ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย


    สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

   ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) หมายถึง คุณสมบัติ จิตใจ สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้มิให้บุคคลอื่นมาล่วงละเมิดได้ การถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครอง และได้รับความยุติธรรมจากรัฐ

    ซึ่งจากที่กล่าวไว้ข้างต้นจะเห็นได้ว่า ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ จึงถือเป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนรัฐใด หรือ เป็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ หรือ คนเข้าเมืองผิดกฎหมาย ย่อมมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์เฉกเช่นเดียวกันหมด เนื่่องจากพวกเขาเหล่านี้ ล้วนเป็นมนุษย์ด้วยกันทั้งหมด โดยในประเทศไทย ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ [1] ดังนี้

มาตรา 4 “ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง ”
มาตรา 26 “ การใช้อำนาจ โดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิและ
เสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ “
มาตรา 28 “ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่า ที่ไม่ละเมิดสิทธิ และ
เสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือ ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน “   

          แต่จากกรณีศึกษา เด็กชายนิวัฒน์ จันทร์คำ น้องนิก เกิดที่ประเทศเมียนมาร์ ปัจจุบันอายุ 19 ปี ไม่มีหนังสือรับรองการเกิด และไม่ถูกบันทึกในทะเบียนราษฎรของรัฐไทย จึงไม่มีแม้แต่ทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ ตกเป็นคนไร้รัฐและไร้สัญชาติ เพราะบิดามารดาได้พาน้องเข้ามาในประเทศไทยโดยที่ไม่มีเอกสารแสดงตน  

       ดังนั้น แม้น้องนิกจะไม่ได้เป็นคนสัญชาติไทย เพราะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐไทย แต่สิทธิในการได้รับการศึกษานั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนพึงได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าคนๆนั้นจะเป็นคนสัญชาติใด เพราะ ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน [2] ข้อ ข้อ 26 กล่าวไว้ว่า  (1) ทุกคนมีสิทธิในการศึกษา การศึกษาจะต้องให้เปล่าอย่างน้อยในขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐาน และ มาตรา 49รัฐธรรมนูญไทยปี 2550 “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง จัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” นอกจากนี้ยังได้มีการยืนยันหลักการดังกล่าวใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่ง ชาติ พ.ศ.2542 [3] มาตรา 10 วรรค1 วางหลักว่า การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

      ซึ่งกฎหมายข้างต้น เป็น กฎหมายที่ให้การรับรองและประกันสิทธิในการศึกษาของบุคคลซึ่งหมายรวมถึง บุคคลไร้สัญชาติ กลุ่มคนไร้รัฐ และ คนเข้าเมืองผิดกฎหมาย ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าบุคคลทุกคน แม้มิใช่บุคคลสัญชาติไทย หรือเป็นบุคคลไร้สัญชาติ หรือเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย ก็มีสิทธิเข้าเรียนในสถานศึกษาได้  เนื่องจากสิทธิในการศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานมนุษย์ทุกคน

      เด็กทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายหรือไม่ มีผลต่ออนาคตและความมั่นคงของประเทศชาติ และถือเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าควรให้ทุกฝ่ายให้ความสนใจและสนับสนุน การจัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาส เป็นเรื่องสำคัญที่ถูกกำหนดไว้ในกฎหมาย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี พึ่งตนเองได้ และกำหนดให้เยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแลมีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการจัดการ ศึกษาอบรมจากรัฐโดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่ควรถูกมองข้าม เพราะเป็นศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์อย่างหนึ่ง

เขียนเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2557

อ้างอิง

[1]รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2550. แหล่งที่มา: http://www.ongkarn-leio.org/knonwlege.php

[2]ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. แหล่งที่มา: http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/bo...

[3]พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. แหล่งที่มา: http://www.wbtvonline.com/pdf/9-04-201409-25-55.pd...

หมายเลขบันทึก: 568204เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 21:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท