drapichart
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ สนธิสมบัติ

KM_ปีการศึกษา 2556 เรื่อง“การตั้งโจทย์งานวิจัย เพื่อพัฒนาชุมชนและอุตสาหกรรม”


ท่านสามารถโพสต์เรื่องราวที่มีประโยชน์ลงในบันทึกนี้ครับ สำหรับการประชุม KM 22 เมษายน 2557 ณ ห้อง E405 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ 5 ธันวาคม 2550 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี (รบกวนอย่าโพสต์เรื่องงานวิจัยของท่านเอง เช่น อาจารย์อภิชาติ ทำเกี่ยวกับเรื่องผงไหมนาโน แล้วอธิบายเรื่องของกระบวนการผลิตผงไหมนาโน (อันนี้ไม่ใช่ KM งานวิจัยนะครับ) เพราะ KM ควรเป็นเรื่องที่ทุกคนทำได้ ท่านควรอธิบายว่าท่านจะทำอย่างไร หรือมีกลยุทธ์ดีๆ อย่างไร ที่จะทำให้งานวิจัยท่านมีคุณภาพ หรือมีความสอดคล้องกับสภาพสังคม/สภาพปัญหา ฯลฯ มากกว่าครับ)

หมายเลขบันทึก: 566201เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2014 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2014 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

บัญชีรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2556

ชื่อหน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์

ประเด็นความรู้ : ด้านงานวิจัย

หัวข้อประเด็นการความรู้: “การตั้งโจทย์งานวิจัย เพื่อพัฒนาชุมชนและอุตสาหกรรม”

วันเดือนปีที่ดำเนินการ: วันที่ 28 พฤษภาคม 2557 (KM ครั้งที่ 2)

องค์ความรู้ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนรู้

ชื่อ-นามสกุล ภาควิชา องค์ความรู้ที่ได้
อ.ธนสิน บุญนาม วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ - มีเพื่อนเป็นผู้ประกอบการ ให้โจทย์มาแก้ไข โดยจะสอบถามว่าทำได้หรือไม่ได้ - ทุนส่วนใหญ่ได้จากผู้ประกอบการ
อ.พฤกษา สวาทสุข วิศวกรรมเกษตร - งานวิจัยมาจากการขอคำปรึกษา ด้านวิชาการ จากผู้ประกอบการ - จากนักศึกษาสหกิจศึกษา ไปนิเทศให้โจทย์มา
ดร.บิณฑ์สันต์ ขวัญข้าว วิศวกรรมสิ่งทอ - จากการอ่านหนังสือ วารสาร งานวิจัย มาต่อยอด - ปรึกษาเพื่อนๆ ในสาขาที่เกี่ยวข้อง - สังเกตจากชุมชน ของเหลือใช้ นำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

- . ต้องหาหัวข้อจากผู้นำชุมชน หัวหน้าชุมชน พัฒนากรอำเภอ อบต. อบจ. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น หรือหาหัวข้อจากของเหลือ ของเสีย ในชุมชนนั้น

- หาข้อมูลจากนักศึกษา/เจ้าหน้าที่/อาจารย์ที่มีภูมิลำเนาในท้องถิ่นนั้นๆ เป็นผู้พาไปหาผู้นำ

ผศ.สุนี หทัยวสีวงศ์ วิศวกรรมสิ่งทอ - เข้าไปเป็นที่ปรึกษา บริษัทฯ เชิญให้ไปแก้ไขปัญหา อยากได้นักศึกษา ส่งนักศึกษาไปฝึกงาน นำกลับมาเล่าให้นักศึกษาคนอื่นๆ ฟัง - หัวหน้าโครงการวิจัย และนักวิจัยจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ หรือมีผลงาน หรือสำเร็จการศึกษาในงานด้านนั้นมาก่อน
ดร. ณัฐชา เพ็ชรยิ้ม วิศวกรรมเคมีและวัสดุ - ได้ทุนร่วมกับ สวทช. และภาคอุตสาหกรรม - สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) http://www.trf.or.th สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) http://www.thaihealth.or.th สำนักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ (วช.) http://www.nrct.go.th สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) http://www.nstda.or.th - ปัญหาจากโรงงานอุตสาหกรรม
ดร.วินัย จันทร์เพ็ง วิศวกรรมเครื่องกล - ดูที่ความสามารถ ว่าตนเองถนัดอะไร - ดูที่หน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย ตรงประเด็น เราจะทำหัวข้อตามที่เค้าต้องการ เช่น สนใจรถไฟ แต่ วช. ไม่เน้น หัวข้อก็ถูกตีตกไป - ต้องศึกษาว่าหน่วยงานมีแบบฟอร์มให้กรอกข้อมูลอย่างไร ต้องทำให้ถูกต้องตามนั้น มิฉะนั้นอาจจะไม่ได้รับการพิจารณา
อ.ศุภเอก ประมูลมาก วิศวกรรมอุตสาหการ - เดินทางไปเที่ยวงานต่างๆ OTOP ตามกระบวนการผลิต เสนอเค้าไป สร้างอุปกรณ์ดีหรือไม่? ส่วนใหญ่จะบอกว่าดี ทุนต้องไปขอกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ วช. ซึ่งขอได้ทุกปี เพราะมีเจ้าภาพ หรือชุมชนต้องการจริงๆ - ไม่ควรใช้ความคิดของตัวเอง เพื่อไปชี้นำชุมชน แต่ควรเป็นผู้ที่ยอมรับฟังความคิดเห็น แล้วจึงหาแนวทาง หรือข้อมูลไปนำเสนอ (อย่าเพิ่งตัดสินใจแทน เพราะเราไม่ใช่คนในพื้นที่ ไม่รู้ปัญหา) และต้องมองปัญหารอบด้าน แบบ 360 องศา เสมอ
ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ วิศวกรรมสิ่งทอ - หัวข้องานวิจัยได้จากคนในองค์กร เช่น THTI ต้องสืบจากบุคลากรในหน่วยงานนั้นว่าปีนี้จะเน้นการวิจัยเรื่องใด ใครเสนออะไรเข้ามา จะได้ไม่เสนอซ้ำ เป็นต้น - ติดต่ออย่างไม่เป็นทางการกับผู้ดูแลทุน ในการหาหัวข้อวิจัย โดยดูจากความต้องการของหน่วยงานในปีถัดไป (ต้องพยายามหาหัวข้อที่สนใจขององค์กรนั้นๆ เพื่อให้ได้รับการพิจารณาทุน) - หัวข้องานวิจัยได้จากบริษัท โครงการ iTAP สวทช. โดยเข้าไปดูจากงานจริง แล้วเขียนโครงการเสนอบริษัท และสวทช. เพื่ออนุมัติโครงการ (ส่วนใหญ่เป็นโครงการแก้ไขปัญหาการผลิตในโรงงานขนาด SME ถ้าเป็นขนาดใหญ่ทุนจดทะเบียนเกิน 200 ล้านบาทขึ้นไป จะไม่ได้รับการพิจารณา หรือถ้ามีต่างชาติถือหุ้นเกินกว่าที่ สวทช.กำหนดก็จะไม่ได้รับการพิจารณาทุน)

- หัวข้องานวิจัยได้จากเจ้าของบริษัทโดยตรง

- หัวข้องานวิจัยได้จากนักศึกษาที่หาที่ฝึกงานสหกิจ และค้นคว้าเอง

- หาหัวข้อจากแผนยุทธศาสตร์ของชาติ หรือจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เช่น สถาบันอาหาร สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สถาบันยานยนต์ สถาบันสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

สรุป

1. เทคนิคสำคัญคือต้องมีคนแนะนำในการเข้าพบเจ้าของโรงงาน หรือผู้ให้ทุนเอกชน

2. การหาทุนมาจากหลายแหล่ง เช่น จากหน่วยงาน จากนักศึกษาสหกิจที่พบปัญหา จากสื่อหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ ซึ่งเป็นสถานการณ์จริงๆ ในปัจจุบัน เช่น ปัญหาภัยแล้งจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำไร่เลื่อนลอย ปัญหาน้ำมันรั่วจากเรืออับปาง ปัญหาไฟไหม้ป่า เป็นต้น

3. การหาหัวข้ออาจจะมาจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของชุมชน จากการขอคำปรึกษา ด้านวิชาการจากผู้ประกอบการ จากนักศึกษาสหกิจศึกษาไปนิเทศให้โจทย์มา ปรึกษาเพื่อนๆ ในสาขาที่เกี่ยวข้อง จากการอ่านหนังสือ วารสาร งานวิจัย มาต่อยอดหาหัวข้อจากแผนยุทธศาสตร์ของชาติ หรือจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เช่น สถาบันอาหาร สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สถาบันยานยนต์ สถาบันสิ่งแวดล้อม เป็นต้น จากหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงพลังงาน (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) http://www.trf.or.th สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) http://www.thaihealth.or.th สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) http://www.nrct.go.th สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) http://www.nstda.or.th) จากนักศึกษา/เจ้าหน้าที่/อาจารย์ที่มีภูมิลำเนาในท้องถิ่นนั้นๆ เป็นผู้พาไปหาผู้นำ เป็นต้น

4. หัวหน้าโครงการวิจัย และนักวิจัยจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ หรือมีผลงาน หรือสำเร็จการศึกษาในงานด้านนั้นมาก่อน

5. ดูที่หน่วยงานที่ให้ทุนวิจัย ตรงประเด็น เราจะทำหัวข้อตามที่เค้าต้องการ เช่น สนใจรถไฟ แต่ วช. ไม่เน้น หัวข้อก็ถูกตีตกไป

6. ติดต่ออย่างไม่เป็นทางการกับผู้ดูแลทุน ในการหาหัวข้อวิจัย โดยดูจากความต้องการของหน่วยงานในปีถัดไป (ต้องพยายามหาหัวข้อที่สนใจขององค์กรนั้นๆ เพื่อให้ได้รับการพิจารณาทุน)

7. ที่ประชุมมอบให้ฝ่ายเลขานุการ ไปรวบรวมข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ มาทำเป็นบทสรุปรายงาน เพื่อนำขึ้นเว็บไซท์ของคณะฯ ต่อไป.

#############################################

รายละเอียดสามารถคลิ๊กที่ลิงก์ด้านบน จะเป็นเรื่องที่ละเอียดกว่าการหาหัวข้อครับ

http://home.kku.ac.th/chakso/322261_Fall10/reseach...

เรื่องแนวทางการเขียนโครงร่างการวิจัย จาก คณะกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ ความชำนาญ

ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ครอบครัวราชวิทยาลัย

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย 2551 

การเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา 6 หัวข้อ คือ

1.1 ทุนวิจัยส่วนตัวหรือความสนใจของผู้วิจัย

ควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด และควรเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป

1.2 ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัย

ควรเลือกเรื่องที่มีความสำคัญ และนำไปใช้ปฏิบัติหรือสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ได้

โดยเฉพาะเกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพในชุมชนและอุตสาหกรรม หรือเชื่อมโยงความเป็นอยู่

ของชุมชนและอุตสาหกรรม

1.3 เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้

เรื่องที่เลือกต้องอยู่ในวิสัยที่จะทำวิจัยได้ โดยไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่น

ด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลาและการ

บริหาร ด้านการเมือง หรือเกินความสามารถของผู้วิจัย

1.4 ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว

ซึ่งอาจมีความซ้ำซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชื่อเรื่องและ

ปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุด) สถานที่ที่ทำการวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัย วิธีการ หรือ

ระเบียบวิธีของการวิจัย

1.5 เป็นประเด็นปัญหาที่มาจากชุมชน และอุตสาหกรรม

ควรจะต้องมาจากชุมชน ชาวบ้าน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และโรงงานอุตสาหกรรม

ซึ่งอาจเป็นประเด็นปัญหาที่ต้องการปรับปรุง

1.6 ทุนวิจัยที่มาจากความต้องการเจ้าของทุน เช่น

วช. http://www.nrct.go.th/th/Welcome.aspx

สกว. http://www.trf.or.th/

สวทช. http://www.nstda.or.th/index.php

สถาบันยานยนต์ http://www.thaiauto.or.th/2012/

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ http://www.thaitextile.org/main/index_t.php

สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น http://www.tni.ac.th/web/

สถาบันอาหาร http://www.nfi.or.th/_th/th/index.php

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย http://www.tei.or.th/

สถาบันพลาสติก http://www.thaiplastics.org/

สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ http://www.thaieei.com/2013/th/

สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน http://www.efai.or.th/

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม http://www.ismed.or.th/

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ http://www.pim.ac.th/th/

บริษัท………………. เป็นต้น

ขั้นตอน Plan (การเลือกหัวข้อเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร)

การเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา 6 หัวข้อ คือ

1.1 ทุนวิจัยส่วนตัวหรือความสนใจของผู้วิจัย

ควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด และควรเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป

1.2 ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัย

ควรเลือกเรื่องที่มีความสำคัญ และนำไปใช้ปฏิบัติหรือสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ได้

โดยเฉพาะเกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพในชุมชนและอุตสาหกรรม หรือเชื่อมโยงความเป็นอยู่

ของชุมชนและอุตสาหกรรม

1.3 เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้

เรื่องที่เลือกต้องอยู่ในวิสัยที่จะทำวิจัยได้ โดยไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่น

ด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลาและการ

บริหาร ด้านการเมือง หรือเกินความสามารถของผู้วิจัย

1.4 ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว

ซึ่งอาจมีความซ้ำซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชื่อเรื่องและ

ปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุด) สถานที่ที่ทำการวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัย วิธีการ หรือ

ระเบียบวิธีของการวิจัย อาจสืบค้นจากเว็บไซท์ http://www.google.com หรือเว็บไซท์ http://www.turnitin.com เพื่อทดลองว่าซ้ำซ้อนกับฐานข้อมูลหรือไม่ ถ้าซ้ำซ้อนเกินร้อยละ 20 แสดงว่ามีผู้ทำมาก่อน จะต้องเลี่ยงทำวิจัยให้ฉีกแนวออกไป

1.5 เป็นประเด็นปัญหาที่มาจากชุมชน และอุตสาหกรรม

ควรจะต้องมาจากชุมชน ชาวบ้าน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และโรงงานอุตสาหกรรม

ซึ่งอาจเป็นประเด็นปัญหาที่ต้องการปรับปรุง

1.6 ทุนวิจัยที่มาจากความต้องการเจ้าของทุน เช่น

วช. http://www.nrct.go.th/th/Welcome.aspx

สกว. http://www.trf.or.th/

สวทช. http://www.nstda.or.th/index.php

สถาบันยานยนต์ http://www.thaiauto.or.th/2012/

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ http://www.thaitextile.org/main/index_t.php

สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น http://www.tni.ac.th/web/

สถาบันอาหาร http://www.nfi.or.th/_th/th/index.php

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย http://www.tei.or.th/

สถาบันพลาสติก http://www.thaiplastics.org/

สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ http://www.thaieei.com/2013/th/

สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน http://www.efai.or.th/

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม http://www.ismed.or.th/

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ http://www.pim.ac.th/th/

บริษัท………………. เป็นต้น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท