ครอบครัวข้ามชาติ


ครอบครัวข้ามชาติ: ครอบครัวเจดีย์ทอง

สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการก่อตั้งครอบครัวในรูปแบบครอบครัวตามธรรมชาติเช่น การสมรส การทำให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา หรือการก่อตั้งครอบครัวบุญธรรมซึ่งก็คือการรับบุตรบุญธรรม สิทธิดังกล่าวได้รับการรับรองทั้งตามกฎหมายภายใน และกฎหมายระหว่างประเทศ[1]

กรณีศึกษา ครอบครัวเจดีย์ทอง

นายอาทิตย์เจดีย์ทองเป็นคนสัญชาติไทยได้มาพบรักกับนางสาวแพทริเซียมีสัญชาติมาเลเซียซึ่งได้เข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยตอนที่เข้ามาในประเทศไทยนั้นได้แพริเซียได้เดินทางเข้ามาโดยหนังสือเดินทางซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 21 เมษายน2557แต่เนื่องจากในระหว่างที่นางสาวแพทริเซียได้เข้ามาทำงานในประเทศไทยนั้น ได้ตกลงที่จะอยู่กินฉันสามีภรรยากับนายอาทิตย์ที่อำเภอแม่สอดจังหวัดตาก โดยต่อมามีบุคคลได้แนะนำให้แพทริเซียไปร้องขอต่อนายอำเภอท่าสองยางจังหวัดตากเพื่อรับการสำรวจในสถานะของบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรซึ่งเป็นตุให้ต่อมาแพทริเซียได้รับการบันทึกในทะเบียนประวัติประเภทท.ร.38 ก ในชื่ออัญชลีเจดีย์ทอง ซึ่งได้รับบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งขึ้นต้นด้วยเลข 0 นอกจากนี้เธอก็ได้ใช้บัตรประจำตัวนี้ไปขอใบอนุญาตทำงานในสถานะคนไร้สัญชาติ[2]

เวลาผ่านไป แพทริเซียและอาทิตย์ก็ได้มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 3 คน โดยทั้ง3 คน ได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมาย พระราชบัญญัติสัญชาติ 2508 ซึ่งได้สัญชาติมาโดยหลักสืบสายโลหิต เนื่องจากนายอาทิตย์เป็นบิดา เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยดังนั้นแล้ว ลูกทั้งสามคนย่อมได้รับสัญชาติไทยตามหลักสืบสายโลหิต

แต่เมื่อพิจารณาหลักการได้สัญชาติมาเลเซียของลูกทั้ง 3 คน นั้น ย่อมต้องพิจารณาจากหลักดินแดนว่าเด็กทั้งสามคนได้เกิดในประเทศมาเลเซียหรือไม่เต่เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้วย่อมเห็นได้ว่าเด็กทั้งสามคนนั้นเกิดในประเทศไทย ดังนั้นแล้วย่อมไม่สามารถได้รับสัญชาติไทยโดยหลักดินแดนได้ต่อมาจึงต้องพิจารณาจากหลักสืบสายโลหิต ซึ่งการได้สัญชาติโดยหลักสืบสายโลหิตนั้นจะได้มาโดยการที่บิดาหรือมารดาคนหนึ่งคนใดเป็นคนสัญชาติที่ต้องการได้รับเช่น จากกรณีศึกษาเมื่อ แพทริเซียเป็นผู้มีสัญชาติมาเลเซียแล้วนั้นย่อมสามารถทำให้เด็กทั้งสามคนซึ่งเป็นบุตรของแพทริเซียได้รับสัญชาติมาเลเซียได้

แต่เมื่อแพทริเซียนั้นได้แสดงตนว่าเป็นบุคคลที่ไร้สัญชาติเพื่อในตนได้รับการรับรองในทะเบียนราษฎรของประเทศไทยเป็นบุคคลไร้สัญชาติแล้ว ดังนั้นจึงเกิดปัญหาว่าบุตรทั้งสามคนของแพทริเซียจะมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติมาเลเซีย หรือไม่ ซึ่งหากพิจารณาจากหลักการได้รับสัญชาติซึ่งเป็นหลักการทั่วไปที่ใช้กันในทุกประเทศบุตรทั้งสามของแพทริเซียย่อมมีสิทธิได้รับสัญชาติมาเลเซียตามหลักสืบสายโลหิต ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นบุตรทั้งสามของแพทริเซียก็จะเป็นบุคคลที่มีสองสัญชาติและก็จะได้รับประโยชน์จากการเป็นพลเมืองของทั้งรัฐไทยและรัฐมาเลเซียซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กมากกว่าการมีเพียงสัญชาติไทยเพียงสัญชาติเดียว

จากกรณีศึกษานี้ผู้ที่ทำให้ครอบครัวเจดีย์ทองเป็นครอบครัวข้ามชาตินั้นคือแพทริเซียเพราะเป็นบุคคลที่ได้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยการข้ามประเทศเข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งไม่ใช่ประเทศซึ่งตนมีสัญชาติ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าแพทริเซียเป็นมนุษย์ข้ามชาติก็ได้ดังนั้นแล้วเมื่อแพทริเซียซึ่งเป็นมนุษย์ข้ามชาติเข้ามาในประเทศไทย และได้ก่อตั้งครอบครัวขึ้น ก็ย่อมทำให้ครอบครัวเจดีย์ทองเป็นครอบครัวที่มีหลายสัญชาติซึ่งถือเป็นครอบครัวข้ามชาตินั่นเอง โดยสิทธิที่จะก่อตั้งครอบครัวนั้นก็เป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง

ดังปรากฏในข้อ 16 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ( Universal Declaration on HumanRights 1984 : UDHR ) วางหลักว่า

๑. ชายหญิงเมื่อเจริญวัยบริบูรณ์แล้ว มีสิทธิที่จะสมรสและสร้างครอบครัว โดยไม่มีการจำกัดใดๆเนื่องจาก เชื้อชาติ สัญชาติ หรือศาสนา บุคคล ชอบที่จะมีสิทธิเท่าเทียมกันในเรื่องการสมรส ในระหว่างการสมรส และในการขาดจากการสมรส
 
๒. การสมรสจะกระทำได้โดยการยินยอมอย่างเสรี และเต็มใจของคู่ที่ตั้งใจจะกระทำการสมรส
   ๓. ครอบครัวคือ กลุ่มซึ่งเป็นหน่วยทางธรรมชาติและพื้นฐานทางสังคม และชอบที่จะได้รับความคุ้มครองโดยสังคมและรัฐ
[3]

และปรากฏใน

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่ง(พลเมือง) และการเมือง (ICCPR) ข้อ 17 วางหลักว่า บุคคลจะถูกแทรกแซงความเป็นส่วนตัว ครอบครัว เคหสถาน หรือการติดต่อสื่อสารโดยพลการหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้ และจะถูกลบหลู่เกียรติและชื่อเสียงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมิได้ และข้อ 16วางหลักว่า  รัฐภาคีจะใช้มาตรการที่เหมาะสมทั้งปวง ในการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในเรื่องทั้งปวงที่เกี่ยวกับการสมรสและความสัมพันธ์ทางครอบครัว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งบนพื้นฐานของความเสมอภาคของบุรุษและสตรี จะประกัน

  (ก) สิทธิเช่นเดียวกันในการทำการสมรส

  (ข) สิทธิเช่นเดียวกันในการเลือกคู่สมรสอย่างอิสระ และการทำการสมรสอย่างอิสระและด้วยความยินยอมพร้อมใจเท่านั้น [4]

จากบทกฎหมายระหว่างประเทศข้างต้นแสดงให้เห็นได้ว่าสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวนั้นเป็นสิทธิของมนุษยชนซึ่งเป็นกฎหมายที่มีพื้นฐานมาจากการเป็นมนุษย์ ไม่ได้จำกัดสัญชาติแต่อย่างไร ดังนั้นแล้วแพทริเซียจึงสามารถที่จะตั้งครอบครัวกับนายอาทิตย์เจดีย์ทองได้อย่างไม่มีเงื่อนไข

(เขียนบทความวันที่ 16 พฤษภาคม2557 )


[1]สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวแหล่งข้อมูล :http://www.l3nr.org/posts/465301 ค้นคว้าข้อมูล :16พฤษภาคม2557

[2]กรณีศึกษาครอบครัวเจดีย์ทองแหล่งข้อมูล : เอกสารประกอบการบรรยายวิชาสิทธิมนุษยชนโดยรศ.ดร.พันทิพย์กาญจนะจิตราสายสุนทร เมื่อวันที่25 เมษายน 2557ค้นคว้าข้อมูล :16พฤษภาคม2557

[3]ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแหล่งที่มา : http://www.khamkoo.comค้นข้อมูล:16 พฤษภาคม 2557

[4]กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่ง(พลเมือง) และการเมือง (ICCPR)แหล่งที่มา :http://www.refworld.orgค้นข้อมูล : 16 พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 568189เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท