การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ


              ในปัจจุบันนั้นกฎหมายได้มามีบทบาทในการรองรับสิทธิมนุษยชน โดยเป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติเนื่องจากปัญหาการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมากในสังคมทั่วโลก ซึ่งสิทธินุษยชนนั้นเป็นสิทธิที่ให้ความคุ้มครองในตัวบุคคลในหลายๆด้านและเป็นสิทธิที่ทุกคนควรจะได้รับในฐานะเป็นมนุษย์คนหนึ่งไม่ว่าบุคคลเรานั้นจะมีปัญหาทางด้านสัญชาติ หรือมีความชราความพิการก้ย่อมต้องได้รับสิทธิเท่ากัน ซึ่งในทีนี้ขอกล่าวถึงในส่วนที่เกี่ยวกับชีวิตซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

      สิทธิมนุษยชนจะครอบคลุมสิทธิต่างๆ ในการดำรงชีวิตของมนุษย์เพื่อให้มีชีวิตที่ดีในสังคมดังนี้

       สิทธิในชีวิต ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้และได้รับการคุ้มครองให้ปลอดภัยได้รับการตอบสนองตามความต้องการขั้นพื้นฐานของชีวิต ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ทุกชีวิตล้วนมีคุณค่าด้วยกันทั้งสิ้น ไม่วาจะเป็นบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีวิตอยู่เป็นพิเศษจากผู้อื่น เช่น คนพิการ คนชรา ฯลฯ ดังนั้นทุกคนควรปฏิบัติต่อบุคคลด้อยโอกาส ให้ความสำคัญ ให้โอกาสและให้ความช่วยเหลือตามสมควร เพื่อให้ทุกชีวิตมีความเท่าเทียมกันมากที่สุด

        สิทธิในการดำเนินชีวิตและพัฒนาตนเองตามแนวทางที่ถูกต้อง คนในสังคมต้องให้โอกาสกับคนที่เคยกระทำไม่ถูกต้อง ให้โอกาสคนเหล่านี้ได้รับการอบรมแก้ไขและพัฒนาตนเองใหม่ ให้สามารถมีชีวิตที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น

        สิทธิในการยอมรับนับถือ หมายถึง การที่บุคคลพึงปฏิบัติต่อกันด้วยการยอมรับซึ่งกันและกัน ให้ความสำคัญกับศักดิ์ศรีและคุณค่าของชีวิตด้วยความเท่าเทียมกัน

               ประเทศไทยได้เข้าร่วมรับรอง "ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน" ของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ ดังนั้นบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงได้กำหนดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกคนตระหนักในความสำคัญของสิทธิมนุษยชน และเป็นแนวทางปฏิบัติต่อกันในฐานะเพื่อนมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน โดยตระหนักว่าทุกคนมีสิทธิในชีวิต มีสิทธิในการยอมรับนับถือ และมีสิทธิในการดำรงชีวิตและพัฒนาตนเองตามแนวทางที่ถูกต้องนั้นเอง

                กรณีศึกษา ด.ญ.ผักกาด เกิดที่โรงพยาบาลแม่สอดเมื่อปีพ.ศ.๒๕๔๙ โดยไม่มีการแจ้งเกิด บุพการีเป็นคนมาจากเมียนมาร์ ยังไม่ได้รับการรับรองสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรของรัฐใดเลยบนโลก จึงประสบปัญหาความไร้รัฐโดยสิ้นเชิงกล่าวคือไร้ทั้งรัฐไร้ทั้งสัญชาติ ตลอดจนถูกถือเป็นคนผิดกฎหมายคนเข้าเมืองของทุกรัฐบนโลก โดยน้องผักกาดพิการตั้งแต่กำเนิด พูดไม่ได้ เดินไม่ได้ อาการป่วยหนักมาจากการที่ศีรษะบวมใหญ่มาก จึงถูกบุพการีทอดทิ้ง ไร้สิทธิในหลักประกันสุขภาพ

                เช่นนี้เมื่อพิจารณาถึงปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนนั้น ด.ญ.ผักกาดองผักกาดเกิดที่โรงพยาบาลแม่สอด บุพการีเป็นคนเมียนม่าร์ โดยไม่มีการแจ้งเกิด เมื่อพิจารณาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 6 ซึ่งมีหลักว่า ทุกๆคนมีสิทธิที่จะได้รับ การยอมรับว่าเป็นบุคคลในกฎหมาย ไม่ว่า ณ ที่ใดๆ จะเห็นได้ว่าน้องผัดกาดนั้นเกิดมาเเละอยู่รอดเป็นบุคคลตามกฎหมาย ดังนั้นเรื่องของการพิสูจน์สถานะบุคคลของเด็กถูกทอดทิ้งนั้นจะต้องปฎิบัติให้เป็นไปตาม พรบ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ซึ่งตามพรบ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534มาตรา ๒๓เมื่อมีคนเกิดหรือคนตาย ผู้ทำคลอดหรือผู้รักษาพยาบาลต้องออกหนังสือรับรองการเกิดหรือการตายตามแบบพิมพ์ที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดให้แก่ผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๑ เช่นนี้ตามความเป็นจริงแล้วเมื่อน้องผักกาดเกิดทางโรงพยาบาลต้องมีการออกใบรับรองการเกิดให้ก็จะเป็นสิ่งที่ถูกต้องและกรณีก็จะทำให้น้องผักกาดได้รับสัญชาติไทยตามหลักดินแดน

                ส่วนกรณีที่น้องผักกาดไร้สิทธิในหลักประกันสุขภาพในกองทุนเพื่อบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคล ทำให้น้องผักกาดไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจากรัฐได้นั้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๕๔บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ บุคคลวิกลจริตย่อมได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ เช่นนี้เมื่อน้องผักกาดนั้นเป็นผ็พิการตั้งแต่กำเนิด และมีอารป่วยเป็นอย่างมาก จึงเป็นผู้มีสิทธิในหลกประกันสุขภาพในกองทุนผู้มีปัญหาสถานะ เช่นนี้หากรัฐไทยไม่จัดหาสิทธิต่างๆตามที่กฎหมายรับรองให้น้องผักกาด รัฐไทยก็ขึ้นชื่อได้ว่าได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนของเด็กหญิงผักกาดแล้ว

แหล่งที่มาของข้อมูล

[1] พระราชบัญญํติทะเบียนราษฎร(ออนไลน์)http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=...

[2]สิทธฺิในการดำรงค์ชีวิต (ออนไลน์)http://www.oknation.net/blog/print.php?id=390479

[3]รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ออนไลน์)http://www.ombudsman.go.th/10/documents/law/Consti...

หมายเลขบันทึก: 567969เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 20:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 23:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท