การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ


  • การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ


สิทธิมนุษยชน 
        

            หมายถึง สิทธิที่ทุกคนมีอยู่ในฐานะเป็นมนุษย์ ทั้งสิทธิในการดำรงชีวิตอยู่ในส่วนบุคคลและสิทธิในการอยู่ร่วมกันในสังคม สิทธิในความเป็นมนุษย์นั้น มีทั้งสิทธิตามกฎหมายและสิทธิที่มีอยู่โดยไม่ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของกฎหมาย แต่เป็นสิทธิที่เกิดจากมาตรฐานเพื่อความถูกต้อง ความเป็นธรรม หรือความยุติธรรม  สิทธิมนุษยชนจะครอบคลุมสิทธิต่างๆ ในการดำรงชีวิตของมนุษย์เพื่อให้มีชีวิตที่ดีในสังคมเช่น สิทธิในชีวิต

สิทธิในชีวิต 

             ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ที่ทำให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้และได้รับการคุ้มครองให้ปลอดภัยได้รับการตอบสนองตามความต้องการขั้นพื้นฐานของชีวิต ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย  โดยที่ทุกชีวิตล้วนมีคุณค่า ทั้งนี้หมายรวมถึงบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีวิตเป็นพิเศษจากผู้อื่น เช่น คนพิการ คนชรา ผู้ด้อยโอกาส หรือแม้จะเป็นบุคคลที่ไร้รัฐไร้สัญชาติ บุคคลเหล่านี้ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเห็นคุณค่าในความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกับบุคคลโดยทั่วไป เพราะความแตกต่างดังตัวอย่างที่กล่าวไปนี้มิได้ทำให้คุณค่าหรือศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของบุคคลเหล่านั้นลดน้อยลงแต่อย่างใด 

              เมื่อพิจารณาจะพบว่าบุคคลผู้ถูกละเมิดสิทธิในชีวิตอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มบุคคลผู้ด้อยโอกาสที่อยู่ตามแนวชายแดนของประเทศ ที่มักประสบปัญหาเพราะความไร้รัฐหรือไร้สัญชาติ โดยเฉพาะสิทธิใน “การรับรองสถานะบุคคล” ของบุคคลกลุ่มนี้ 

               ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ6 วางหลักว่า ทุกๆคนมีสิทธิที่จะได้รับ การยอมรับว่าเป็นบุคคลในกฎหมาย ไม่ว่า ณ ที่ใดๆ อันเป็นการรับรองว่าผักกาดเป็นบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งในเรื่องของการพิสูจน์สถานะบุคคลของเด็กถูกทอดทิ้งนั้น 

               พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรพ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา19 หลักว่า ผู้ใดพบเด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กไร้เดียงสาซึ่งถูกทอดทิ้ง ให้นำตัวเด็กไปส่งและแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งปฏิบัติงานในท้องที่ที่พบเด็กนั้นโดยเร็ว เมื่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้รับตัวเด็กไว้แล้วให้บันทึกการรับตัวเด็กไว้ ในกรณีที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจรับเด็กไว้ ให้นำตัวเด็กพร้อมบันทึกการรับตัวเด็กส่งให้เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในเขตท้องที่ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้รับตัวเด็กไว้หรือได้รับตัวเด็กจากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจแล้ว ให้แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งและให้นายทะเบียนออก ใบรับแจ้ง ทั้งนี้ ตามระเบียบและแบบพิมพ์ที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด

กรณีศึกษา :              

    

                น้อง “ผักกาด” เป็นเด็กที่ถูกบุพการีที่มาจากเมียนม่าร์ทอดทิ้งหลังจากคลอดที่โรงพยาบาลพบพระ ซึ่งยังไม่มีการรับรองสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรและตามกฎหมายสัญชาติ และจึงถูกสันนิษฐานว่าเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย ดังนั้นเธอจึงเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติกรณีศึกษาของน้องผักกาด ข้อเท็จจริงคือ น้องผักกาดเกิดที่โรงพยาบาลแม่สอดโดยไม่มีการแจ้งเกิดเนื่องจากน้องเกิดมาพิการจนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ ทางโรงพยาบาลคิดว่าน้องน่าจะไม่มีชีวิตรอดจึงไม่ได้แจ้งเกิดให้กับน้อง และมิได้รับการรับรองสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรของรัฐใดๆ บุพการีเป็นคนเมียนมาร์ น้องจึงเป็นบุคคลไร้สัญชาติ และไร้รัฐเนื่องจากไม่มีเอกสารแสดงตน(Undocumented person) ซึ่งการเป็นบุคคลไร้รัฐส่งผลให้น้องผักกาดไม่มีสิทธิในหลักประกันสุขภาพในกองทุนเพื่อบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคลตามมติคณะรัฐมนตรีทั้งที่มีปัญหาสถานะบุคคล    

                 จากข้อเท็จจริงจะเห็นได้ว่า น้องผักกาดเกิดที่ประเทศไทยที่โรงพยาบาลแม่สอดน้องจึงมีสิทธิยื่นขอสัญชาติไทยได้ในอนาคต เป็นไปตามมาตรา 7 (2) พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติม ปี พ.ศ. 2535 ที่กำหนดให้ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยย่อมได้สัญชาติไทย และเป็นหน้าที่ของโรงพยาบาลแม่สอดที่จะเป็นผู้แจ้งแก่เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองให้บันทึกรับตัวเด็กไว้และต้องออกหนังสือรับรองการเกิดให้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์ พ.ศ.2534 มาตรา2 หากมีการดำเนินการตามมาตรา 19 และมาตรา 23แล้วน้องผักกาดจะไม่มีปัญหาของการเป็นบุคคลไร้รัฐอีกต่อไป  

                 จะเห็นได้ว่าปัญหาเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิมนุษยชนต่างๆนั้นมีผลสืบเนื่องมาจากปัญหาสถานะบุคคลที่บุคคลเหล่านั้นอาจเป็นบุคคลไร้รัฐหรือไร้สัญชาติหรือทั้งไร้รัฐและไร้สัญชาติ แล้วแต่กรณี เป็นหน้าที่ของรัฐภาคีและรัฐที่ร่วมรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในการให้ความคุ้มครอง รับรอง ให้และส่งเสริมให้บุคคลเหล่านั้นได้รับสิทธิ ใช้สิทธิ เข้าถึงสิทธิได้อย่างเต็มที่ในฐานะของมนุษย์คนหนึ่งบนโลกใบนี้โดยไม่คำนึงถึงสถานะบุคคล โดยเฉพาะประเทศไทยเพราะได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเห็นได้ชัดในหลายกรณี


อ้างอิง

-กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน.(ออนไลน์). 

แหล่งที่มา www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf.

-คณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชน องค์การสหประชาชาติ.อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และ พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก.(ออนไลน์).

ที่มา http://www.senate.go.th/committee2551/committee/fi…

หมายเลขบันทึก: 568303เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท