ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/ผู้หนีภัยความตาย


บันทึกเมื่อ วันศุกร์ ที่18 เม.ย. 2557

       ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหาร หรือได้รับการคุกคามต่อชีวิต
       อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 ให้ คำนิยาม และความหมายของสถานภาพผู้ลี้ภัยว่า ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหารหรือได้รับการคุก คามต่อชีวิตเนื่องจากสาเหตุข้อหนึ่งข้อใด เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติสมาชิกภาพในกลุ่มทางสังคม สมาชิกภาพในกลุ่มความคิดทางการเมือง
ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างรวมไปถึงชีวิตความเป็นอยู่ บ้านเรือน และแม้แต่ครอบครัว ผู้ลี้ภัยไม่อาจพึ่งพาความคุ้มครองจากรัฐบาลของตนเอง พวกเขาถูกบังคับให้หนีจากประเทศของตนเอง จึงจำเป็นที่ประชาคมนานาชาติต้องให้ความช่วยเหลือ และให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยเหล่านั้น

      ผู้หนีภัยความตาย คือ ผู้หนีภัยที่เกิดกับชีวิต ทั้งภัยโดยตรง และโดยอ้อม

  1. ภัยความตายโดยตรง เช่น ภัยจากการสู้รบ
  2. ภัยความตายโดยอ้อม แบ่งออกเป็นสองประเภท  คือ ภัยความตายทางกายภาพและ ภัยความตายทางจิตใจ
  3. ภัยความตายทางกายภาพ เป็นภัยซึ่งเกิดจากการคาดการณ์ได้ว่า ถ้าไม่หนีออกมาจากพื้นที่นั้นจะต้องตาย เช่น เมื่อรู้ข่าวว่ามีกองทหารกำลังจะเข้ามาที่หมู่บ้านและมีข้อมูลว่า หากทหารเข้ามาในหมู่บ้านแล้วจะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจนถึงขั้นเสียชีวิต ได้ จึงหนีออกมาก่อนที่ทหารจะมาถึง หรือ กรณีการถูกบังคับเก็บภาษี หรือการข่มขืน ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามก็มีความเสี่ยงที่จะตายได้
  4. ภัยความตายอีกประเภทหนึ่งคือภัยความตายทางจิตใจ เช่น การข่มขืน     

        จากการศึกษากรณีประเทศซีเรีย เกิดเหตุการณ์สงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลทหารกับประชาชน เดิมเป็นการชุมนุมโดนสงบ รัฐบาลไม่พอใจมีการสั่งยิง ประชาชนถูกการทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ซึ่งตัวกฎหมายระหว่างประเทศยังไม่เข้ามา แต่เนื่องจากปัญหาในซีเรียเริ่มใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีความรุนแรงมากขึ้นและนำไปสู่สงครามระหว่างประเทศเมื่อมีประเทศอื่นๆได้เข้าช่วยเหลือฝ่ายรัฐบาล กล่าวคือ กบฏเลบานอนที่รัฐบาลจ้างมาเพื่อสู่กับประชาชน และฝ่ายประชาชน ก็มีฝ่ายทหารบางรายที่มีการแปรพรรคมาช่วยประชาชน และ UN ก็ไม่สามารถเข้าช่วยระงับเหตุการณ์ได้เพราะประเทศรัสเซียผู้มีสิทธิ ได้ใช้สิทธิ Veto เพราะมีความสัมพันธ์กับประธานาธิบดี ดังนั้นจึงไม่ใช่แค่สงครามกลางเมืองอีกต่อไป

       ประชาชนในประเทศจึงไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ในประเทศซีเรียได้ เพราะถูกรัฐบาลละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยใช้กำลัง และใช้อาวุธทำร้ายร่างกายประชาชนในประเทศตน ประชนจึงต้องหนีภัยในประเทศเข้าไปในประเทศโดยรอบที่มีชายแดนประเทศติดต่อกัน และประชาชนดังกล่าวจึงถือเป็นผู้ลี้ภัย ตามความหมายของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 

        สิทธิของผู้ลี้ภัยตามกฎหมายระหว่างประเทศ สิทธิหลักในการคุ้มครองผู้ลี้ภัย ตามที่ระบุในอนุสัญญา ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ดังปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้แก่ สิทธิที่จะมีชีวิต เสรีภาพ และความปลอดภัยสิทธิในการแสวงหาและพักพิง สิทธิที่จะได้รับการรับรองสถานภาพบุคคลตามกฎหมายอิสรภาพจากการถูกจับกุมและคุมขังโดยพลการ สิทธิที่จะได้รับการศึกษาสิทธิที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชน ดั้งนั้นผู้ลี้ภัยจะต้องได้รับสิทธิต่างๆเหล่านี้

        ส่วนกรณีศึกษาของประเทศไทยที่มีผู้หนีภัยความตายผ่านมาประเทศไทยจะมีผู้หนีภัยความตายจากปัญหาความไม่สงบในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศพม่าที่เข้ามาอาศัยจำนวนหลายแสนคน แต่เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้ลงนามเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย ทำให้การให้ความช่วยเหลือผู้หนีภัย ความตายในประเทศไทยไม่ได้ดำเนินไปตามมาตรฐานระดับสากลและนอกจากนี้ สังคมไทยส่วนใหญ่ยังคงขาดความเข้าใจในเรื่องสิทธิของผู้หนีภัยความตาย จนนำไปสู่การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมหรือละเมิดสิทธิผู้หนีภัยความตายและเนื่องจากประเทศไทยไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยสถานะภาพผู้ลี้ภัยพ.ศ.2494 และไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย หรือกระบวนการที่ใช้งานได้เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ขอลี้ภัย

       เมื่อพิจารณากฎหมายภายในประเทศไทยกับกฎหมายระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันกับประเทศไทย ปรากฏว่ามีความสอดคล้องกันอย่างลงตัวในกฎหมายสูงสุดของประเทศ กล่าวคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแสดงถึงเจตนารมณ์เคารพสิทธิมนุษยชน และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยไม่เลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ ดังนั้น รัฐไทยจึงมีหน้าที่ผูกพันทั้งจากกฎหมายภายใน และกฎหมายระหว่างประเทศในการปกป้องและเคารพสิทธิมนุษยชนของมนุษย์ทุกคนในประเทศไทย โดยไม่เลือกปฏิบัติ และสิทธิที่สำคัญที่สุด คือ สิทธิในชีวิต

      ข้าพเจ้ามองว่าไม่ว่าจะเป็นผู้ลี้ภัย หรือผู้หนีภัยความตายก็ตามต่างก็เป็นมนุษย์มีความเท่าเทียมกันทุกคน ควรมีความช่วยเหลือโดยเฉพาะกับบุคคลที่หลบหนีภัยความตายเข้ามาในประเทศไทย เนื่องจากยังไม่มีการแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง ควรมีการบัญญัติกฎหมายสำหรับผู้หนีภัยความตาย รวมถึงทางแก้ไขปัญหาที่ถาวรสำหรับผู้หนีภัยความตายในประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง
http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t... (วันที่สืบค้นข้อมูล 14/04/2557)

http://www.hrw.org/node/110102 (วันที่สืบค้นข้อมูล 14/04/2557)

https://www.unhcr.or.th/th/refugee/about_refugee (วันที่สืบค้นข้อมูล 7/04/2557)

คำสำคัญ (Tags): #HR-LLB-TU-2556-TPC
หมายเลขบันทึก: 566195เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2014 03:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท