drapichart
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ สนธิสมบัติ

KM_ปีการศึกษา 2556 เรื่องเทคนิคการทำสื่อการสอนโดยใช้สื่อ Power Point


ท่านสามารถโพสต์เรื่องราวที่มีประโยชน์ลงในบันทึกนี้ครับ สำหรับการประชุม KM 22 เมษายน 2557 ณ ห้อง E405 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ 5 ธันวาคม 2550 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี

หมายเลขบันทึก: 566200เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2014 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2014 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สรุป

1. การใช้สี สีพื้นควรเน้นสีอ่อน เช่นสีขาว หรือสีพื้นหลังมี 2 แบบ ถ้าเป็นพื้นอ่อน ตัวหนังสือต้องเข้ม แต่ถ้าเป็นพื้นเข้ม ตัวหนังสือต้องอ่อน หรือสีขาว จะทำให้อ่านชัดเจน (ระวังพื้นเข้ม ตัวหนังสืออ่อน เวลาพิมพ์แจกนักศึกษาจะเปลืองหมึก!!!) และพื้นหลังไม่ควรมีลวดลายลานตา เพราะจะทำให้ผู้เรียนไปสนใจกับลวดลายมากกว่าเนื้อหา หรืออ่านไม่ออก

2. มีการใช้รูป ภาพประกอบ มีจุดเด่นเพียงจุดเดียว

3. การเรียงลำดับการนำเสนอ บอกหัวข้อที่จะสอน และสรุปตอนท้าย (Template)

4. ควรมีลิงก์ข้อมูลในอินเตอร์เน็ต

5. ขนาดตัวอักษร ตัวเล็ก 32 Points ตัวใหญ่ 60 Points และตัวอักษรไม่ควรมี Font เกิน 2 แบบ เพราะจะทำให้ผู้เรียนสับสน

6. มีการตกแต่งภาพ โดยใช้ Paintbrush หรือเขียนไดอะแกรมด้วย Visio

7. ใช้ภาพเคลื่อนไหวจาก YouTube

8. ภาษาอังกฤษควรใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรก ถ้าตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดอ่านยาก

9. ถ้า Insert ภาพ แล้วภาพแตก ให้ลองใช้วิธี Copy –> Paste แทน

10. ถ้ากลัวแบบตัวอักษรไม่มีในเครื่อง ทำให้สไลด์เป็นตัวอักษรแปลกๆ ขอให้ลองไปดาวน์โหลดที่ http://www.f0nt.com (เอฟ ศูนย์ เอ็น ที)

11. - การเรียงสไลด์ไม่ดี จะทำให้เกิดปัญหาผู้เรียนสับสน ดังนั้นควรตรวจสอบก่อนทุกครั้ง เพราะสมัยนี้สามารถก๊อปปี้แล้ววางได้ ดังนั้นอาจมีสไลด์ซ้ำ หรือเรียงลำดับไม่ถูกต้องได้

12. ควรเพิ่มสไลด์รองสุดท้าย เพื่อเป็นการสรุป/ทบทวน และถ้าจะให้ดีควรมีสไลด์สุดท้าย เป็น “Questions” หรือ “ช่วงถาม-ตอบ” เพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังถามคำถามหรือร่วมอภิปราย

13. - เพื่อป้องกันการสับสน ควรมีเลขหน้าของสไลด์ทุกหน้า และควรใส่หัวข้อเรื่องทุกสไลด์ เพื่อป้องกันการสับสน เช่น “การวิเคราะห์ข้อมูล” เมื่อสไลด์ต่อไปควรเป็น “การวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ)” เป็นต้น

14. ใช้อักษรตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ ดีกว่าอักษรตัวเอียงๆ เพราะผู้เรียนอ่านยาก

15. ควรใช้ Bullet รายการสั้นๆ แทนการใส่ข้อความเต็มไปหมดทั้งหน้าสไลด์

16. สุภาษิตจีนบอกว่า “ภาพหนึ่งคำแทนคำพูดได้มากกว่าหมื่นคำพูด” ดังนั้นควรใช้แผนภูมิ แผนภาพ ตารางสถิติ มาช่วยประกอบการเข้าใจ จะดีกว่า และต้องเน้นสีกับตัวเลข หรือจุดที่สำคัญๆ เพื่อให้จดจำได้ง่ายขึ้น

17. ปกติสไลด์หนึ่งจะมีเพียงหนึ่งประเด็น แต่ถ้าต้องการพูดหลายประเด็น ควรใช้วิธีเปิดเผยทีละส่วน เพื่อควบคุมสมาธิของผู้เรียนให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ต้องการนำเสนอ

18. อย่าใช้ Effect มากเกินไป เช่น มีทั้งตัวอักษรวิ่งจากซ้ายไปขวา วิ่งทะแยงมุม หายวับไปกับตา ค่อยๆ จางหายไป เป็นต้น ทำไปทำมาผู้เรียนจะสับสน และเสียสมาธิ เพราะผู้เรียนจะลุ้นว่าใช้ Effect ไหนต่อไป

19. ที่ประชุมมอบให้ฝ่ายเลขานุการ ไปรวบรวมข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ มาทำเป็นบทสรุปรายงาน เพื่อนำขึ้นเว็บไซท์ของคณะฯ ต่อไป.

สนใจสามารถโหลดเนื้อหาเต็มได้ที่นี่ครับ

KM_powerpoint.docx

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท