ดวงดาว(ไม่ดี)... ทำให้คนเราเราป่วยได้


วิดีโอ: เปลวสุริยะ หรือเปลวไฟบนผิวดวงอาทิตย์ เกิดจากการระเบิด ทำให้มีเปลวไฟปะทุ และปล่อยพลังงานออกไปในอวกาศ [ Wikimedia ]

.

.

ภาพ: เปลวไฟปะทุจากผิวดวงอาทิตย์ [ Wikimedia ]

.

.

ภาพ: จุดมืดหรือจุดดำบนดวงอาทิตย์ (sunspot) เป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิ หรือระดับความร้อน ต่ำกว่าบริเวณรอบๆ + มีกระแสแม่เหล็กหมุนรุนแรง, มักจะพบเป็นคู่ โดยมีทิศทางสนามแม่เหล็กหมุนวนไปในทิศตรงกันข้ามกัน [ Wikimedia ]

.

ภาพ: จุดดำบนดวงอาทิตย์ มักจะพบเป็นคู่ [ Wikimedia ]

                                                                    

                                                                     

พายุแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์รบกวนการสื่อสารบนโลก เช่น รบกวนคลื่นวิทยุจากดาวเทียม ฯลฯ ได้

การศึกษาใหม่พบว่า ช่วงที่พายุสุริยะ หรือพายุบนดวงอาทิตย์ (geomagnetic storms) เดินทางมาถึงผิวโลก จะทำให้สนามแม่เหล็กบนผิวโลกเปลี่ยนแปลง

และจะพบโรคกลุ่ม "สโตรค (stroke)" เพิ่มขึ้น

สโตรค = กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต

.

การศึกษาใหม่จากนิวซีแลนด์ ทำในกลุ่มตัวอย่างคนไข้สโตรค (อัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ) ทั้งจากยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มากกว่า 11,000 คน 

ผลการศึกษาพบว่า วันที่สนามแม่เหล็กบนโลกปั่นปวน...จากพายุแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์ จะมีคนเป็น "สโตรค" เพิ่มขึ้น = 19%

ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น 19% = ใกล้เคียงกับความเสี่ยง (อัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ) ที่เพิ่มขึ้นจากการได้รับฮอร์โมนชดเชยหลังหมดประจำเดือน 

กระแสพายุสุริยะ หรือพายุแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์ อาจกินเวลาไม่กี่ชั่วโมง จนถึงหลายวัน

.

พายุบนดวงอาทิตย์ที่มีขนาดใหญ่ หรือแรงมากพอ...

จะรบกวนการทำงานของดาวเทียม และทำให้แสงเหนือที่พบใกล้ขั้วโลกเหนือ มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ 

เช่น ฤดูหนาวช่วงต่อปี 2556-2557 พบแสงเหนือกระจายจากบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ ยุโรปเหนือ เช่น นอร์เวย์ ฯลฯ, ลงมาถึงอังกฤษ(UK)

ปีที่พายุจากผิวดวงอาทิตย์แรงมาก คือ ปี 1989/2532

.

ปีนั้นแรงจนทำให้เกิดไฟดับ (blackout) ในรัฐควิเบค แคนาดา ดับไปถึง 9 ชั่วโมง

ศัพท์ที่ใช้ในเรื่องไฟดับ น่าจะมาจากแสงไฟหลอดไส้สมัยก่อน 

  • blackout (ดำไปเลย) = ไฟดับ
  • brownout (สีน้ำตาลปนแดง) = ไฟตก

.

ปี 2532 พายุแม่เหล็กดวงอาทิตย์แรงจนทำให้เข็มทิศในซีกโลกเหนือตีรวน

ชี้ผิด ชี้ถูก...

การศึกษานี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ ในช่วงที่มีพายุแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์ มักจะมีอายุเฉลี่ยน้อย คือ น้อยกว่า 65 ปี

ชาวตะวันตก หรือฝรั่งที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ ส่วนใหญ่จะมีอายุเฉลี่ย = 70 ปี

.

พายุแม่เหล็กดวงอาทิตย์ มีลักษณะขึ้นๆ ลงๆ ไม่คงที่

ทำให้เกิดเป็นวงจร หรือวัฏจักร (cycle) = ทุกๆ 11 ปี

ช่วงที่มีพายุแม่เหล็ก หรือความปั่นป่วนน้อยที่สุด (solar minima) = 1996-1998/2539-2541

ช่วงที่มีพายุแม่เหล็ก หรือความปั่นป่วนมากที่สุด (solar maximum) = 2014/2557

.

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า พายุแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์ อาจทำให้ร่างกายคนเราเปลี่ยนแปลงไปได้ คือ

  • ความดันเลือดเปลี่ยน
  • ชีพจร หรืออัตราการเต้นหัวใจเปลี่ยน
  • โอกาสเกิดลิ่มเลือดเปลี่ยน

.

ความดันเลือด หรือโอกาสเกิดลิ่มเลือดที่สูงขึ้น เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคกลุ่มอัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงสำคัญกว่าดวงดาว หรือพายุแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์ได้แก่

(1). การสูบบุหรี่มือหนึ่ง (สูบเอง) หรือมือสอง (คนอื่นสูบ แต่หายใจเอาควันบุหรี่เข้าไป)

(2). ความดันเลือดสูง

.

การศึกษานี้บอกว่า ดวงดาว คือ พายุแม่เหล็กดวงอาทิตย์ ทำให้ "ความดันเลือด" สูงขึ้น > เพิ่มเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

แต่ดวงดาวก็ยังสู้ "มือเรา (การกระทำของเรา)" ไม่ได้ เช่น

อัมพฤกษ์ อัมพาตป้องกันได้มาก... ถ้า

(1). ตรวจเช็คความดันเลือด > ถ้าสูง... ให้รักษาต่อเนื่องตลอดชีวิต

(2). ตรวจเช็คน้ำตาลในเลือด > ถ้าสูง (เบาหวาน)... ให้รักษาต่อเนื่องตลอดชีวิต

(3). ออกแรง_ออกกำลังเป็นประจำ

(4). ไม่นั่งนานเกิน 1 ชั่วโมง/ครั้ง > ลุกขึ้นยืนสลับนั่ง 3 ครั้ง หรือเดินสลับได้

(5). ระวังภาวะขาดน้ำ โดยเฉพาะช่วงเช้า > หลังตื่นนอน, ให้ล้างมือด้วยสบู่ บ้วนปาก แล้วดื่มน้ำ 1-2 แก้ว

(6). ตรวจเช็คไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล) ตามที่หมอใกล้บ้านท่านแนะนำ 

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

Thank Reuters & source by Reuters > SOURCE: Stroke, online April 22, 2014.

Thank Reuters > http://www.reuters.com/article/2014/05/01/us-geomagnetic-storm-stroke-risks-idUSKBN0DH3CK20140501

.

หมายเลขบันทึก: 567476เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2014 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2014 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท