กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย : โทษประหารชีวิต

การลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทย มีโทษทั้งหมด 5 สถาน คือ โทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และ ริบทรัพย์สิน

ดังปรากฏใน มาตรา 18 ประมวลกฎหมายอาญา[1] วางหลักว่า โทษสำหรับผู้กระทำความผิด มีดังนี้

(1)ประหารชีวิต
(2)จำคุก
(3)กักขัง
(4)ปรับ
(5)ริบทรัพย์สิน

เมื่อพิจารณาโทษการประหารชีวิตแล้วเป็นโทษที่มีความรุนแรงสูงมากและเป็นการลงโทษที่กระทบต่อการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์เนื่องจากหากเราได้ลงโทษแม้เป็นผู้กระทำผิด ด้วยโทษประหารชีวิตแล้วนั้นหมายถึงว่าผู้กระทำความผิดคนนั้นไม่สามารถที่จะแก้ไข หรือปรับเปลี่ยนตนเองได้อีกต่อไปแล้ว เพราะการลงโทษเช่นนี้ได้พรากการมีชีวิตไปจากผู้กระทำความผิดแล้ว ซึ่งการจะลงโทษประหารชีวิตได้ย่อมต้องเป็นการกระทำที่รุนแรงอย่างแท้จริงและได้ผ่านการพิจารณาที่รอบคอบและถี่ถ้วนแล้วเท่านั้นเพราะไม่ใช่เพียงแต่ผู้กระทำความผิดเท่านั้นที่ไม่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดของตนได้แล้วแต่หมายรวมถึงศาลผู้ตัดสินคดีด้วยที่สามารถแก้ไขการตัดสินได้อีกต่อไป ซึ่งการลงโทษประหารชีวิตแม้ในบางกรณีจะเป็นการลงโทษที่เหมาะสมกับการกระทำที่ผู้กระทำผิดได้กระทำลงไป แต่หากพิจารณาถึงหลักสิทธิมนุษยชนแล้วนั้นการ โทษประหารชีวิตย่อมเป็นโทษที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ในกรณีการพรากการมีชีวิตรอดจากบุคคลผู้หนึ่งซึ่งมีความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกันกับเรา

สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ และกำหนดให้รัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐดำเนินการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ[2]

ดังนั้นแล้วการที่ใช้โทษประหารชีวิตเมื่อพิจารณาประกอบกับหลักการของสิทธิมนุษยชนแล้วย่อมเป็นการผิดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ที่รับรองการมีชีวิตของบุคคล โดยที่มีพื้นฐานทางความคิดมาจากการที่ทุกคนควรมีความเท่าเทียมกัน ในการมีชีวิต เพราะทุกคนเป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน เพราะหลักการของสิทธิมนุษยชน อ้างอิงมาจากความเป็นมนุษย์นั่งเอง

โดยได้มีการกำหนดหลักของการมีชีวิตของมนุษย์ไวในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ด้วย ปรากฏหลักการในข้อ 3 วางหลักว่าทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิตเสรีภาพและความมั่นคงแห่งบุคคล[3] และ

ปรากฏในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองสิทธิทางการเมือง (International Covenant on civil and Political Right : ICCPR ) วางหลักว่า

๑. มนุษย์ทุกคนมีสิทธิโดยธรรมชาติในการดำรงชีวิต สิทธินี้ย่อมได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ไม่มีบุคคลใดสามารถล่วงชีวิตของใครได้

๒. ในประเทศซึ่งยังมิได้ยกเลิกโทษประหารชีวิต การลงโทษประหารชีวิตย่อมกระทำได้เฉพาะคดีอุกฉกรรจ์ที่สุด ตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำผิดและต้องไม่ขัดต่อบทบัญญัติในกติกาฉบับนี้ และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทำลายล้างเผ่าพันธุ์ โทษเช่นว่านี้จะลงได้ก็โดยคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลที่มีอำนาจ

๔. บุคคลใดที่ต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิต ย่อมมีสิทธิขออภัยโทษหรือลดหย่อนผ่อนโทษตามคำพิพากษา การนิรโทษกรรม การอภัยโทษ หรือ การลดหย่อนผ่อนโทษจากคำพิพากษาให้ประหารชีวิต พึงมีไดในทุกกรณี[4]

เมื่อพิจารณาจาก ICCPR แล้วอาจจะเห็นได้ว่า สามารถมีโทษประหารชีวิตได้ โดยเน้นย้ำให้มีในกรณีที่เป็นการกระทำผิดที่อุกฉกรรจ์เท่านั้น เพราะอย่างไรก็ยังถือว่าเป็นการลงโทษที่ยังขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนอยู่ดี แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในส่วนท้ายของ ข้อกำหนดข้อ 6 แล้วก็จะตีความได้ว่าอย่างไรก็ตามICCPR ก็ต้องการที่จะคุ้มครองการมีชีวิตอยู่ของบุคคลอยู่ดี เพราะแม้ว่าจะได้รับโทษด้วยการมีคำพิพากษาแล้วย่อมสามารถขออภัยโทษหรือขอลดหย่อนการลงโทษได้ ซึ่งหมายความว่า จุมุ่งหมายของกติกาฉบับนี้ ก็ยังไม่ต้องการให้มีการใช้โทษประหารชีวิตเพื่อลงโทษผู้กระทำผิดในความเป็นจริง

ในความคิดเห็นของข้าพเจ้าต่อโทษประหารชีวิต ข้าพเจ้าด้วยกับคำกล่าวที่ว่าโทษประหารชีวิตเป็นโทษที่มีความรุนแรงมากและเป็นโทษที่ขัดต่อหลักการมีชีวิตซึ่งเป็นหลักการของสิทธิมนุษยชน แต่หากพิจารณาโทษประหารชีวิตกับสังคมไทยแล้วนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าโทษประหารชีวิตยังเป็นโทษที่จำเป็นที่ควรจะมีอยู่ในหลักกฎหมายต่อไปเพราะว่า ต้องยอมรับว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ประชาชนในประเทศส่วนใหญ่ ยังไม่ค่อยเข้าใจหลักสิทธิต่างๆที่ทางรัฐได้รับรองไว้ให้เท่าที่ควร และยังไม่ค่อยรู้ถึงสิทธิ เสรีภาพของตนซึ่งปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังนั้นแล้วมักจะเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงขึ้นภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการก่ออาชญากรรม การค้าขายยาเสพติด ซึ่งการกระทำความผิดเล่านี้เป็นการกระทำความผิดที่พบเห็นได้บ่อยในหน้าหนังสือพิมพ์ เมื่อมีเหตุการณ์เหล่านี้เผยแพร่ออกมามากเท่าไหร่ก็ย่อมทำให้ประชาชนที่อยู่ภายในประเทศไทยรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยในการอาศัยอยู่ในประเทศ ดังนั้นแล้วการที่โทษประหารชีวิตอยู่ย่อมเป็น เสมือนการห้ามปราม ทางอ้อมที่แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ของการกระทำผิดที่รุนแรง เพื่อให้ผู้กระทำผิดได้ตระหนักก่อนที่จะลงมือกระทำความผิด เมื่อกล่าวเช่นนี้นั้นหมายความว่า รัฐเจ้าของประเทศย่อมต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อสาธารณชน ซึ่งเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชนภายในรัฐมาเป็นลำดับต้นๆซึ่งก็เป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของรัฐที่จะต้องกระทำ ดังนั้นแล้วข้าพเจ้าจึงเห็นว่าโทษประหารชีวิตควรจะมีอยู่ในระบบกฎหมายของประเทศไทย

(เขียนบทความวันที่ 16 พฤษภาคม 2557 )


[1] ประมวลกฎหมายอาญา แหล่งข้อมูล : www.kodmhai.com ค้นข้อมูล : 16 พฤษภาคม 2557

[2] ความหมายของสิทธิมนุษยชน แหล่งข้อมูล : http://kittayaporn28.wordpress.com ค้นข้อมูล : 16 พฤษภาคม 2557

[3] ปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แหล่งที่มา : http://www.khamkoo.com/uploads/9/0/0/4/9004485/un_udhr_-_thai.pdf ค้นข้อมูล 16 พฤษภาคม 2557

[4] กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่ง(พลเมือง) และการเมือง (ICCPR)แหล่งที่มา :http://www.refworld.org /pdfid/ 3ae6b3aa0.pdf ค้นข้อมูล 16 พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 568146เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 14:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท