ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัยคนหนีภัยความตาย


บทความที่ 3 เรื่อง ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย คนหนีภัยความตาย

แม้ว่าในปัจจุบันสิทธิมนุษยชนจะได้รับการยอมรับและได้รับการรับรองอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ แต่ก็ยังมิได้เป็นหลักประกันว่ามนุษย์ทุกคนหรือทุกกลุ่มจะได้รับการปฏิบัติอย่างเหมาะสม หรือได้รับความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ตัวอย่างเช่น ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ การละเมิดสิทธิเด็ก การละเมิดสิทธิสตรีหรือปัญหาความรุนแรง เป็นต้น อันมีปรากฏอยู่ทั่วไปแม้จะน้อยกว่าในอดีตก็ตามอันหมายรวมถึงปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัยในปัจจุบันที่ยังมิได้หมดไปอีกด้วย

ความหมาย ตาม พรบ. ผู้ลี้ภัย ของคำว่า “ผู้ลี้ภัย” ความความว่า[1]

  • 1.บุคคลที่ต้องอยู่นอกประเทศที่ตนมีสัญชาติโดยไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะแสวงหาประโยชน์จากการคุ้มครองของประเทศนั้น เนื่องด้วยความหวาดกลัวอย่างสมเหตุสมผลต่อการถูกสังหารอันเนื่องมาจากเหตุผลทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ ความคิดเห็นทางการเมือง หรือการเป็นสมาชิกของกลุ่มทางสังคมที่เฉพาะเจาะจง หรือบุคคลที่ไม่มีสัญชาติและต้องอยู่ภายนอกประเทศที่เคยอยู่เป็นแหล่งสำคัญ และด้วยเหตุดังกล่าวทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะเดินทางกลับประเทศนั้น
  • 2.บุคคลที่ถูกบังคับให้เดินทางออกนอกสถานที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญเพื่อแสวงหาที่พักพิงนอกประเทศต้นทางของตน อันเนื่องมาจากการรุกรานหรือการยึดครองจากภายนอก การครอบงำจากต่างประเทศ หรือสถานการณ์อื่นที่เป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอย่างร้ายแรง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทุกส่วนของประเทศต้นทางนั้น รวมถึงผู้ที่อยู่ในความอุปการะของบุคคลข้างต้นทั้ง 2 กรณีด้วย
  • โดยผู้ลี้ภัยในประเทศไทย จึงหมายถึง บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยและไม่เคยอยู่ในประเทศไทย แต่วันหนึ่งต้องโยกย้ายเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเนื่องด้วยเหตุแห่งความหวาดกลัวจากการถูกสังหารอันเนื่องมาจากเหตุผลทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติความคิดเห็นทางการเมือง หรือการเป็นสมาชิกของกลุ่มทางสังคมซึ่งเฉพาะเจาะจง โดยไม่อาจกลับไปยังประเทศต้นทางหรือไม่เต็มใจที่จะแสวงหาประโยชน์จากประเทศต้นทางของพวกเขาได้
  • ผู้ลี้ภัยนั้นแม้ว่าจะเป็นบุคคลที่มีสัญชาติแต่กลับถูกปฏิบัติทั้งจากประชาชนกลุ่มอื่นในประเทศที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา สีผิว ความคิดเห็น ความเชื่อ อันก่อให้บุคคลเหล่านั้นเกิดความหวาดกลัวว่าจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตและความปลอดภัย นอกจากนั้นยังรวมถึงการถูกรุกรานจากประเทศภายนอก จนทำให้บุคคลเหล่านี้ไม่สามารถที่จะใช้ชีวิตอยู่ในประเทศอันเป็นประเทศต้นทางของตนได้ ทำให้ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ
  • เช่นนี้ย่อมสามารถกล่าวได้ว่าบุคคลเหล่านี้ถูกล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่บุคคลพึงมีในฐานะที่เป็นมนุษย์ ในอันที่มีสิทธิในเสรีภาพของตนที่จะสามารถเลือกกำหนดถิ่นที่อยู่อาศัยของตนเองได้ตามความต้องการของตน
  • นอกจากนั้นยังส่งผลให้บุคคลเหล่านี้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนประเภทอื่นๆหรือได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม นอกเหนือไปจากสิทธิในเสรีภาพดังที่ได้กล่าวไปในข้างต้น อันได้แก่ การไม่ได้รับประโยชน์ในสิทธิพลเมือง(Civil Rights) ในด้านอื่นๆเช่นสิทธิในชีวิตร่างกายที่ไม่ได้รับความปลอดภัย ไม่มีความมั่นคงในการดำเนินชีวิตอย่างสงบสุขตามที่มนุษย์โดยทั่วไปพึงมี
  • ทั้งนี้ยังมิได้รับประโยชน์จากสิทธิทางการเมือง (Political Rights) ได้แก่การขาด สิทธิใน การมีส่วนร่วมกับรัฐในการดำเนินกิจการที่เป็นประโยชน์สาธารณะ เสรีภาพในการรวมกลุ่มเป็นพรรคการเมือง เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ สิทธิการเลือกตั้งอย่างเสรี
  • ทำให้สูญเสียสิทธิทางสังคม (Social Rights) ได้แก่ สิทธิการได้รับการศึกษา สิทธิในการได้รับหลักประกันด้านสุขภาพ ได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างเต็มที่ ได้รับความมั่นคงทางสังคม มีเสรีภาพในการเลือกคู่ครอง และสร้างครอบครัว เป็นต้น อันเป็นสิทธิที่ควรได้รับจากประเทศต้นทางในอันที่ต้องจัดให้มีเพื่อที่จะได้รับประโยชน์หลายประการดังกล่าวจากรัฐในฐานะที่เป็นพลเมืองและในฐานะที่เป็นมนุษย์
  • นอกจากนั้นยังทำให้สูญเสีย สิทธิทางเศรษฐกิจ(Economic Rights)ได้แก่ สิทธิการประกอบอาชีพได้อย่างอิสระตามความต้องการ และได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม ตลอดจนสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เป็นต้น
  • และสูญเสียสิทธิทางวัฒนธรรม (Cultural Rights) อันได้แก่ การไม่มีเสรีภาพในการใช้ภาษาหรือสื่อความหมายในภาษาท้องถิ่นของตน มีเสรีภาพในการแต่งกายตามวัฒนธรรม การปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของตน การปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา การพักผ่อนหย่อนใจทางศิลปวัฒนธรรมโดยไม่มีใครมาบีบบังคับ เพราะบุคคลกลุ่มที่เป็นผู้ลี้ภัยนั้นมักเป็นบุคคลที่มีความแตกต่างและไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มที่เป็นประชาชนส่วนมากที่มีวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อที่แตกต่าง จนนำมาซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้
  • ปัญหาดังกล่าวนี้มีปรากฏในหลายพื้นที่ตัวอย่างเช่น ในประเทศซีเรีย ประเทศอัฟกานิสถาน อิรัก พม่าและโซมาเลีย เป็นต้น
  • ตัวอย่างเช่นในอัฟกานิสถาน นับแต่การรุกรานอัฟกานิสถานของสหภาพโซเวียตใน พ.ศ. 2522 จนกระทั่งสงครามอัฟกานิสถาน พ.ศ. 2544 มีผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันประมาณ 6 ล้านคนที่เข้าไปสู่ปากีสถานและอิหร่าน ทำให้อัฟกานิสถานเป็นประเทศต้นกำเนิดของผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุด ต้นปี พ.ศ. 2545 มีผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันมากกว่า 5 ล้านคนถูกส่งกลับถิ่นเดิมโดย UNHCR ทั้งจากอิหร่านและปากีสถาน ประมาณ 3.5 ล้านคนมาจากปากีสถาน ในขณะที่ 1.5 ล้านคนมาจากอิหร่าน ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 รัฐบาลอิหร่านได้ผลักดันผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันที่ไม่ลงทะเบียนออกนอกประเทศอย่างจริงจัง โดยใน พ.ศ. 2551 มีผู้ถูกผลักดันกลับไป 362,000 คน
  • ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 มีผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันที่ลงทะเบียนราว 1.7 ล้านคนยังคงอยู่ในอัฟกานิสถาน ซึ่งรวมทั้งผู้ที่เกิดในอัฟกานิสถานในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาซึ่งยังถูกนับเป็นประชากรของอัฟกานิสถาน พวกเขายังได้รับอนุญาตให้ทำงานและเรียนหนังสือได้จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2555 มีผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันที่ลงทะเบียน 935,600 คนในอิหร่านรวมทั้งผู้ที่เกิดในอิหร่านด้วย


เขียนเมื่อวันที่ 3พ.ค.2557

เอกสารอ้างอิง

หมายเลขบันทึก: 567388เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 11:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท