ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี


สิทธิในสุขภาพอนามัยหรือสิทธิในการมีสุขภาพดี เป็นหนึ่งในสิทธิมนุษยชนที่มีการละเมิดบ่อยครั้ง บทความนี้จะกล่าวถึงในส่วนของกฎหมายไทยที่ออกมาเพื่อทำให้สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิตามกฎหมาย ที่มีการรับรองโดยรัฐ และกล่าวถึงผู้ทรงสิทธิตามกฎหมายดังกล่าว

กรณีศึกษา น้องผักกาด
น้องผักกาด เกิดในโรงพยาบาล แม่สอดจังหวัดตาก มีอาการสมองบวม มารดาซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นชาวพม่า จึงได้ทิ้งน้องผักกาดไว้ในโรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลก็ไม่ได้มีการแจ้งเกิดน้องผักกาดแต่อย่างใด เพราะตาดว่าน้องผักกาดไม่น่าจะมีชีวิตรอดอยู่ได้ แต่ก็เกิดปัญหาว่าน้องผักกาด สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ จนปัจจุบันมีอายุถึง 8 ปี กล่าวคือ น้องผักกาด ซึ่งควรจะได้รับการแจ้งเกิด มีสิทธิได้รับการคุ้มครองจากรัฐ ก็ไม่ได้ ทำให้น้องผักกาดอยู่ในสถานะภาพไร้รัฐ ไร้สัญชาติ แม้ว่ากรณีน้องผักกาดจะถือเป็นความโชคร้ายอย่างหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ก็เป็นโชคดีที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ให้ความสนใจกับปัญหาคนไร้รัฐ เข้าไปให้ ช่วยเหลือ

หรือกรณีของน้อง อาป่า ซึ่งเป็นชาวพม่า อพยพมาพร้อมครอบครัวมาอาศัยในไทย จากนั้นก็ประสบอุบัติเหตุถูกรถชนต้องเข้ารักษาตัวที่โณงพยาบาลบแต่ก็ประสบปัญหาในด้าน ที่ตนมิใช่บุคคลที่มีสัญชาติไทยในการได้รับหลักประกันสุขภาพต่างๆ จากกรณีทั้ง 2 เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับ สิทธิในการมีสุขภาพดี ซึ่งพรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ก็วางหลักถึงสิทธิในการมีสุขภาพดีเอาไว้

 พระราชบัญญัติหลักกประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
มาตรา 3 บัญญัติว่า "บริการสาธารณสุขหมายความว่า บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งให้โดยตรงแก่บุคคลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ทั้งนี้ ให้รวมถึงการบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ"
มาตรา 5 วรรค 1 บัญญัติว่า "บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้"

ทั้งสองกรณีนี้จะเห็นได้ว่าเกิดปัญหาเรื่อง สัญชาติของมนุษย์ ซึ่งโดยหลักทั่วไปเมื่อทุกคนเกิดมา ต้องได้รับการรับรองจากรัฐและได้สิทธิขึ้นพื้นฐานอันมนุษย์ทุกคนพึงจะได้รับ เมื่อตามกรณีศึกษาของทั้งสองคนไม่มีรัฐใดรับรอง แต่ทว่าในความเป็นมนุษย์นั้น เมื่อเกิดความเจ็บป่วยหรือความยากลำบากในการดำรงชีวิต มนุษย์ทุกคนควรจะได้รับการรักษาเพื่อให้อยู่รอดเป็นมนุษย์ได้อย่างสมบุรณ์ ดังที่หลักสิทธืมนุษยชนได้บัญญัติไว้ 

ดังนั้นข้าพเจ้าเห็นว่าน้องผักกาดและน้องอาป่า ควรจะได้รับการรักษาให้อยู่รอดเป็นมนุษย์ได้อย่างปลอดภัยก่อน ถึงแม้ว่าจะเป็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติก็ตาม เพราะในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์นั้นควรจะได้รับความคุ้มครองอย่างเสมอภาค เท่าเทียมกัน โดยรัฐไทยต้องเข้าไปเป็นส่่วนหนึ่งของการจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าว อีกทั้งตามหลักจรรยาบรรณแพทย์ ในการช่วยเหลือมนุษย์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่แพทย์ควรคำนึงถึงเป็นลำดับแรกให้มนุษย์มีชีวิตรอดอย่างปลอดภัย

นายกรณ์เชษฐ์ โชติวราธนศักดิ์
วันที่ 15 พฤษภาคม 2557


  • กฎหมายไทย กับ สิทธิในความมีสุขภาพดี. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.l3nr.org/posts/535559 วันที่สืบค้นข้อมูล 15 พฤษภาคม 2557
  • สิทธิมนุษยชน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-4/hu... วันที่สืบค้นข้อมูล 15 พฤษภาคม 2557
หมายเลขบันทึก: 568082เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014 23:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014 23:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท