ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/คนหนีภัยความตาย


        ในเบื้องต้นนั้นควรทำความเข้าใจก่อนว่า ผู้ลี้ภัยกับผู้หนีภัยความตายนั้นไม่เหมือนกัน และมีความแตกต่างกันอย่างไร      

        ผู้ลี้ภัยนั้น อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 ให้คำนิยาม และความหมายของสถานภาพผู้ลี้ภัยว่า ผู้ลี้ภัย หมายถึงบุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหารหรือได้รับการคุกคามต่อชีวิตเนื่องจากสาเหตุข้อหนึ่งข้อใด เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติสมาชิกภาพในกลุ่มทางสังคม สมาชิกภาพในกลุ่มความคิดทางการเมือง

         ผู้หนีภัยความตาย คือ ผู้หนีภัยที่เกิดกับชีวิต ทั้งภัยโดยตรง และโดยอ้อม ภัยโดยตรง เช่น ภัยจากการสู้รบ ส่วนภัยความตาย โดยอ้อม ผมแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ภัยความตายทางกายภาพ ซึ่งเกิดจากการคาดการณ์ได้ว่า ถ้าไม่หนีออกมาจากพื้นที่นั้นจะต้องตาย เช่น เมื่อรู้ข่าวว่ามีกองทหารกำลังจะเข้ามาที่หมู่บ้านและมีข้อมูลว่า หากทหารเข้ามาในหมู่บ้านแล้วจะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจนถึงขั้นเสียชีวิต ได้ จึง หนีออกมาก่อนที่ทหารจะมาถึง หรือ กรณีการหนีจากการบังคับเกณฑ์แรงงาน ซึ่งอันที่จริง การเกณฑ์แรงงานไม่ได้เป็นภัยความตายโดยตรง คือ ถ้าถูกยอมให้เกณฑ์แรงงานไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะไม่ถูกฆ่าตาย แต่ถ้าหากปฏิเสธไม่ยอมทำงาน ก็มีความเสี่ยงที่จะตายได้ หรือ หากถูกบังคับให้ทำงานแล้วหลบหนีออกมาก็มีข้อมูลว่าคนเหล่านี้จะถูกฆ่าตายได้ เช่นเดียวกับกรณีการถูกบังคับเก็บภาษี หรือการข่มขืน ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามก็มีความเสี่ยงที่จะตายได้ นี่เป็นตัวอย่างของภัยความตายทางกายภาพที่เห็นได้ชัด ภัยความตายอีกประเภทหนึ่งคือภัยความตายทางจิตใจ เช่น การข่มขืน เป็นต้น

        ไม่ว่าจะเป็นผู้ลี้ภัย หรือผู้หนีภัยความตายก็ตามต่างก็เป็นมนุษย์กันทุกคน ดังนั้นหากพิจารณาในเรื่องของสิทธิมนุษยชนแล้ว ทุกคนควรมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน จึงไม่ได้มีความแตกต่างที่ผู้ลี้ภัย หรือผู้หนีภัยความตายจะได้สิทธิต่างๆ เช่นเดียวกับประชาชนในรัฐนั้น เช่น สิทธิการเดินทางโดยเสรี ในประเทศและหากต้องการเดินทางไปต่างประเทศ รัฐที่ดูแลผู้ลี้ภัยอยู่ก็ต้องออกเอกสารเดินทางให้ รวมไปถึงสิทธิทางการศึกษาและสิทธิอื่น ๆ

        สถานการณ์ผู้ลี้ภัยในประเทศไทย

 - ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่มีประเทศเพื่อนบ้านล้อมรอบตลอดแนวชายแดนและเป็นจุดหมายของการโยกย้ายถิ่นฐานหลายรูปแบบ

     - การย้ายถิ่นข้ามชาติรูปแบบหนึ่งที่ประเทศไทยต้องเผชิญมาโดยตลอด คือ การย้ายถิ่นแบบถูกบังคับ (non-refoulement)

     - การรับรองสถานะผู้ลี้ภัย ต้องมีการประกาศให้ทราบว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ลี้ภัย อย่างไรก็ตาม บุคคลคนหนึ่งเป็นผู้ลี้ภัยได้ไม่ใช่เพราะ      การรับรอง แต่บุคคลนั้นได้รับการรับรอง เนื่องจากเขา/เธอเป็นผู้ลี้ภัย

        สิทธิของผู้ลี้ภัยตามกฏหมายระหว่างประเทศ

        สิทธิหลักในการคุ้มครองผู้ลี้ภัย ตามที่ระบุในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.1951 เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ดังปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1948 ได้แก่

- สิทธิที่จะมีชีวิต เสรีภาพ และความปลอดภัย

- สิทธิในการแสวงหาและพักพิง

- อิสรภาพจากการเป็นทาส

- ได้รับการรับรองสถานภาพบุคคลตามกฎหมาย

- อิสรภาพจากการถูกจับกุมและคุมขังโดยพลการ

- สิทธิที่จะได้รับการศึกษา

- สิทธิที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชน

        หากประเทศไทยร่วมลงนามในอนุสัญญาสถานภาพผู้ลี้ภัยนั้น จะทำให้ประเทศไทยไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายมากนัก เพราะมีภาคีร่วมรับผิดชอบด้วยก็จะทำให้มีหลักประกันมากขึ้น และการแก้ไขปัญหาที่สำคัญ UNHCR ก็จะเข้ามามีบทบาทมีอำนาจในการดูแลผู้ลี้ภัยมากขึ้นอีกทั้งโดยหลักกฎหมายระหว่างประเทศหรือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกฎหมายสิทธิมนุษยชน ฉบับอื่น ๆ ก็จะต้องใช้ฐานที่ว่า ความเท่าเทียมกัน เมื่อผู้ลี้ภัยเป็นมนุษย์จึงควรได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานเช่นเดียวกับประชาชนในรัฐนั้น เช่น สิทธิการเดินทางโดยเสรี ในประเทศและหากต้องการเดินทางไปต่างประเทศ รัฐที่ดูแลผู้ลี้ภัยอยู่ก็ต้องออกเอกสารเดินทางให้ รวมไปถึงสิทธิทางการศึกษาและสิทธิอื่น ๆ ก็ต้องเท่าเทียมกัน

       ประการสุดท้าย เพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาเหล่านั้นไว้ ดังต่อไปนี้

1. ควรมีการกำหนดแผนนโยบายยุทธศาสตร์ผู้หนีภัยความตาย เพื่อนำไปสู้การป้องกันผู้หนีภัยความตายมิให้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน อันจะเป็นการตอกย้ำหรือซ้ำเติมปัญหาที่พวกเขาเหล่านั้นได้เผชิญอยู่แล้ว นอกจากนี้ การกำหนดแผนนโยบายยุทธศาสตร์ผู้หนีภัยความตายให้มีความชัดเจน แยกออกจากผู้หลบหนีเข้าเมือง จะเป็นการป้องกันปัญหาความไม่มั่นคง อันเกิดจากการขาดนโยบายที่ชัดเจน สำหรับการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยความตายในประเทศไทย โดยยึดหลักความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งหากคนที่อยู่ในประเทศไทยทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ประเทศย่อมมีภูมิคุ้มกันปัญหาความไม่มั่นคงต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

2. สังคมควรมีการตระหนักถึงคุณค่า และหลักการเคารพสิทธมนุษยชนในประเทศไทย รวมทั้งตระหนักในความสำคัญของการมีน้ำหนึ่งใจเดียวกันของทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย อันจะนำไปสู่การเกิดความมั่นคงทางมนุษย์ขึ้น โดยลดการแบ่งแยกระหว่างชาติพันธุ์ และสถานะบุคคลทางกฎหมาย

3. ปัจจุบัน โครงสร้างทางการบริหารจัดการ สำหรับผู้หนีภัยการตายนั้น ได้ดำเนินการโดยศูนย์ปฏิบัติการผู้พลัดถิ่น กระทรวงมหาไทย ซึ่งสามารถนำมาปรับปรุง และประยุกต์เพิ่มเติม เพื่อกำหนดกรอบการปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีกฎหมายรับรอง และควบคุมนโยบายจากสำนักสภาความมั่นคงแห่งชาติ

4. ประเทศไทยควรจะให้โอกาสที่เป็นธรรมแก่ผู้ขอลี้ภัยทุกคนให้สามารถขอลี้ภัย และควรจะอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยสามารถเคลื่อนย้ายไปยังที่ต่างๆ และสามารถทำงานได้ โดยนโยบายเช่นนี้จะช่วยให้ผู้ลี้ภัยสามารถเรียนรู้ทักษะต่างๆ และลดโอกาสที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบ ขณะเดียวกันก็จะเปิดทางให้พวกเขามีส่วนทำประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจของไทยด้วย

     

https://www.unhcr.or.th/th/refugee/about_refugee

http://salweennews.org/home/?p=986

Natcha Rattaphan. ผู้ลี้ภัย-ปัญหาและแนวทางการให้ความช่วยเหลือ,สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน,ปี2557,จากเว็บไซด์: http://www.l3nr.org/posts/367715

     http://www.thaingo.org/story/leepai2744.htm

หมายเลขบันทึก: 567992เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท