เทคโนโลยีในห้องเรียนกี่อย่างสำหรับครูหนึ่งคนถึงจะดี


ผู้เขียนบังเอิญเจอใบตารางรายงานการสอนของครูในแต่ละชั่วโมงหน้าห้องบริหารงานวิชาการ และสะดุดตามาก ๆ กับ column ที่สาม ที่จั่วหัวตารางว่า "การใช้เทคโนโลยีในห้องเรียน" และมีเครื่องหมายถูกและผิดประกอบไว้ด้วย ซึ่งก็น่าจะหมายความว่า ให้กรรมการนักเรียนด้านวิชาการเป็นผู้ "ประเมิน" การใช้ดังกล่าว

เทคโนโลยีในชั้นเรียนดังกล่าว เท่าที่พบเห็น ได้แก่ computer, visualizer (ผู้เขียนและครูผู้สอนหลายท่านชอบเรียกติดปากว่า เครื่องปิ้ง) และ audio system ซึ่งครูต้องเตรียมหัว microphone ไปเอง (เก๋ดี 555+)

ผู้เขียนฉุกคิดขึ้นมาว่า "แล้วถ้าเราไม่ได้ใช้ 3 อย่างนั้นล่ะ เราจะได้รับการประเมินรึเปล่า" เนื่องจาก ผู้เขียนอนุญาตให้นักเรียนนำ gadget ต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการค้นคว้าข้อมูล เช่น คำศัพท์ grammar point ฯลฯ  ได้ในชั้นเรียน โดยเน้นย้ำว่า นักเรียนต้องรู้จักควบคุม รับผิดชอบตัวเองให้ได้ ซึ่งนักเรียนก็แสดงสีหน้าที่ยิ้มแย้ม แววตาเป็นประกายว่า "ครูให้หนูเล่นไลน์ในห้องเรียนได้ใช่มั้ยคะ" ครูก็ตอบว่า "ใช่" แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องกำกับขอบเขตของการใข้ไว้ด้วย ดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว

อนึ่ง การนำ gadget เข้ามาใช้ในห้องเรียน สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ "ชัดเจน (มาก)" คือ ความรวดเร็วและประสิทธิผลของงาน กล่าวคือ นักเรียนรับทราบ รับรู้ เกิดข้อคำถามในประเด็นนั้น ๆ จากนั้น ครูทำหน้าที่ให้คำแนะนำ where to look not what to look ตัวอย่างเช่น เมื่อวาน (16 พ.ค. 2557) ให้นักเรียนจดคำศัพท์ที่ครูคัดเลือดออกมาจาก passage เพื่อให้นักเรียนนำไปฝึกอ่านและมาทดสอบอ่านคำศัพท์ (ย้ำ! สอบอ่าน ไม่ใช่สอบท่องคำศัพท์) นักเรียนยังลังเลอยู่ว่า "ครูให้ใช้โทรศัพท์ได้ใช่มั้ยคะ" ครูก็ตอบ "ใช่" (ใช่ ในที่นี้คือ ใช้หาความหมายของคำศัพท์นั่นแหละ) สิ่งที่ตามมาก็คือ "ครูขา มันมีความหมายหลายความหมาย" ครูก็แนะต่อว่า "ให้ดูู parts of speech ของคำนั้น ๆ แล้วก็ดูความหมายที่ตรงกับ parts of speech" ซึ่งนักเรียนก็รับทราบ และบางคนยังมีคำถามอีกว่า "ก็ parts of speech นั้นก็ยังมีหลายความหมายอีกค่ะครู" ครูก็แนะต่อ (อีกแล้ว) ว่า "ก็เขียนให้ครบก็ได้ เพื่อเป็นความรูู้เพิ่มเติม" นักเรียนก็...อ๋อออออ

สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น และถือว่าเป็นจุดที่มองข้ามไปคือ alphabetical order ก็คือ เรียงจาก A-Z ความตั้งใจของการให้นักเรียนจดคำศัพท์ลงไปตาม order นี้ก็คือ เพื่อความสะดวกในการค้นหาคำศัพท์จาก dictionary ไม่ต้องเปิดวกไปวนมา และเพื่อความสวยงาม เป็นระเบียบ ซึ่งถ้าครูผู้สอนสังเกตก็จะพบว่า เวลาที่ผู้เขียน textbooks ทั้งหลาย list คำศัพท์ไว้นั้น ก็จะเรียงตาม alphabetical order เป็นส่วนใหญ่ แม้แต่การเขียน bibliography ก็อิงตามระบบนี้เช่นเดียวกัน

รัชพล มาลาศิลป์

17 พ.ค. 2557

หมายเลขบันทึก: 568271เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2014 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท