คนต่างด้าวในประเทศไทย


คนต่างด้าวในประเทศไทย

              คำว่าคนต่างด้าวในประเทศไทยนั้นมีมากมายหลายกรณีด้วยกัน ทั้งคนต่างด้าวเข้าเมื่องผิดฎหมาย คนต่างด้าวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย หรือคนต่างด้าวที่เดินทางเข้าประเทศไทยและอยู่ชั่วคราวเป็นต้น ทั้งนี้คนต่างด้าวที่เข้าเมืองในลักษณะต่างๆ อย่างถูกกฎหมายนั้น มักได้รับความคุ้มครองในสิทธิต่างๆไม่น้อยไปกว่าประชาชนชาวไทย กล่าวคือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองมาโดยถูกกฎหมาย ต่างได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษย์ชนที่ใครจะมาละเมิดมิได้

              รองศาสตราจารย์ ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ได้เสนอรายงานว่า คนต่างด้าวในประเทศไทยสามารถแยกออกได้เป็นหลายกลุ่มหลายประเภททับซ้อนกันอยู่ การแบ่งกลุ่มต่อไปนี้ 5 กลุ่ม ก็ยังคงความทับซ้อนกันอยู่ เพราะวิธีการจัดเก็บที่มีอยู่ในแต่ละหน่วยราชการ ไม่สามารถทำให้แยกออกจากกันได้เด็ดขาด

       1) คนต่างด้าวที่เดินทางเข้าประเทศไทยและอยู่ชั่วคราวสามารถแยกคนต่างด้าวกลุ่มนี้แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลักคือ

             1.1)นักท่องเที่ยว 10 ล้านคน

              1.2)แรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองถูกกฎหมายและมีใบอนุญาต 8.3 หมื่นคน แรงงานเข้าเมืองถูกกฎหมายที่มีใบอนุญาตทำงาน 81,195 คน

              1.3)คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ชั่วคราวด้วยเหตุผลอื่นๆ เช่น อยู่กับครอบครัวคนไทย เรียนหนังสือ หรือด้วยเหตุผลทางการทูต เป็นต้น 5 หมื่นคน

        2)คนต่างด้าวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย 200,000 คน

        3)คนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย

        4)จำนวนนักเรียนนักศึกษาที่ไม่มีสัญชาติไทยรวมทั้งประเทศ 

        5)คนต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมือง[1]

                การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนต่างด้าวนั้น มักมีคำถามอย่างต่อเนื่องว่า ควรที่จะคุ้มครองสิทธิมากเท่าไรกัน? ข้าพเจ้าคิดว่า คนต่างด้าวต่างก็เป็นมนุษย์เช่นเดียวกับประชาชนชาวไทยทุกคน รัฐไทยจึงต้องให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนต่างด้าว ในมาตรฐานเดียวกับที่คนไทยสัญชาติไทยได้รับ จะเลือกปฏิบัติหรือมีหลายมาตรฐานมิได้

                 แต่อย่างไรก็ตาม แนวคิดเรื่องความมั่นคงของรัฐ ก็เป็นแนวคิดที่ทำให้การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนสำหรับคนต่างด้าวในหลายๆประเทศมีหลากหลายแนวคิดขึ้นมา กล่าวคือ การให้สิทธิแก่คนต่างด้าวที่มากเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ เช่น การให้สิทธิทางการเมืองแก่คนต่างด้าวที่เข้าเมืองมาเพื่ออยู่อาศัยเพียงชั่วคราว อาจะทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในการเมืองการปกครองของประเทศไทยได้

                 ดังนั้นข้าพเจ้าจึงมีความคิดที่ว่า รัฐไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความสำคัญและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของมนุษย์ทุกคนที่อาศัยอยู่ในรัฐไทย แม้ว่าจะมีสัญชาติไทย หรือไม่ก็ตาม เพราะคนต่างด้าวต่างก็เป็นมนุษย์ มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่รัฐต้องให้ความเคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของมนุษย์ทุกคนที่จะให้ใครมาละเมิดมิได้ แต่กระนั้นความเป็นคนต่างด้าว อาจทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิบางอย่างที่เป็นสิทธิก่อตั้งได้ เพราะเป็นสิทธิที่รัฐจะอำนวยความสะดวกให้กับบุคคลที่เป็นประชาชนของรัฐนั้นๆเท่านั้น มิฉะนั้นอาจเกิดความวุ่นวายหรือ ภาระยุ่งยากในการติดตามเพื่อคุ้มครองดูแลสิทธิเหล่านั้นของคนต่างด้าว

อ้างอิง

[1]การประชุมปฏิบัติการเรื่อง ‘คนต่างด้าวในประเทศไทยคือใครบ้าง ? มีจำนวนเท่าไร ? ระบบฐานข้อมูลแบบไหนคือคำตอบ ?’

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=75&d_id=75

คนต่างด้าวสำหรับประเทศไทย : คือใครบ้าง ? รัฐไทยต้องคุ้มครองไหม ? อย่างไรกัน ?

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=422&d_id=421 

หมายเลขบันทึก: 568265เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท