ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนด้วยหรือ


คุณคิดว่าสิทธิมนุษยชนคืออะไร ?เป็น สิ่งที่มนุษย์ควรได้รับ ตลอดช่วงชีวิตของเขาเป็นชุดของสิทธิพื้นฐานที่เป็นสมบัติติดตัวของทุกคนมา ในฐานะที่เพียงได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นสิทธิพิเศษที่มอบให้แก่คนจำนวนหนึ่งโดยประมุขของรัฐ หรือเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับภูมิภาคและกลุ่มวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปที่จริง แล้วจะเลือกตอบอย่างไรก็ไม่ผิด เพราะยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาก แต่หากว่ากันด้วยระบบขององค์การสหประชาติที่ผู้แทนนานาชาติยอมรับร่วมกัน แล้ว ข้อ ข) จะถือเป็นข้อที่ถูกต้อง คือถือเป็นสิทธิสมบัติติดตัวมาแต่เกิดในฐานะที่เป็นมนุษย์ ไม่ต้องกระทำการซึ่งให้ได้มา (Inherently Entitled)โดยในระบอบกฎหมาย นี้จะมี Universal Declaration of Human Rights (UDHR) เป็นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่วางกรอบเบื้องต้นของแนวคิด

โดยขณะนี้รัฐบาลของหลายประเทศในภูมิภาคต่างได้ริเริ่มส่งเสริมและจัดทำแนว ปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับเรื่อง สิทธิมนุษยชน ให้แก่ภาคเอกชนผ่านทางหน่วยงานต่างๆ อาทิ ตลาดหลักทรัพย์ หน่วยงานกำกับดูแลด้านการลงทุน องค์การด้านสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อย่างไรก็ดี เนื่องจากแต่ละประเทศ มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน มีฐานการประกอบอุตสาหกรรมและรูปแบบของวิสาหกิจที่หลากหลายไม่เหมือนกัน จึงจำเป็นต้องมีแนวการศึกษาที่แสดงให้เห็นภาพรวมและเน้นการปฏิบัติได้จริงใน ประเด็น CSR ที่สัมพันธ์กับเรื่องสิทธิมนุษยชน รวมทั้งความพยายามในการทำความเข้าใจสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่มีลักษณะ เฉพาะของแต่ละประเทศสมาชิก ตลอดจนการหาบรรทัดฐานในการจัดทำแนวปฏิบัติร่วมกันในอนาคต

หน้าที่ของรัฐต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (State Duty to Protect) อาทิ การกำหนดนโยบายคุ้มครอง การแก้ไข และการลงโทษการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจที่มี ประสิทธิภาพ การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชนในประเทศที่ไปลงทุนทำกิจการ การให้หน่วยงานภาคธุรกิจตระหนักถึงพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐ การเคารพสิทธิมนุษยชนในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ การดำเนินการให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชนในการทำธุรกรรมทางการค้า ฯ

หน้าที่ของบรรษัทในการเคารพสิทธิมนุษยชน (Corporate Responsibility to Respect) อาทิ การมีนโยบายและกระบวนการในการป้องกัน บรรเทา และแก้ไขผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากกิจกรรมของภาคธุรกิจ การให้ผู้บริหารสูงสุดของภาคธุรกิจแสดงพันธกรณีที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชน การให้มีการตรวจสอบผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินธุรกิจของตน และให้มีการตอบสนองผลกระทบนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ การให้มีการสื่อสารกับสาธารณชนเมื่อมีข้อกังวลเกิดขึ้น การเข้าถึงการเยียวยา (Access to Remedy) อาทิ การให้รัฐดำเนินการช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิให้ได้รับการเยียวยาผ่าน มาตรการด้านการบริหารและกระบวนการยุติธรรม การส่งเสริมประสิทธิภาพของกลไกกระบวนการยุติธรรมให้สามารถเยียวยาผู้ถูก ละเมิดสิทธิได้อย่างมีประสิทธิภาพ การอำนวยความสะดวกให้เข้าถึงกลไกการเยียวยาอื่นๆ ที่มิใช่ของรัฐ เช่น กลไกของสมาคมธุรกิจอุตสาหกรรม การให้ภาคธุรกิจสร้างกลไกเยียวยาทั้งในระดับบุคคลและในระดับชุมชน

จะเห็นได้ว่า เรื่องสิทธิมนุษยชนกับภาคธุรกิจ เป็นประเด็นที่สหประชาชาติกำลังให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก จนมีการผลักดันให้มีการจัดทำและรับรองหลักการแนวทางดังกล่าว เพื่อให้ประเทศต่างๆได้นำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ของประชาชน มิให้ถูกละเมิดจากการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นประเด็นที่ภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทยให้ความสำคัญ อยู่ในขณะนี้เช่นกัน โดยประเทศไทยได้สนับสนุนและร่วมให้การรับรองหลักการแนวทางตามกรอบ "Protect, Respect and Remedy" ดังกล่าวนี้แล้ว

จากนี้ไป ภาคธุรกิจไทย คงจะต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานที่ส่งผลต่อประเด็น CSR ที่สัมพันธ์กับเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง และเตรียมมาตรการ กลไกการดำเนินงานที่สนองตอบต่อหลักการแนวทางสำหรับการนำไปปฏิบัติตามกรอบ "คุ้มครอง เคารพ และเยียวยา" ที่ทั้งสหประชาชาติ อาเซียน และประเทศไทยเอง ได้ให้การรับรองและสนับสนุน ไม่ช้าก็เร็ว

นิภัทร สันติสัตยพรต 5501680994

หมายเลขบันทึก: 568297เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท