ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก


     ปัญหาของชาว โรฮิงญา นั้นถือได้ว่าเป็นปัญหาที่เห็นได้เด่นชัดมากในเรื่องปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมกับโลกเพราะชาวโรฮิงญาเป็นกลุ่มคนที่ประเทศพม่าไม่ยอมรับพวกเค้าเหล่านั้นจึงต้องอพยพไปในหลายๆประเทศเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งปัญหานี้ก็ส่งผลกระทบต่อหลายๆประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย

     โรฮิงญา (1)เป็นกลุ่มชนบริเวณชายแดนฝั่งพม่าที่พูดภาษจิตตะกอง-เบงกาลี และนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งรับบาลพม่าปฏิเสธสถานภาพพลเมืองของชาวโรฮงญา ส่งผลให้ชาวโรฮิงญาจำนวนมาต้องอพยพลี้ภัยไปยังประเทศอื่นเพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า

     มักมีคนเข้าใจผิดว่าชาวโรฮิงญาคือกลุ่มเดียวกับ อาระกัน จริงๆแล้วชาวโรฮิงญากับชาวอาระกันเป็นคนละกลุ่มกัน เนื่องจากชาวอาระกันมากจากรัฐอาระกันหรือรัฐยะไข่ของพม่า ส่วนชาวโรฮิงญา มาจากเมืองจิดตะกองของบังกลาเทศ ทั้งสองกลุ่มเป็นพวกเชื้อสายเดียวกัน พูดภาษาเดียวกัน จึงเป็นเหตุผลว่ามีหลายคนที่แยกสองกลุ่มนี้ไม่ออก จะแตกต่างกันที่สัญชาติเพราะอยู่ตนละประเทศ แต่นับถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วชาวโรฮิงญาจะอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐอะรากันรัฐในตอนเหนือของพม่าซึ่งติดกับชายแดนประเทสบังกลาเทศ มากกว่าอาศัยอยู่ในบังกลาเทศ

     สาเหตุที่พม่าไม่ยอมรับชาวโรฮิงญาตั้งแต่แรกเริ่มเป็นต้นมา ประเทศพม่ามองว่าพวกโรฮิงญาไม่มีความจงรักภักดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชาวโรฮิงญาบางคนต้องการสร้างรัฐอิสระขึ้นทางอะรากันตอน เหนือ และผนวกเข้ากับปากีสถาน

     ในมุมมองของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ชาวโรฮิงยาส์เป็นประชาชนที่ "ลี้ภัยอย่างผิดกฎหมาย" และอพยพมากจากประเทศบังกลาเทศในสมัยที่พม่าตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของจักรวรรดินิยมอังกฤษ ดังนั้นด้วยทัศนคติเช่นนี้ของรัฐบาลเผด็จการพม่าทำให้ประชาชนชาวโรฮิงยาส์ไม่ได้รับการรวมเข้าไปในกลุ่มชนพื้นเมือง (Indigenous groups) ในรัฐธรรมนูญพม่า ส่งผลให้ไม่ได้รับสัญชาติพม่า

     สาเหตุที่โรฮิงญาไม่สามารถอยู่ในประเทศของตนเองได้ และส่งกลับไปก็จะหนีออกมาอีกเพราะชาวโรฮิงยาส่วนใหญ่ยังคงถูกปฏิเสธสิทธิในสัญชาติภายใต้กฎหมายพลเมืองพม่าปี 2525 พวกเขาอาศัยอยู่ในรัฐระไข่ห์ ตอนเหนือ ซึ่งยังคงต้องขออนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมเพื่อออกจากหมู่บ้าน เรื่องดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการค้าขายและแสวงหางานทำ นอกจากนั้นพวกเขามักจะถูกบังคับให้เป็นแรงงานอีกด้วย

     ชาวมุสลิมโรฮิงยายังถูกจำกัดสิทธิพลเมืองอีกหลายประการ ได้แก่ ไม่มีอิสระในการเดินทาง การบังคับเก็บภาษี การยึดที่ดินและบังคับย้ายถิ่น การขัดขวางการเข้าถึงด้านสาธารณสุข ที่พักอาศัยและอาหารไม่เพียงพอ การบังคับใช้แรงงาน รวมทั้งมีข้อจำกัดในการสมรส ซึ่งส่งผลให้ชาวมุสลิมโรฮิงยาหลายพันคนอพยพไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้สถานการณ์ด้านมนุษยธรรมในภูมิภาคซับซ้อน

     จากเหตุการณ์ดังที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นทำให้ชาวโรฮิงญาต้องอพยพไปประเทศอื่นเนื่องถูกกดดันและไม่ได้รับการยอมรับจากประเทศพม่า โรฮิงญาจึงกลายเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีรัฐรับรอง และนอกจากนี้ก็ไม่มีประเทศไหนที่เต็มใจจะช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้ เพราะแต่ละประเทศก็ไม่ต้องการมีภาระมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะกับกลุ่มคนที่ไม่ใช่คนในสัญชาติของตนเอง ดังนี้ก็จะเกิดปัญหการนำเอาชาวโรฮิงญาไปค้าแรงงานทาส เนื่องจากไม่มีรัฐเจ้าของบุคคล

     สำหรับประเทศไทยในปัญหาเรื่องชาวโรฮิงญานั้น (2)ก็มีปัญหาอยู่เช่นกันกล่าวคือมีชาวโรฮิงญาอพยพหลบหนีมาไทยจำนวนมากซึ่งพอเจ้าหน้าที่ของไทยจับได้ และสื่อได้รายงานข่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่ ที่เค้าถูกพวกกระบวนการค้ามนุษย์ล่อลวงมาขาย และจากสภาพการณ์ในขณะที่พบนั้นสภาพร่างกายที่อิดโรย และน่าสงสารของชาวโรฮิงญา ประชาชนก็ต่างเห็นใจนำอาหาร เครื่องนุ่งห่มไปมอบให้ ซึ่งนั่นก็ถือเป็นน้ำใจของคนไทย ในส่วนของการที่เราจะช่วยเหลือกลุ่มชาวโรฮิงญาซึ่งอพยพมานั้นหากเป็นการช่วยเหลือในช่วงระยะเวลาที่จำกัดก็คงจะพอได้ แต่หากจะต้องรับพวกเขาให้ที่อยู่ ถิ่นฐาน นำเข้าในระบบ หางานให้ทำ ให้ค่าแรงงานขั้นต่ำเท่าคนไทย เกรงว่าหากจะต้องแบกรับแล้วประเทศไทยจะไม่สามารถทำได้เพราะหากมีนโยบายช่วยเหลือแบบนี้รับรองว่าจะต้องมีชาวโรฮิงญาจำนวนมากอพยพเข้าไทย ซึ่งประเทศไทยไม่สามารถที่จะแบกรับไว้ได้แน่นอน เพราะลำพังเองเพียงแค่ประชากรไทยเราก็ดูแลกันไม่ทั่วถึงแล้ว นอกจากนี้การรับชาวโรฮิงญานั้นอาจจะเกิดปัญาเรื่องความมั่นคงตามมาภายหลังได้

     ดังนี้ควรเร่งจัดการแก้ไขปัญหาชาวโรฮิงญาอย่างเร่งด่วนเนื่องจากชาวโรฮิงญานั้นอพยพไปในหลายประเทศและแต่ละประเทศก็ไม่ต้องการแบกรับปัญหาเหล่านี้เพราะเพียงแค่ประชากรในประเทศของตนเองบางทียังไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึงการจะไปนำกลุ่มคนที่ไม่มีสัยชาติหรือบุคคลของประเทศอื่นมาดูแลและให้สิทธิเฉกเช่นกับพลเมืองของประเทศตนเองนั้นย่อมเป็นภาระที่ไม่มีประเทศใดต้องการแบกรับไว้ และเหตุผลสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องแก้ไขปัญหาเรื่องนี้เพราะว่า ชาวโรฮิงญามักถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่นการถูกนำไปขายเป็นทาสบ้าง การถูกใช้แรงงานเยี่ยงทาสบ้าง ซึ่งหากพูดในแง่สิทธิมนุษยชนแล้วแม้เค้าจะเป็นที่ไม่สัญชาติแต่พวกเค้าก็เป็นมนุษย์ซึ่งไม่ควรได้รับการปฏิบัติที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนเยี่ยงนี้


ณัฐณิชา วัฒนสุข


อ้างอิง

(1) ความหมายของชาวโรฮิงญา เข้าถึงได้จาก :

http://www.tacdb-burmese.org/web/index.php?option=...

(วันที่ค้นข้อมูล : 14 เมษายน 2557)

(2) ปัญหาชาวโรฮิงญาในประเทศไทย เข้าถึงได้จาก :

http://www.sereechai.com/news/index.php/2013-05-01-06-34-27/2013-

05-01-07-27-26/109-2013-05-02-04-27-05 (วันที่ค้นข้อมูล : 14 เมษายน 2557)

หมายเลขบันทึก: 568287เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท