยเพื่อมาพบนายอาทิตย์ และระหว่างที่อาศัยกับนายอาทิตย์ ทั้งคู่ก็ได้ตกลงว่าจะอยู่กินฉันสามีภรรยากัน วันหนึ่งนางแพทริเซียก็ไปร้องขอต่ออำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เพื่อรับการสำรวจในสถานะของ บุคคลที่ไม่มีสถานะบุคคลตามกฎหมายการทะเบียนราษฎร และต่อมานางแพทริเซียก็ได้รับการบันทึกในทะเบียนประวัติประเภท ท.ร.38 ก ซึ่งหมายความว่าเป็นคนที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน เป็นคนไร้สัญชาติ และเมื่อมีบุตรด้วยกัน บุตรทั้งสามคนของครอบครัวเจดีย์ทองก็ได้รับการบันทึกทางทะเบียนบ้านตามกฎหมายไทยว่าด้วยทะเบียนราษฎรประเภทคนอยู่ถาวร[5]

               ซึ่งปัญหาของครอบครัวนี้ก็คือ นางแพทริเซียไม่ควรที่จะได้รับการบันทึกว่าเป็นคนไร้สัญชาติ เนื่องจากนางแพทรเซียเป็นคนมาเลเซีย และมีสัญชาติมาเลเซีย แต่ด้วยความที่ไม่รู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์เป็นเหตุให้นางไปแจ้งว่าตนไม่มีสถานะบุคคลด้วยนึกว่าเมื่อแจ้งแล้วจะได้รับสัญชาติไทย แต่กลับเป็นว่าถูกบันทึกเป็นคนไร้สัญชาติ ดังนั้นนางแพทริเซียจึงจะถูกจำกัดสิทธิหลายประการจากรัฐไทย เช่น สิทธิในการทำงาน สิทธิในการทำธุรกรรมต่างๆ ทั้งๆที่ไม่ควรจะเป็นเช่นนี้ นอกจากนี้บุตรของครอบครัวนี้จากที่ควรได้รับสัญชาติ 2 สัญชาติ ก็คือสัญชาติของบิดาและมารดาตามหลักสืบสายโลหิต แต่เมื่อมารดาถูกทำให้ไร้สัญชาติ บุตรจึงไม่ได้รับสัญชาติของมารดา ที่เป็นสัญชาติมาเลเซียด้วย ทำให้เด็กๆในครอบครัวนี้อาจจะเสียสิทธิบางประการที่ควรจะได้รับจากสัญชาติของมารดา

               จากกรณีศึกษาจะพบว่าปัญหาต่างๆ เกิดจากความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ประสบปัญหาทางสถานะบุคคล ถ้าเกิดว่าเราศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไร อาจจะเกิดปัญหาน้อยลง หรือหาเจ้าหน้าที่ที่รับเรื่องได้ทำงานตรวจสอบข้อมูลของผู้ประสบปัญหาให้แน่ชัดกว่านี้ก่อนที่จะบันทึกข้อมูลอะไรลง คงจะไม่ต้องมาคอยแก้ไขความผิดพลาดอันเกิดจากความไม่รอบคอบของตนเองทีหลัง อาจจะด้วยปัญหาทางการสื่อสารที่ใช้กันคนละภาษาก็ตามที แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว เราก็ควรที่จะเร่งแก้ไขให้เร็วที่สุด เพื่อให้ผู้ประสบปัญหาได้รับสิทธิอย่างที่เขาควรจะได้รับ

                                                                                                               เขียนวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557


เชิงอรรถ

[1] usvisa4thai . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.usvisa4thai.com/spouse.html. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 17 พฤษภาคม 2557)

[2] usvisa4thai . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.usvisa4thai.com/board/viewtopic.php?f=4... (วันที่สืบค้นข้อมูล : 17 พฤษภาคม 2557)

[3] ครอบครัวข้ามชาติตรงพื้นที่ระหว่างชายแดนไทย-ลาว โดย รศ.ดร.สุชาดา ทวีสิทธิ์ . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttp://www.gotoknow.org/posts/269020. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 17 พฤษภาคม 2557)

[4] สถานการณ์แรงงานข้ามชาติ เด็ก และผู้ติดตาม ในจังหวัดสมุทรสาคร ปี 2554 . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttp://www.lpnfoundation.com/LPN-Reseach/48/%E0%B8... (วันที่สืบค้นข้อมูล : 17 พฤษภาคม 2557)

[5] รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนจินดา สายสุนทร .กรณีศึกษา ครอบครัวเจดีย์ทอง (17 พฤษภาคม 2557)

หมายเลขบันทึก: 568305เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท