ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย เชื่อมต่อกับสังคมโลก


ประเทศไทย ถือเป็นประเทศที่มีที่ตั้งอันรายล้อมไปด้วยประเทศอื่นอีกหลายหลายประเทศ เปรียบเสมือนถนนสายกลาง หรือจุดกึ่งกลาง ที่ต้องผ่าน หากต้องการเดินทางจากประเทศหนึ่งไปสู่ประเทศหนึ่ง โดยประเทศไทยนั้น  ด้านทิศเหนือ มีอาณาเขตจดประเทศเมียนมาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวทิศตะวันออก จดประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา ทิศตะวันตก จดประเทศเมียนมา และทิศใต้ จดประเทศมาเลเชีย

 จากที่ตั้งดังกล่าว  เชื่อมโยงมาสู่ปัญหาปัจจุบัน ในประเด็นเรื่องผู้หนีภัยความตายและสิทธิมนุษยชน จึงพอทำให้เข้าใจได้ว่า สาเหตุที่สำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้ประชากรหรือผู้หนีภัยความตายจากประเทศอื่น ดังเช่นประเทศเมียนมา ไม่ว่าจะเป็นชาวพม่าหรือชาวกระเหรี่ยง เลือกที่จะหนีภัยความตายมาประเทศไทย  อาจเป็นเพราะเรื่องเขตแดนที่ติดกันก็เป็นได้  และสาเหตุอีกประการหนึ่งที่น่าจะเป็นไปได้ก็คือ ความเชื่อถือ หรือไว้วางใจในประเทศที่สอง กล่าวคือ ความไว้วางใจจากผู้ลี้ภัย ว่าประเทศไทยจะสามารถช่วยเหลือพวกเขาทางด้านสิทธิมนุษยชนได้ ความเชื่อใจที่ว่าพวกเขาจะไม่โดนตอกย้ำ ให้ได้รับความสาหัสทางร่างกายและจิตใจ และความเชื่อ ว่าพวกเขาจะมีชีวิตที่ดีขึ้น และได้รับการรับรอง การปฏิบัติ ในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งเช่นกัน

 ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และควรให้ความสำคัญ กับประเด็นต่อมาที่ว่า เช่นนั้นแล้วความเชื่อดังกล่าวของพวกเขา เรา....ในฐานะที่เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ สามารถให้สิ่งเหล่านั้นแก่เขาได้หรือไม่ จริงอยู่ ที่ประเทศไทยมิได้ลงนามเป็นภาคีสมาชิก อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย แต่ประเทศไทย ก็ได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาอันเกี่ยวข้องกับการรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ต่างๆมากมาย ที่สำคัญก็คือ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ หรือ Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination หรือ CERD และ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมอืงและสิทธิทางการเมือง หรือ International Covenant on Civil and Political Rights  หรือ ICCPRด้วยเหตุนี้ แม้ประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสภานภาพผู้ลี้ภัย แต่ก็จะขับไล่ผู้หนีภัยความตายจากประเทศอื่นออกไปไม่ได้ เพราะถือเป็นการกระทำ ที่ทำให้พวกเขาเหล่านั้นไปตาย อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนในโลกพึงมี

 จากการสืบค้นข้อมูล และรับฟังประเด็นปัญหาผู้ลี้ภัยความตายที่หนีมาอยู่ในประเทศไทย ทำให้ทราบว่าประเทศไทยนั้น แม้จะรับผู้ลี้ภัยความตายเข้ามาดูแล ซึ่งพื้นที่ที่ดูแลนั้นมีลักษณะเป็นค่ายกักกัน มีการทำรั้วรอบของชิดไว้อย่างแน่นหนา เพื่อใช้เป็นที่อยู่สำหรับผู้หนีภัยจากประเทศต่างๆ ซึ่งในค่ายบางพื้นที่ ไม่มีการรับรองสิทธิมนุษยชนให้พวกเขาเหล่านั้นอย่างแท้จริง หรือกล่าวได้ว่า ประเทศไทย มีการกระทำการ ที่ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อพวกเขา ดังเช่น จากบทสัมภาษณ์ “สิทธิของผู้หนีภัยความตาย”จากมุมมองนักวิชาการด้านสิทธิ ซึ่งได้ออกมาแสดงความคิดเห็นและให้สัมภาษณ์ว่า การกักกันให้ผู้ลี้ภัยอยู่แต่ในค่าย ไม่ปล่อยให้ออกมาข้างนอกนั้น ในระยะแรก ที่เริ่มตั้งค่าย รัฐไทยคาดว่าผู้ลี้ภัยจะอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหกเดือนหรือหนึ่งปีเท่านั้น พอเหตุการณ์สู้รบสงบลงก็จะส่งกลับไป แต่จนถึงปัจจุบัน บางค่ายอยู่กันเป็นสิบยี่สิบปีแล้วก็ยังไม่ได้กลับเพราะสงครามยังไม่สงบ แต่ปัญหาก็คือนโยบายของรัฐไทยยังเป็นนโยบายสำหรับการอยู่ชั่วคราวเหมือนเดิม โดยไม่ได้พัฒนากรอบความคิดว่า การที่เอาคนมากักเอาไว้เป็นระยะสิบยี่สิบปีจะทำให้เกิดผลเสียกับมนุษย์อย่างไรเด็กที่เกิดและโตในค่ายผู้ลี้ภัยไม่มีโอกาสได้ทำงานเหมือนคนทั่วไป  เมื่อไม่ได้ทำงาน คุณค่าของเขาก็ลดน้อยลง ความรู้สึกของเขาในการอยู่ไปวัน ๆ ไม่ได้ทำอะไร ชีวิตผ่านไป ตรงนี้ทำให้ระดับสากลมีแผนการรณรงค์ออกมาต่อต้านการนำมนุษย์มาเก็บเอาไว้ในคลังสินค้าโดยไม่ได้ทำอะไร เพราะเป็นการจำกัดสิทธิของความเป็นมนุษย์อย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ แต่ก็ทำให้ชีวิตคนจำนวนเป็นแสนคนถูกตัดขาดจากการพัฒนาไป ซึ่งมันส่งผลกระทบต่อตัวของเขาเองและคนรุ่นถัดไปด้วย ”

ดังนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า ปัญหาดังกล่าว เป็นสิ่งที่ประเทศไทยควรให้ความสำคัญ โดยพึงคำนึงถึงคำพูดที่ว่า เอาใจเขามาใส่ใจเรา” เป็นสำคัญ ควรมีการคิดหาทางแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า ควรมีการปฎบัติให้เป็นไปตาม กฎหมายระหว่างประเทศที่เราได้ไปเป็นภาคีสมาชิก ปฏิบัติให้ได้อย่างที่เราได้ให้สัญญาไว้ ทำให้กฎหมายมีผลใช้บังคับให้ได้ในทางปฏิบัติ เช่น เรื่องการคุ้มครองสิทธิจากการถูกละเมิดทางร่างกาย กลไกทางกฎหมายก็มีอยู่ แต่กลไกที่จะทำให้กฎหมายบังคับใช้ยังมีปัญหา เช่น ถ้าผู้หนีภัยความตายถูกข่มขืน กลไกทางกฎหมายไทยมีการให้ความคุ้มครองตรงนี้ โดยหากไปแจ้งความเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะต้องส่งอัยการฟ้องเพื่อจับกุมดำเนินคดี แต่ว่ากลไกที่จะบังคับใช้ยังมีปัญหาอยู่ตรงที่ หากผู้หนีภัยความตายถูกข่มขืนแต่ไม่มีบัตรประจำตัวอะไรเลย เมื่อเดินทางไปแจ้งความก็จะถูกกลไกของกฎหมายเข้าเมืองอีกฉบับหนึ่งควบคุมไว้ ทำให้ถูกจับในฐานผู้หลบหนีเข้าเมืองก่อนที่จะแจ้งความว่าถูกข่มขืน จึงกลายเป็นว่า ประเทศไทยมีกฎหมายดี แต่ไม่สามารถบังคับใช้ได้จริง

ทั้งนี้ หากประเทศไทย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในภาคีอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนต่างๆ แต่ไม่สามารถทำให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปได้จริง หรือ มีเจตนาที่จะไม่ให้การบังคับใช้เป็นไปได้จริง ไม่เพียงแต่ผู้บังคับใช้กฎหมายเท่านั้น ที่จะได้รับการดูถูก และไม่ไว้วางใจจากคนในประเทศ แต่จะส่งผลกระทบไปสู่ภายนอกประเทศด้วย กล่าวคือ ประเทศอื่นๆก็อาจจะออกมาต่อต้าน และไม่ให้การยอมรับประเทศของเรา

 

อ้างอิง

http://salweennews.org/home/?p=986 บทสัมภาษณ์ : “สิทธิของผู้หนีภัยความตาย”จากมุมมองนักวิชาการด้านสิทธิ

http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-5112.htm

http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/iccprt.pdf    

หมายเลขบันทึก: 567298เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2014 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2014 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท