กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย

โทษ ประหารชีวิตนั้นเป็นบทลงโทษลักษณะหนึ่งที่มีความรุนแรงที่สุดของโทษทางอาญา ของประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งไทยเป็นเพียง 1 ใน 58 ประเทศทั่วโลกเท่านั้นที่ยังมีโทษประหารชีวิต จึงเป็นที่น่าพิจารณาว่าเหตุใดประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีการยกเลิกโทษดังกล่าว แต่เหตุใดยังคงมีบางประเทศที่กำหนดโทษดังกล่าวไว้

การ กำหนดบทลงโทษต่างๆแก่ผู้กระทำผิดนั้นมีวัตถุประสงค์ตามทฤษฎีต่างๆหลายประการ ได้แก่ ทฤษฎีการลงโทษเพื่อทดแทนความผิด (Retributive Theory)ทฤษฎีการลงโทษแบบอรรถประโยชน์(Utilitarian Theory)ทฤษฎีการลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด (Rehabilitative Theory)และทฤษฎีการลงโทษเพื่อปกป้องคุ้มครองสังคม (Social Protection Theory)

เมื่อพิจารณาตามวัตถุประสงค์ของ การลงโทษแล้วจะพบว่าโทษประหารชีวิตนั้นสามารถบรรลุวัตถุประสงค์เพียงอย่าง เดียวคือเป็นการปกป้องคุ้มครองสังคมเพราะเป็นการกันบุคคลผู้กระทำผิดให้ออก ไปจากสังคมได้อย่างถาวร แต่ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์อื่นใดตามทฤษฎีในการลงโทษผู้กระทำผิดดังที่ ได้กล่าวมาเลย

หากพิจารณาในแง่ของการยับยั้งหรือ สร้างความกลัวให้แก่ผู้ที่คิดจะกระทำความผิดรายหลัง ก็จะพบว่าการกำหนดให้มีโทษดังกล่าวนั้นมิได้ทำให้การกระทำความผิดลดน้อยลง แต่อย่างใดอันมีปรากฏในงานวิจัยทางวิชาการจากหลายประเทศ

ทั้งเมื่อพิจารณาตามหลักสิทธิมนุษยชนก็ จะพบว่าเป็นวิธีการลงโทษที่กระทบโดยตรงต่อสิทธิในการมีชีวิตอันเป็นสิทธิ ขั้นพื้นฐานที่บุคคลทุกคนต้องมีในฐานะที่เกิดเป็นมนุษย์ อันเป็นสิทธิที่ไม่สามารถถูกผู้ใดพรากไปได้หรือแม้แต่ตัวผู้ทรงสิทธิเองก็ ไม่อาจสละสิทธิในการมีชีวิตไปได้เช่นกัน แม้ว่าบุคคลผู้ต้องโทษประหารชีวิตนั้นต้องเป็นบุคคลที่กระทำความผิดรุนแรง แต่คำจำกัดความของคำว่าความผิดที่รุนแรงนั้นก็มีความแตกต่างกันไปในแต่ละ ประเทศแต่ละสังคม อันเป็นเพียงการกำหนดขึ้นของผู้มีอำนาจในการตรากฎหมาย

จึงเป็นที่น่า พิจารณาเป็นอย่างยิ่งว่าบุคคลเหล่านั้นมีสิทธิที่จะกำหนดบทลงโทษที่มองข้าม สิทธิในการมีชีวิตของมนุษย์อันเป็นคุณค่าขั้นพื้นฐานของมนุษย์ได้หรือไม่ 

นิภัทร สันติสัตยพรต 5501680994

หมายเลขบันทึก: 568294เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท