กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


<p></p><p>หากกล่าวถึงกฎหมายระหว่างประเทศอันว่าด้วยเรื่องของสิทธิมนุษยชนในประเทศ ไทยนั้นย่อมหมายความได้ถึงบรรดาอนุสัญญาต่างๆที่ไทยนั้นเข้าร่วมเป็นภาคี แต่ก่อนที่จะได้ทราบถึงอนุสัญญาอันมีความเกี่ยวเนื่องกับสิทธิมนุษยชนนั้น ข้าพเจ้าจะขออธิบายรากฐานหรือที่มาในการเกิดขึ้นของอนุสัญญาต่างๆ โดยรากฐานนั้นเกิดขึ้นมาจาก “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” ซึ่งได้รับการรับรองจากสมัชชาที่ประชุมใหญ่แห่งองค์กรสหประชาชาติ ทั้งนี้แม้ว่าปฏิญญาดังกล่าวนั้นจะยังมีข้อถกเถียงกันในเรื่องของสถานะอยู่ ว่า จะอยู่ในฐานะของสนธิสัญญาหรือในฐานะของกฎหมายจารีตประเพณี แต่ย่อมกล่าวได้ว่า ปฏิญญาฉบับดังกล่าวนั้นเป็นหลักสำคัญที่องค์กรสหประชาชาตินำมายกร่างเป็น อนุสัญญาหลักขององค์กรสหประชาชาติเพื่อคุมครองสิทธิมนุษยชนสำหรับประเทศทั่ว โลกซึ่งย่อมรวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน</p><p> ทั้งนี้อนุสัญญาระหว่างประเทศนั้นประกอบด้วยอนุสัญญาทั้งหมด 9 ฉบับ 7 ฉบับโดยประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีแล้ว 7 ฉบับ ได้แก่ (1) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(ICCPR) (2) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม(ICCSCR) (3) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ(CEDAW) และพิธีสารเลือกรับเรื่องการรับข้อร้องเรียน (4) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก(CRC) และพิธีสารเลือกรับทั้ง 2 ฉบับ เรื่องความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันทางกำลังอาวุธ และเรื่องการค้าเด็ก โสเภณีเด็กและสื่อลามกเด็ก (5) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ(CERD) (6) อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี(CAT) และ (7) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ(CRPD) [1] ทั้งนี้ยังมีอนุสัญญาอีกทั้งหมด 2 ฉบับที่ไทยนั้นยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีกล่าวคือ อนุสัญญาว่าด้วยการ คุ้มครองสิทธิแรงงานอพยพและสมาชิกในครอบครัว(CMW) และ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมิให้บุคคลหายสาบสูญโดยถูก บังคับ(ICPPED)ซึ่งอนุสัญญาในฉบับหลังนี้ไทยนั้นได้เข้าลงนามแล้วแต่ยังมิ ได้มีการให้สัตยาบัน</p><p> โดยทั้งนี้ข้าพเจ้าจะขอหยิบยกอนุสัญญาที่พบว่าสามารถนำมาบังคับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาอันพบเห็นได้มากในประเทศไทย กล่าวคือ </p><p>1. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง2 โดย สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับรองกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2509 และมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2519 </p><p>ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง โดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 โดยมีผลใช้บังคับกับประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2540 ทั้งนี้จะขอกล่าวถึง กรณีการเลือกถิ่นที่อยู่ของบุคคลใดๆ โดยในข้อ 12 ในข้อย่อยที่ 1 และ ที่ 2 ได้วางหลักว่า</p><p>1. บุคคลทุกคนที่อยู่ในดินแดนของรัฐใดโดยชอบด้วยกฎหมาย ย่อมมีสิทธิในเสรีภาพในการโยกย้าย และเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในดินแดนของรัฐนั้นๆ</p><p>2. บุคคลทุกคนย่อมมีเสรีที่จะออกจากประเทศใด ๆ รวมทั้งประเทศของตนได้</p><p> โดยเนื้อหาดังกล่าวนั้นจะเห็นได้ว่ามีการนำเนื้อหาจากปฏิญญาสากลว่าด้วย สิทธิมนุษยชนในข้อ 13 กล่าวคือ (1) ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการเคลื่อนย้ายและการอยู่อาศัยภายในพรมแดนของแต่ ละรัฐ </p><p> (2) ทุกคนมีสิทธิที่จะออกนอกประเทศใด รวมทั้งประเทศของตนเอง และสิทธิที่จะกลับสู่ประเทศตน </p><p> เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นอยู่ที่บุคคลซึ่ง อยู่ในสถานะของผู้หนีภัยความตายโดยเมื่อไทยนั้นมิได้เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญา ว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย ย่อมส่งผลให้การกระทำอันมีต่อผู้หนีภัยความตายนั้นอยู่ภายใต้ข้อบังคับที่ รัฐไทยนั้นเป็นผู้กำหนดแต่เพียงผู้เดียวแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตามสภาพของผู้หนี ภัยความตายดังที่ได้มีการพิจารณาไว้แล้วในกระทู้ก่อนๆนั้นสามารถกล่าวโดย คร่าวๆอันมีความเกี่ยวเนื่องกับสภาพปัญหาที่จะพิเคราะห์กล่าวคือ กรณีที่มีการตั้งค่ายให้กับผู้หนีภัยความตายโดยวางข้อบังคับว่ามิให้ผู้หนี ภัยความตายนั้นออกจากค่ายดังกล่าวโดยแม้จะได้มีการจดทะเบียนอย่างถูกกฎหมาย ในการกำหนดสถานะของบุคคลกลุ่มดังกล่าวแต่ความถูกกฎหมายนั้นจะดำรงอยู่ได้ เพียงในค่ายที่จัดให้เท่านั้น ซึ่งหากบุคคลกลุ่มดังกล่าวได้ออกนอกค่ายไป รัฐไทยก็ได้กำหนดให้บุคคลนั้นอยู่ในสถานะของบุคคลผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ในทันที โดยเมื่อพิจารณาจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ เมืองแล้วนั้นเห็นได้ว่าการจำกัดให้บุคคลกลุ่มดังกล่าวอยู่แค่เพียงในค่าย นั้นย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติในข้อที่ 12 อย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือเป็นการขัดต่อสิทธิในการเลือกถิ่นอาศัย </p><p> แต่หากประเทศไทยนั้นยอมกระทำตามบทบัญญัติในอนุสัญญาโดยการปล่อยให้บุคคลผู้ หนีภัยความตายหรือแม้แต่บุคคลผู้เข้าเมืองทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมายสามารถ เลือกถิ่นอาศัยได้อย่างเสรีโดยไม่มีข้อจำกัดแต่ประการใดๆก็ย่อมทำให้เกิด ปัญหาขึ้นในด้านต่างๆอาทิเช่น ด้านสังคมหรือด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น เช่นปัญหาของการทะลักเข้ามาอยู่อาศัยของบุคคลสัญชาติอื่นอันมีผลกระทบต่อ ทรัพยากรอันมีจำกัดในประเทศไทย อีกทั้งเมื่อบุคคลดังกล่าวนั้นมิได้เป็นหนึ่งในบุคคลากรที่จะทำประโยชน์ให้ กับประเทศ ย่อมนำมาซึ่งปัญหาเศรษฐกิจโดยทั้งนี้อาจรวมถึงปัญหาอาชญากรรมที่มีความ เสี่ยงว่าจะเพิ่มขึ้นอีกด้วย ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าการให้เสรีภาพในการเลือกถิ่นอาศัยนั้นจำต้องให้เสรีภาพ แต่พอดีเพื่อให้เกิดความสมดุลขึ้นระหว่างประโยชน์ของประเทศและหลักมนุษยธรรม ในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทั้งนี้จะขอยกตัวอย่างอาชีพหรือสถานะของบุคคลต่างสัญชาติที่ข้าพเจ้าเห็นว่า ควรจะมีการยกเว้นไม่จำต้องมีการขออนุญาติในสิทธิของการเดินทางหรือการย้าย ถิ่นอาศัย กล่าวคือ ปัญหาของแรงงานต่างด้าว ซึ่งนับเป็นอาชีพหนึ่งที่คนต่างสัญชาตินั้นเข้าทำเป็นจำนวนมาก ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าการเข้ามาทำแรงงานนั้นย่อมส่งผลในทางที่เป็นประโยชน์กับ ประเทศไทยในด้านเศรษฐกิจซึ่งย่อมทำให้เกิดความก้าวหน้าแก่ประเทศไทยเป็น อย่างมาก โดยข้อดีของการอนุญาติให้คนต่างด้าวนั้นสามารถทำงานและย้ายถิ่นได้อย่างเสรี นั้นย่อมรวมถึงประสิทธิภาพของบุคคลที่ทำงานด้วยกล่าวคือเมื่ออนุญาติให้เป็น การกระทำมี่ถูกกฎหมายแล้วนั้นบุคลากรที่เข้ามาทำงานนั้นย่อมมีประสิทธิภาพ มากขึ้นเนื่องจากมีการตรวจสอบอันย่อมส่งผลให้ปราศจากการลักลอบบุคคลผู้ไม่ ได้รับการตรวจสอบเข้ามาซึ่งย่อมทำให้เกิดผลเสียมากกว่าจะเป็นผลดี กรณีต่อมาคือสถานะความเป็นนักศึกษาในเรื่องของการศึกษาต่อโดยข้าพเจ้าเห็น ว่า การศึกษาต่อนั้นย่อมส่งผลในระยะยาวในการเกิดบุคลากรที่มีประสิทธิภาพการ จำกัดสิทธิในการเดินทางนั้นย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ควรจำกัดไว้ ทั้งนี้ยังมีสิทธิในการรักษาพยาบาลข้าพเจ้าเห็นว่าไม่ควรมีการจำกัดไม่ให้ บุคคลเข้ารักษาในโรงพยาบาลต่างๆโดยในที่นี้ข้าพเจ้าเห็นว่าย่อมมีความเกี่ยว เนื่องกับสิทธิในการมีชีวิตอยู่และสิทธิในชีวิตซึ่งให้การรับรองไว้ในปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในข้อ 3 กล่าวคือทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งบุคคล </p><p> ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเห็นว่าการจำกัดมิให้บุคคลต่างสัญชาตินั้นไม่มีสิทธิใน การเดินทางหรือย้ายถิ่นอาศัยเลยเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งทางแก้นั้นเห็นว่าควรมีการจำแนกและคัดเลือกเป็นกลุ่มว่าจะมีการอนุญาติ หรือไม่โดยอาจพิจารณาความมุ่งหมายหรือหขุดประสงค์ที่ทำให้มีการเข้ามาของ บุคคลต่างสัญชาติดังกล่าว</p><p>2. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ3เป็นอนุสัญญาที่ประเทศไทยนั้นได้ ร่วมเป็นแกนนำในการยกร่าง เจรจา ลงนามรับรอง รวมทั้งได้ให้สัตยาบันต่อ “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ” (Convention on the Rights of Persons with Disabilities ,CRPD) ไปเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 โดยมีสาระสำคัญในประการหนึ่งคือ การประกันสิทธิขั้นพื้นฐานหรือสิทธิมนุษยชนให้แก่คนพิการ โดยประเด็นปัญหาที่ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงนั้นเป็นประเด็นที่สืบเนื่องมาเป็น เวลานานโดยยังมิได้มีการแก้ไขให้เป็นไปในลักษณะที่เป็นรูปธรรมกล่าวคือปัญหา ขอทานที่เห็นได้เป็นจำนวนมากตามแหล่งชุมชนต่างๆในประเทศไทย ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าปัญหาดังกล่าวนั้นเป็นปัญหาที่สร้างผลกระทบให้แก่ภาพ พจน์ภายในประเทศรวมทั้งปัญหาสภาพสังคมที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ทั้งนี้การขอทานนั้นจะพบได้มากในหมู่ของบุคคลผู้มีความพิการอันเนื่องด้วย เหตุผลที่ว่าการที่จะได้รับความช่วยเหลือมากหรือน้อยนั้นอยู่ที่ระดับของ ความสงสาร โดยเป็นที่ทราบกันดีว่ากลุ่มบุคคลที่จะได้รับความสงสารมากนั้นย่อมเป็นกลุ่ม บุคคลซึ่งมีความแตกต่างไปจากคนปกติซึ่งย่อมนำไปสู่กลุ่มบุคคลผู้มีความพิการ นั่นเอง โดยจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นข้าพเจ้าจะขอยกบทบัญญัติในอนุสัญญาออกมา 2 ข้อ กล่าวคือข้อ 15 เสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการลงโทษ หรือการปฏิบัติที่โหดร้าย </p><p>ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี</p><p> 2. ให้รัฐภาคีดำเนินมาตรการทั้งปวงทางกฎหมาย ทางปกครอง ทางศาล หรือ มาตรการอื่นๆ ที่มีประสิทธิผล เพื่อป้องกันคนพิการจากการเป็นเหยื่อของ การกระทำทรมาน ปฏิบัติ หรือลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกับบุคคลอื่น</p><p>และข้อ 16 กล่าวคือ เสรีภาพจากการถูกแสวงประโยชน์การใช้ความรุนแรง และการล่วงละเมิด</p><p> 1. ให้รัฐภาคีดำเนินมาตรการทั้งปวงทางกฎหมาย ทางปกครอง สังคม การศึกษา และมาตรการอื่นที่เหมาะสมทั้งปวง เพื่อคุ้มครองคนพิการทั้งภายในและนอก เคหสถานจากการถูกแสวงประโยชน์ การใช้ความรุนแรง และการล่วงละเมิด ในทุกรูปแบบ รวมถึงการกระทำเช่นว่าบนพื้นฐานของเพศสภาพ</p><p> โดยจากสภาพปัญหาที่ออกตามสื่อนั้นที่เห็นได้อย่างเด่นชัดสามารถจำแนกกลุ่ม บุคคลที่มาขอทานได้เป็นประการ กล่าวคือ ผู้ที่มานั่งขอทานเอง และ ผู้ที่ถูกบังคับจากกลุ่มมิจฉาชีพให้มานั่งขอทานเพื่อสร้างรายได้ให้กับตน ในส่วนของกลุ่มของผู้พิการที่ถูกบังคับมา การกระทำดังกล่าวนั้นจากที่ข้าพเจ้าได้ทราบจากการนำเสนอโดยสื่อมวลชนอาทิ เช่น การนำเสนอข่าวจากศูนย์ข่าวศรีราชา กล่าวคือ พดส.ภ.2 ได้ทำการจับกุม 1 ชาวไทย 2 ชาวพม่า ตั้งแก๊งนำเด็กพิการออกมาเร่ร่อนขอทานในเมืองพัทยา ก่อนขยายผลรวบอีกหลายแก๊งที่ยังมีอยู่ในเมืองพัทยา
วันนี้ (14 ก.ย.) เจ้าหน้าที่ตำรวจศูนย์พิทักษ์เด็ก เยาวชน และสตรี ตำรวจภูธรภาค 2 (พดส.ภ.2) ได้จับกุมตัว 3 ผู้ต้องหาที่ร่วมกันนำเด็กพิการวัย 12 ปี มาเร่ขอทานในเมืองพัทยา ประกอบด้วย นายอารีย์ พูลศิริ อายุ 31 ปี นางลักขณา อายุ 26 ปี ชาวพม่า และนางรินดา อายุ 25 ปี ชาวพม่า
การจับกุมดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับแจ้งจากชาวบ้าน ว่า มีบุคคลนำเด็กพิการมาเร่ขอทานบริเวณริมชายหาดเมืองพัทยา จึงออกตรวจสอบซึ่งก็พบเด็กชายวัย 12 ปี สภาพพิการทางกระดูกกำลังนั่งขอทาน โดยมีนางลักขณา และนางรินดา ทำหน้าที่เดินวนเวียนอยู่ใกล้ๆ และเมื่อเด็กชายคนดังกล่าวหาเงินได้ก็จะเดินมาเก็บเงินในทันที และหลังเลิกงานจะมีนายอารีย์ พูลศิริ ซึ่งเป็นชาวไทยมารับตัวกลับที่พัก
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวทั้งหมด พร้อมยึดของกลางเป็นเงินเหรียญกว่า 2,000 บาทไว้ และจะเร่งขยายผลจับกุมแก๊งมิจฉาชีพเหล่านี้ที่ยังมีอยู่ในเมืองพัทยาอีกเป็น จำนวนมาก[4] ดังนี้จะเห็นว่ามีการกระทำเป็นกระบวนการซึ่งขั้นตอนในการปฏิบัติงานคือการนำ ผู้พิการนั้นมานั่งไว้ตามแหล่งชุมชนและเมื่อกำหนดเวลาได้พอสมควรแล้วก็จะมี การเก็บเงินขอทานนั้นให้กับตน ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่ข้าพเจ้าเห็นว่ารัฐนั้นยังมิได้มีมาตรการที่ เข้มงวดในการจัดการแต่อย่างใดอันเป็นการขัดต่ออนุสัญญาในข้อ 16 กล่าวคือรัฐนั้นจะต้องให้การคุ้มครองจากการแสวงหาประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรม ทั้งนี้ยังปรากฎข้อเท็จจริงที่ว่าผู้พิการดังกล่าวถูกกระทำทารุณกรรมอย่าง ร้ายแรงเนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าความน่าสงสารนั้นจะนำไปสู่เงินที่จะได้รับจาก การขอทานมากยิ่งขึ้นซึ่งรัฐไทยนั้นจำต้องรับเรื่องดังกล่าวมาแก้ไขอย่างรวด เร็วโดยทั้งนี้ย่อมกระทบถึงสิทธิในการมีชีวิตอยู่และสิทธิในร่างกายตามที่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้การคุ้มครองด้วย โดยตามแนวทางแก้ไขนั้นในอนุสัญญาฉบับดังกล่าวได้มีการวางแนวทางไว้ดังนี้ กล่าวคือข้อ 3. เพื่อป้องกันมิให้เกิดการถูกแสวงประโยชน์การใช้ความรุนแรง และ การล่วงละเมิด ให้รัฐภาคีประกันว่าสิ่งอำนวยความสะดวก และโปรแกรม ที่ออกแบบเพื่อให้บริการคนพิการจะต้องได้รับการตรวจสอบอย่างมีประสิทธิผล จากหน่วยงานอิสระ</p><p> และข้อ4. ให้รัฐภาคีดำเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวงในการส่งเสริมการฟื้นคืน การฟื้นฟู สมรรถภาพทางร่างกาย จิตใจ และการรับรู้และการคืนสู่สังคมของคนพิการ ซึ่งตกเป็นเหยื่อของการถูกแสวงประโยชน์ การใช้ความรุนแรง และการล่วงละเมิด ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ รวมถึงโดยการจัดให้มีบริการให้ความคุ้มครองการฟื้นคืน และการคืนสู่สังคมเช่นว่านั้นจะต้องเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี การเคารพตนเอง ศักดิ์ศรีและการอยู่ได้ด้วยตนเองของบุคคล และคำนึงถึงความต้องการจำเป็นเฉพาะตามเพศสภาพและวัยของบุคคลด้วย</p><p> กล่าวโดยรวมคือหากมีการพบเห็นผู้ที่มาขอทานและรัฐนั้นได้จับกุมบุคคลผู้ที่ อยู่เบื้องหลังกระบวนการได้แล้วนั้นแม้ว่าจะมีการดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าว ก็ย่อมต้องหันมาให้ความช่วยเหลือผู้ที่พิการด้วยกล่าวคือโดยสาระสำคัญนั้น คือการให้บุคคลกลุ่มดังกล่าวสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเช่าเดียวกับบุคคลทั่ว ไป โดยการฟื้นฟูดังกล่าวจำต้องพัฒนาจากตัวบุคคลทั่วไปในสังคมด้วยกล่าวคือการ เปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่ว่าคนพิการนั้นก็นับเป็นบุคคลธรรมดาเช่นเดียวกับเรา แม้ว่าประสิทธิภาพทางร่างกายจะแตกต่างจากเราไปบ้างแต่หากเข้ามาดูแลและจัด สรรในกลุ่มคนพิการได้อย่างสมบูรณ์รวมไปถึงการพัฒนาศักยภาพคนพิการเช่นใน เรื่องของการศึกษาหรือในเรื่องของการทำงานเป็นต้นแล้วนั้นก็ย่อมส่งผลให้ผู้ พิการนั้นสามารถใช้ศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา ประเทศอีกด้วย </p><p> จากที่กล่าวมานั้นคือส่วนหนึ่งของอนุสัญญาที่มีความเกี่ยวข้องกับสภาพปัญหา ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยโดยทั้งนี้อนุสัญญาที่ไทยนั้นยังมิได้เข้าร่วมเป็น ภาคีอันได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิแรงงานอพยพและ สมาชิกในครอบครัว(CMW) และ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมิให้บุคคลหายสาบสูญโดยถูก บังคับ(ICPPED)</p><p> โดยในอนุสัญญาแรกนั้นกล่าวคือ อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครอง สิทธิแรงงานอพยพและสมาชิกในครอบครัว(CMW) มีสาระสำคัญในการให้ความคุ้มครองแก่คนงานอพยพและครอบครัว ทั้งนี้มิได้มีการร่างสิทธิใดๆขึ้นใหม่แต่เป็นเพียงการรับรองสิทธิมนุษยชน ของบรรดาครอบครัวและแรงงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งเนื่องด้วยไทยนั้นเห็นว่าหากมีการเข้าเป็นภาคีแล้วนั้นอาจทำให้ข้อ บังคับเช่นกรณีของการจำกัดสิทธิในการออกจากค่ายนั้นถูกถอนไป หรือกระทั่งการจำกัดสิทธิในการทำอาชีพเป็นต้น ทั้งนี้ข้าพเจ้าเห็นว่าอนุสัญญาดังกล่าวรัฐไทยนั้นควรเข้าเป็นภาคีเนื่อง จากอนุสัญญานั้นก็มิได้กำหนดอะไรไว้ในการสร้างสิทธิพิเศษเพิ่มเติมให้กับ กลุ่มบุคคลดังกล่าวโดยเป็นเพียงการรับรองสิทธิมนุษยชนที่ถูกกำหนดไว้ใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งไทยนั้นก็ได้เข้าร่วมในการลงนามไว้อยู่ แล้ว อีกทั้งการจำกัดดังกล่าวที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในข้างต้นนั้นข้าพเจ้าก็เห็น ว่าเป็นการขัดต่อสิทธิมนุษยชนทั้งด้านเสรีภาพในการเดินทางรวมถึงเสรีภาพใน การเลือกอาชีพ การที่รับเอาอนุสัญญาเข้ามาบังคับใช้นั้นก็จะช่วยให้การเรียกร้องที่ชอบนั้น เป็นไปในลักษณะที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น กล่าวโดยสรุปคือข้าพเจ้าเห็นว่ารัฐไทยควรเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาฉบับดัง กล่าวเพื่อรักษาความถูกต้องตามหลักสิทธิมนุษยชน</p><p> ในอนุสัญญาฉบับต่อมากล่าวคืออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมิให้ บุคคลหายสาบสูญโดยถูกบังคับ(ICPPED) โดยสาระสำคัญเพื่อให้รัฐนั้นคุ้มครองบุคคลในฐานะมนุษย์ที่จะไม่ถูกลักพาตัว โดยรัฐมีส่วนเกี่ยวข้องหรือถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายรวมถึงการปฏิเสธ สิทธิของผู้ต้องหาในการได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายโดยส่วนมากจะเป็น ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและรัฐบาล ซึ่งอนุสัญญาฉบับนี้ไทยนั้นได้ร่วมลงนามเป็นที่เรียบร้อยแล้วเหลือแต่เพียง การเข้าให้สัตยาบันเพื่อนำไปสู่ความเป็นภาคี ข้าพเจ้าเห็นว่าควรมีการเข้าเป็นภาคีเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่ ลำพังเพียงการใช้กฎหมายภายในประเทศนั้นจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เนื่องมาจาก ต้นตอของปัญหานั้นเกิดจากบุคคลที่เรียกได้ว่าเสมือนเป็นผู้ที่ควบคุมประเทศ ในส่วนหนึ่งดังนั้นความเป็นสากลจึงต้องเข้ามามีบทบาทในเรื่องดังกล่าวอาทิ เช่น ผู้สูญหายมักถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหา ความมั่นคงของประเทศ ข้อเท็จจริงของการหายสาบสูญ โดยถูกบังคับมักเกิดขึ้นในช่วงที่มีมาตรการพิเศษเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย และรักษาความปลอดภัยของรัฐในภาวะที่เกิดกบฏหรือการจลาจล ในบางกรณีเกิดขึ้นในภาวะที่รัฐใช้กฎอัยการศึก หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินของรัฐ จากรายงานขององค์การนิรโทษสากล ได้ระบุว่า การท าสงครามต่อต้านการก่อการร้ายมีบทบาทสำคัญทำให้หลักการสิทธิมนุษยชนระหว่าง ประเทศถูกบั่นทอนลงมากกว่า จะมีส่วนช่วยในการปราบปรามผู้ก่อการร้าย นอกจากนี้อาจเกิดการจลาจล การปราบปรามเจ้าหน้าที่ของรัฐ การจับกุมควบคุมตัวโดยมิชอบ และการซ้อมทรมาน หรือ กรณีความขัดแย้งด้านผลประโยชน์กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้มีอิทธิพลที่มี ความเชื่อมโยงกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือกรณีที่ผู้สูญหายเกี่ยวข้องหรือรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความผิดของ เจ้าหน้าที่ หรือกรณีที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าบุคคลนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด อาชญากรรม หรือสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ เป็นต้น[5]</p><hr><p>[1] สิทธิมนุษยชน Human Rights.” .[ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.mfa.go.th/humanrights/news/1-latest- news/167–thailand-signs-the-international-convention-on-the-protection-of-all-persons-from- enforced-disappearance. สืบค้น 21 เมษายน 2557</p><p>[2] กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ ทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR).” .[ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/ic… . สืบค้น 21 เมษายน 2557.</p><p>[3] อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ.” .[ออนไลน์] แหล่งที่มา://neppr56.nep.go.th/claimอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคน พิการ-crpd (21 เมษายน 2557).</p><p>[4] ASTVผู้จัดการออนไลน์. “พดส.ภ.2 รวบชาวไทย-2 พม่า นำเด็กพิการออกเร่ร่อนขอทานในพัทยา” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://w3.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID… สืบค้น 21 เมษายน 2557.</p><p>[5] คำรณ สุขบาล. “อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลจากการสาบสูญโดยถูกบังคับ ค.ศ. 2006” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://phuket-law.com/file/fff.pdf. สืบค้น 21 เมษายน 2557.</p><p> ประเทศไทยได้จัดทำรายงานฉบับแรกของกติการะหว่างประเทศ ICCPR เสร็จลุล่วงลงแล้ว และได้ส่งรายงานไปเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2547 การจัดทำรายงานดังกล่าวดำเนินการโดยสำนักอัยการสูงสุดซึ่งมีลักษณะของ การชี้แจงการปฏิบัติให้เกิดสิทธิตามกติกาฉบับนี้ของประเทศไทย ตั้งแต่เหตุผลในการจัดทำถ้อยแถลงตีความและการดำเนินการทำให้เกิดสิทธิทั้ง 27 ข้อของกติกาในเรื่องต่างๆ เช่น การกำหนดเจตจำนงของตนเอง การประกันสิทธิภายในเขตอำนาจโดยปราศจากการแบ่งแยกความเท่าเทียมกันของชายและ หญิง การประกาศใช้ภาวะฉุกเฉินภายในประเทศ การตีความของกติกา สิทธิที่จะมีชีวิตและยกเลิกโทษประหาร การถูกทรมานลงโทษที่โหดร้าย สิทธิการชุมนุมโดยสงบ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการชี้แจงด้วยวาจาไปแล้ว เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งจากการสรุปบทเรียนของการทำรายงานประเทศ ICCPR และรายงานประเทศฉบับอื่นๆเพื่อรายงานต่อสหประชาชาติพบว่า การทำรายงานฉบับ ดังกล่าวค่อนข้างเป็นภารกิจที่ค่อนข้างยุ่งยากและเป็นสิ่งใหม่สำหรับหน่วย งานต่างๆ เนื่องจากในระยะแรกยังไม่มีการกำหนดแนวทาง ขั้นตอนและวิธีการไว้อย่างเป็นระบบ อีกทั้งในการเขียนรายงานระยะแรกมักมอบให้ผู้เชี่ยวชาญที่เชี่ยวชาญภาษาต่าง ประเทศเป็นผู้เขียนทำให้ขาดการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง และไม่มีโอกาสได้รับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาสังคม เนื่องจากกรอบระยะเวลาที่จะต้องส่งรายงานค่อนข้างมีความกระชั้นชิด</p><p> ในขณะนี้ประเทศไทยกำลังจัดทำรายงานประเทศฉบับที่สอง ซึ่งต้องรายงานสถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ในช่วงปี พ.ศ. 2548-2551 ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับภาวะของการทดสอบหลายประการด้วยกัน ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ในยุคโลกาภิวัตน์ ตั้งแต่วิกฤติสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต่อเนื่องมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน วิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองที่มีการแบ่งฝักฝ่ายและมีความขัดแย้งกันอย่าง ชัดเจน นอกจากนี้เหตุการณ์รัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองที่มีความโน้มเอียงที่จะเสี่ยงต่อการเกิด สถานการณ์ความรุนแรงระหว่างฝ่ายที่เห็นต่างซึ่งกันและกัน ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่ง นำมาสู่ข้อกังวลจากภาคประชาสังคมว่าการใช้กฎหมายพิเศษดังกล่าวจะกระทบ กระเทือนถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉินของรัฐบาลในสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และความขัดแย้งทางการเมืองในห้วงเวลาที่ผ่านมา
ที่มา
http://www.deepsouthwatch.org/ms/node/2336
</p><p>http://www.sanehchamarik.in.th/attachments/028_220…</p><p>http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.ryt9.com/s/mfa/415996/
</p><p>นิภัทร สันติสัตยพรต 5501680994
</p>

หมายเลขบันทึก: 568295เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 15:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท