ศาลสิทธิมนุษยชน : ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเป็นต้นแบบของศาลสิทธิมนุษยชนอาเซียนได้หรือไม่


บทความที่ 14 เรื่องศาลสิทธิมนุษยชน : ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเป็นต้นแบบของศาลสิทธิมนุษยชนอาเซียนได้หรือไม่

        ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปหรือ The European of Human Rights-ECHR ตั้งอยู่ ณ เมืองสตราส์บูร์ก (Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส ประกอบด้วยประเทศสมาชิกของสภายุโรป 47 ประเทศ มีอำนาจตามหลักการที่ถูกบัญญัติในอนุสัญญายุโรปว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ปี 1950(The European Convention on Human Rights)

       มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติตามอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ของประเทศสมาชิก มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า อนุสัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms) ซึ่งเป็นหนึ่งในอนุสัญญาที่สำคัญที่สุด ที่สภายุโรป (The Council of Europe)

       ผู้มีสิทธิเป็นโจทก์ในการฟ้องคดีได้แก่ปัจเจกชน บุคคลธรรมดา นิติบุคคล รวมถึง NGO ซึ่งไม่จำต้องเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติของรัฐสมาชิก อันมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  • 1.มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในรัฐสมาชิกแห่งอนุสัญญา
  • 2.ถูกละเมิดสิทธิที่ได้รับการรับรองตามอนุสัญญาโดยตรงจากรัฐที่ถูกฟ้องร้อง

เงื่อนไขเกี่ยวกับคดี ได้แก่

  • 1.ต้องมีการดำเนินคดีต่อศาลภายในรัฐนั้นๆจนเสร็จสิ้นแล้ว กล่าวคือคดีถึงที่สุดในศาลสูงสุดของรัฐนั้นๆแล้ว รวมถึงได้ฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้ว
  • 2.โจทก์ต้องฟ้องคดีใน 6 เดือนนับแต่คดีสิ้นสุดในศาลภายใน
  • 3.การฟ้องคดีต้องมีการกล่าวอ้างว่าโจทก์ถูกรัฐนั้นๆละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ได้รับรองไว้ในอนุสัญญามาตราใด
  • 4.นอกจากสิทธิที่ได้รับการรับรองในอนุสัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานแล้วยังสามารถอ้างสิทธิตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนหรือUDHR ได้ด้วย

        โดยผู้ที่ต้องตกเป็นจำเลยหรือผู้ที่ถูกฟ้องร้องจะมีเพียงรัฐที่เป็นรัฐสมาชิกเท่านั้น เมื่อรัฐสมาชิกใดตกเป็นจำเลยมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือต้องให้ความร่วมมือต่อศาลในการให้ข้อมูลตลอดจนให้เอกสารต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ประกอบการพิจารณาคดี

        หากรัฐใดไม่ให้ความร่วมมือจะถูกลงโทษ เนื่องจากเป็นการกระทำอันละเมิดพันธกรณีตามมาตรา 38 แห่งอนุสัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน อันเป็นการกระทำผิดหน้าที่ของรัฐสมาชิกในอันที่จะต้องอำนวยความสะดวกแก่ศาลตามจำเป็นในการพิจารณาคดี

       องคณะของผู้พิพากษาประกอบด้วยผู้พิพากษาจากประเทศสมาชิกประเทศละ 1 นาย มาจากการเลือกตั้งโดยสภาแห่งคณะรัฐมนตรียุโรปโดยมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 9 ปี องคณะในการนั่งพิจารณาประกอบด้วยผู้พิพากษา 9 นาย และ 18 นายในกรณีต้องพิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่

       โดยประเทศที่เป็นสมาชิกในอนุสัญญาต้องมีการบัญญัติกฎหมายภายในให้มีความสอดคล้องกับอนุสัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานดังกล่าวด้วย เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันในการบังคับใช้

        ในกรณีที่ต้องมีการบังคับคดีศาลจะส่งคำพิพากษาไปยัง The Committee of Ministers อันเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่บังคับคดี พร้อมกับมีการแจ้งไปยังประเทศที่ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิดให้ทราบว่ามีความผิดตามอนุสัญญาข้อใดบ้าง

       โดยที่ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปสามารถลงโทษโดยให้รัฐผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ปัจเจกชนผู้เสียหายได้เช่นกัน โดยมีThe Committee of Ministers เป็นผู้ติดตามดูแลว่าผู้เสียหายได้รับค่าชดเชยแล้วหรือไม่

       โดยในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้นก็ได้มีการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนเกี่ยวด้วยสิทธิมนุษยชน หรือ AICHRแต่องค์กรดังกล่าวนั้นมิได้เป็นเหมือนศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเนื่องจากเป็นเพียงองค์กรที่เกิดจากความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนเท่านั้นมิได้เป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาคดี และมิได้มีสภาพบังคับเหมือนเช่นศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเนื่องจากไม่มีการกำหนดบทลงโทษให้กับประเทศสมาชิกที่ละเมิดพันธะกรณีในอนุสัญญา เมื่อมีบทลงโทษจึงทำให้เกิดปัญหาการขาดสภาพบังคับ

       ดังนั้นAICHR จึงควรที่จะนำเอาศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปมาเป็นต้นแบบในการปฏิบัติทั้งในทางเนื้อหาในอนุสัญญา รวมถึงการกำหนดให้มีสภาพบังคับในกรณีที่ประเทศสมาชิกละเมิดอนุสัญญา และมีการกำหนดหน่วยงานผู้มีหน้าที่บังคับคดีไปตามที่มีคำพิพากษาเพื่อให้คำพิพากษามีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

 

เขียนเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 57

เอกสารอ้างอิง

เอกสารประกอบการบรรยายวิชา น.396สิทธิมนุษยชน โดย อ.ดร.รัชนีกรลาภวิณิชชาคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 568188เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 18:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท