ศาลสิทธิมนุษยชน


สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิที่มีติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด เป็นสิทธิทางกายภาพ ซึ่งไม่สามารถจำหน่าย แจก จ่าย โอน หรือบังคับให้กับผู้หนึ่งผู้ใดได้ สิทธิดังกล่าวนี้มีความเป็นสากลและเป็นนิรันดร์ ได้รับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 กล่าวว่า มนุษย์ทั้งหลายทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี เท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง[1]

เมื่อบุคคลบุคคลหนึ่งถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน เข้าไม่ถึงสิทธิมนุษยชน หรือถูกปฏิเสธสิทธิมนุษยชน บุคคลดังกล่าวสามารถร้องเรียนต่อองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อให้สิทธิของตนที่ถูกละเมิดได้รับความคุ้มครองได้เนื่องจากรัฐแต่ละรัฐมีหน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยการยอมรับกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน บัญญัติกฎหมายภายในเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนรวมถึงจัดตั้งองค์กรเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ดังนั้นภายในรัฐแต่ละรัฐจึงมีองค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นกระบวนการยุติธรรมในศาลและกระบวนการยุติธรรมนอกศาลทั้งในระดับภายในประเทศและระดับระหว่างประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในระดับระหว่างประเทศซึ่งจัดเป็นกระบวนการยุติธรรมในศาล เช่น ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป

ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป(The European Court of Human Rights) จัดตั้งตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรป ค.ศ.1950 Article 19 เพื่อเป็นการประกันว่ารัฐภาคีในอนุสัญญาได้เคารพและปฏิบัติตามอนุสัญญาและพิธีสารฉบับต่างๆที่ผูกพันรัฐนั้นๆ อำนาจศาลคือ ตีความและบังคับใช้อนุสัญญาและพิธีศาลครอบคุลมกรณีตามที่บัญญัติในอนุสัญญา ศาลภายในของรัฐสมาชิกต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาด้วย หากไม่ปฏิบัติตามจะเกิดความรับผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ

บุคคลที่สามารถฟ้องคดีได้คือปัจเจกชนทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลโดยไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติของรัฐสมาชิก NGO (non-governmental organization) และรัฐสมาชิก ผู้ที่ตกเป็นจำเลยคือรัฐสมาชิกเท่านั้น เงื่อนไขเกี่ยวกับคดีคือ

  • 1.ต้องมีการดำเนินคดีต่อศาลภายในรัฐนั้นๆจนเสร็จสิ้นแล้วคือคดีถึงที่สุดในศาลสูงสุดแล้ว รวมถึงการฟ้องศาลรัฐธรรมนูญของรัฐนั้นด้วย
  • 2.โจทก์ต้องฟ้องคดีต่อศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปใน 6 เดือนนับแต่วันที่คดีถึงที่สุดในศาลภายใน
  • 3.โดยในการฟ้องคดีต่อศาลภายในข้างต้นจะต้องมีการกล่าวอ้างว่าโจทก์ถูกรัฐนั้นๆละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ได้รับรองไว้ในอนุสัญญามาตราใด
  • 4.นอกจากอนุสัญญานี้ยังสามารถอาศัย UDHR, Charter of Fundamental Rights เป็นฐานแห่งสิทธิได้[2]

หากนักศึกษาไทยที่ศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษซึ่งเป็นประเทศที่เป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรปถูกละเมิดสิทธิโดยรัฐบาลของประเทศอังกฤษและได้ดำเนินคดีในศาลของประเทศอังกฤษทุกชั้นศาลแล้วผลของการตัดสินไม่พอใจและยังคงถูกละเมิดสิทธิ สามารถนำคดีฟ้องศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปได้แม้ว่านักศึกษาจะมิได้มีสัญชาติอังกฤษเพียงแค่มีภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ในประเทศอังกฤษก็สามารถฟ้องคดีต่อศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปได้

สถาบันด้านสิทธิมนุษยชนในระดับระหว่างประเทศที่รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนหรือองค์กรอื่นที่ไม่ใช่ศาลซึ่งจัดเป็นกระบวนการยุติธรรมนอกศาล เช่น UNHRC (United Nations Human Rights Council) OHCHR (Office of the High Commissioner for Human Rights) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เป็นต้น

ส่วนสถาบันด้านสิทธิมนุษยชนในระดับภายในประเทศซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมในศาล เช่น ศาลปกครอง เป็นกรณีที่ที่หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายไม่ปฏิบัติหน้าที่ เช่น กรณีศึกษาของน้องนิค ที่นายอำเภอจังหวัดตรังไม่รับรองสถานะบุคคลให้ นิคจึงสามารถฟ้องนายอำเภอจังหวัดตรังต่อศาลปกครองได้ ส่วนกระบวนการยุติธรรมภายนอกศาล เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งการละเมิดสิทธิในการรับรองสถานะบุคคลของน้องนิคนั้นก็จัดเป็นการละเมิดสิทธิที่ได้รับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ดังนั้นนิคจึงสามารถร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ อีกทั้งกรณีของน้องนิค เป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองในกฎหมายระหว่าประเทศคือ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในข้อ 6 กติการะหว่าประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองในข้อ 16 และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในข้อ 7 น้องนิคจึงสามารถนำเรื่องที่ถูกละเมิดสิทธิร้องต่อคณะกรรมการของกฎหมายระหว่างประเทศนั้นๆได้เช่นกัน

จะเห็นได้ว่าสิทธิมนุษยชนนั้นได้รับความคุ้มครองและรับรองทั้งในระดับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในประเทศที่รัฐที่เป็นภาคีต้องจัดทำขึ้นให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศที่ตนได้ลงนามเข้าร่วมเป็นภาคี อีกทั้งกฎหมายแต่ละฉบับยังมีหน่วยงานหรือองค์กร เช่น ศาลหรือคณะกรรมการที่เข้ามาช่วยเหลือ ให้ความดูและ รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำให้บุคคลไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในรัฐใดก็ได้รับความคุ้มครองให้มีสิทธิมนุษยชนได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

[1] วิกิพีเดีย. สิทธิมนุษยชน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org. 26 เมษายน 2557

[2] อ.ดร.รัชนีกร ลาภวณืชชา. เอกสารประกอบการบรรยายวิชา น.396 สิทธิมนุษยชน. 22 เมษายน 2557.

หมายเลขบันทึก: 568101เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 07:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 08:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท