ย้อนอดีตผ่านของเก่าๆ


หนังสือ เอกสารเก่าๆ และของสะสมที่มีอยู่มากมาย ตัดใจทิ้งไปไม่ได้ เพราะทุกชิ้นมีเรื่องราวดีๆ และความสุขให้ระลึกถึง

วันหยุดยาวสงกรานต์ ปี 2557 ดิฉันใช้เวลารื้อและจัดของต่างๆ ในบ้านหลายอย่าง เพื่อจัดห้องรอรับลูกชายกลับจากการไปศึกษาต่อที่อเมริกา หากไม่มีเหตุเราก็มักจะไม่ไปแตะต้องข้าวของต่างๆ ที่เก็บไว้ สิ่งที่ทำนี้ก็ผลัดวันประกันพรุ่งมาหลายครั้งแล้ว แต่คราวนี้มีเส้นตายบังคับอยู่จึงทำให้ต้องลงมือเสียที

ลำดับแรกคือการขนย้ายหนังสือและเอกสารที่ถูกย้ายมาไว้ในตู้หนังสือในห้องที่ว่างนี้ตั้งแต่ปีที่แล้วช่วงที่มีการปรับปรุงและทาสีบ้านใหม่


หนังสือ เอกสารเก่าๆ และของสะสมที่มีอยู่มากมาย ตัดใจทิ้งไปไม่ได้ เพราะทุกชิ้นมีเรื่องราวดีๆ และความสุขให้ระลึกถึง 

ตอนเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ยุคที่มีการตื่นตัวเรื่องการเมือง นักศึกษามีการผลิตหนังสือเล่มเล็กๆ เผยแพร่ความคิด นักศึกษาพยาบาลรามาธิบดีพี่ๆ น้องๆ ทำหนังสือไปขายตามสถาบันการศึกษาพยาบาลต่างๆ จำไม่ได้แล้วว่าเอาเงินที่ได้ไปทำอะไรต่อ

 

สาธารณสุขสัมพันธ์เล่มละ 3.50 บาท ก้าวต่อไปของประชาธิปไตย เล่มละ 2 บาท พยาบาล? เล่มละ 1.50 บาท

 

เราไม่ได้สนใจแต่การเมือง ยังสนใจดนตรีและเพลงเพราะๆ จึงมีหนังสือที่มีเนื้อเพลงที่ชื่นชอบเก็บไว้ด้วย


เอกสารรวมเล่มที่เป็นต้นแบบของตำราการพยาบาลทางอายุรศาสตร์ ริเริ่มโดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สมจิต หนุเจริญกุล สมัยที่ท่านเป็นอาจารย์พยาบาลประจำหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 1 ได้ให้พวกเราในฐานะพยาบาลประจำการที่จบการศึกษาและเข้าทำงานเมื่อปี 2517 เขียนขึ้นจากประสบการณ์และค้นคว้าความรู้ทางวิชาการควบคู่ไปด้วย

 

คู่มือสำหรับการพยาบาล เมื่อปี 2518 ก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นตำราการพยาบาลอายุรศาสตร์


ของขวัญของฝากที่ประทับใจ เก็บเอาไว้ระลึกถึงผู้ให้

 

American Country Diary ของขวัญจากอาจารย์ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน (ปัจจุบันคือศาสตราจารย์ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล)

 

บันทึกใน Diary ปี 1988

 

Calendar ที่สวยงามจากประเทศญี่ปุ่น


หนังสือเล่มเล็กๆ ที่เอาไว้อ่านสบายๆ ซื้อเองบ้าง ลูกสาวซื้อมาอ่านบ้าง ตั้งใจจะเก็บเอาไว้อ่านตอนเวลาว่างๆ เก็บไว้นานก็ยังไม่ได้หยิบมาอ่านเสียที ลูกสาวเลยขนไปบริจาคเสียเกือบหมด เหลืออยู่ไม่มากนัก ต่อไปจะต้องหยิบออกมาอ่านบ้างแล้ว

 

หนังสืออ่านเล่น

 


หนังสือที่ลูกเคยอ่าน


เรื่องราวการทำงานสมัยก่อนก็ชวนให้นึกถึง ตอนทำงานอยู่ที่ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สมัยนั้นยังไม่มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้สะดวกสบายเหมือนปัจจุบัน สื่อที่ใช้ในการนำเสนอผลงานวิจัยหรือใช้ประกอบการสอน จะต้องออกแบบไปให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยภาพการแพทย์เขียนออกมาก่อนที่จะถ่ายเป็นสไลด์อีกที

 

งานเขียนก่อนทำเป็นสไลด์


สมัยที่เรียนปริญญาเอก จะอ่าน articles อะไรจะต้องใช้วิธีการถ่ายเอกสาร จึงมีเอกสารที่ถ่ายสำเนาและเย็บเล่มรวมกันไว้มากมาย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ Theory development, Self-care, Chronic illness, Health behavior และที่มีมากจริงๆ คือเรื่องเกี่ยวกับเบาหวาน ทั้งความรู้เรื่องโรค การดูแลผู้ป่วย การให้ความรู้ ฯลฯ เก็บเอาไว้เปรียบเทียบความรู้ในอดีตและปัจจุบัน

วัลลา ตันตโยทัย

บันทึกเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2557

หมายเลขบันทึก: 566014เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2014 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2014 12:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีวันปีใหม่ไทย "วันสงกรานต์๒๕๕๗" ค่ะ

กราบสวัสดีอาจารย์วัลลา ในเทศกาลวันครอบครัว นี้นะครับ

ขอให้อาจารย์มีสุขภาพกาย สุขภาพใจ แข็งแรง และได้ทำในสิ่งที่อาจารย์รักแบบนี้ไปตราบนานเท่านาน เลยนะครับ

..

ด้วยความเคารพ ครับ

ขอบคุณ ดร.พจนา และคุณแสงแห่งความดี ขอส่งความสุขปีใหม่ไทย 2557 ไปให้เช่นกันนะคะ

ขอให้อาจารย์วัลลามีความสุขมากๆกับปีใหม่ไทยครับ

เห็นภาพการเก็บของไว้

คิดถึงตอนเรียนปริญญาตรีเลยครับ

ขอบคุณมากๆครับ

อย่านี้ ก็ ต้องหาพื้นที่ในการเก็บมากหน่อยนะคะอาจารย์  

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท