แกงเขียวหวานเห็ดสามอย่าง


แกงเขียวหวานไทยๆเราได้ผักสมุนไพรมาก

แกงเขียวหวานเห็ดสามอย่าง

 

 

 

วิธีทำ

1. พริกแกงเขียวกวานจะตำเองหรือซื้อมาตามสะดวก

2. เห็ดสามอย่างเห็ดอะไรก็ได้ตามชอบ นำดินออกล้างน้ำให้สะอาดผ่าหั่นชิ้นพอคำ

3. สมุนไพร เช่น กระชาย ใบมะกรูด โหระพา มะเขือ ถั่วฝักยาว พริกสดเขียวแดง ฯ

    ทุกอย่างล้างให้สะอาดเด็ด ฉีก ผ่าหั่น บางอย่างแข่น้ำเพื่อไม่ให้สีคล้ำดำคื มะเขือเจ้าพระยา

4. กะทิ คั้นเอง หรือซื้อเป็นกล่อง ใช้มากน้อยอยู่ที่ปริมาณผักสมุนไพรเนื้อสัตว์ที่จะแกงต่อครั้ง

    ถ้าแกง 2 ถ้วย ใช้กะทิประมาณ 250 - 300 กรัม

5. เมือทุกอย่างที่จะแกงพร้อม เปิดไฟตั้งกระทะใส่หัวกะทิ พอเดือดใส่พริกแกงเขียวหวานมากน้อย

   อยู่ที่ปริมาณผักสมุนไพรที่จะใส่ เคี่ยวให้หอมสักพักใส่ น้ำตาลบีป 1 ช้อนชา น้ำปลา ใส่กระชาย

   เพื่อให้น้ำแกงหอมกระชายเคี่ยวสักพักเติมกะทิที่ละน้อยๆก่อน ใส่มะเขือ ถั่วฝักยาว ที่สุกช้าก่อน

   แล้วตามด้วยเห็ด  เติมกะทิให้พอดีตามต้องการหรือพอท่วมผักสมุนไพร ชิมรสว่าพอดีหรือ

   ยังขาดรสอะไรเติมได้อีก พอเดือดอีกครั้งใส่ พริก ใบมะกรูด ใบโหระพา คนให้เข้ากันแล้วปิดไฟ

 

 

แกงเขียวหวานเห็ดสามอย่างเต้าหู้ปลา

 

 

 

 

 

 

 

แกงเขียวหวาน ถ้วยนี้ไม่ได้ใส่กระชาย ถ้าใส่เนื้อสัตว์ให้ใส่หลังจากพริกกับกะทิหอม ก่อนผักสมุนไพร พอเนื้อสัตว์สุกตามด้วยผัก ในถ้วยที่แกงนี้ใส่เต้าหู้ปลา แกงเขียวหวานกินกับข้าวหรือเส้นขนมจีนได้ตามชอบ แกงเขียวหวานในหนึ่งถ้วย หรือ 1 หม้อนั้น มีผักสมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพมากหลายชนิด

ซึ่งบางคนยังเถียงว่าก็แกงใส่กะทิหมอห้าม กินไม่ได้ หากยังกลัวว่ากะทิทำให้สุขภาพไม่ดี ต้องมองดูก่อนนะคะว่า ในถ้วยแกงนั้นมีผักสมุนไพรกี่อย่าง สมุนไพรแต่ละอย่างช่วยให้กะทิออกจากร่างกายได้ไหม หากเคี้ยวให้ละเอียดไม่เขี่ยผักสมุนไพรทิ้ง แกงเขียวหวานที่กำลังตักกินอยู่นั้น มีเนื้อสัตว์ที่มีไขมันหรือไม่  ดังนั้นอาหารที่มีกะทิภูมิปัญญาตั้งแต่บรรบุรุษของไทยเราก็กินแกงกะทิแต่สมัยก่อนโรคไม่มากเหมือนสมัยนี้ที่พฤติกรรมการกินต่างออกไปมาก แล้วบางคนไปโทษอาหารทีมีกะทิมีโทษ ใช่จริงๆหรือ? ไม่ใช่น้ำตาลทรายขาว หรือแป้งขาว หรือไขมันในเนื้อสัตว์ น้ำมันทอด ผัด เนย ครีมเทียม ไขมันทรานส์ ฯ หรือที่มีโทษ

อาหารทุกอย่างกินแต่พอดีไม่กินเกินในแต่ละมื้อตามสภาพร่างกายที่เป็นปกติหรือมีโรค ก็ยังกินอาหารที่มีกะทิได้ ไม่ว่าอาหารใดๆ กินแล้วร่างกายต้องเคลื่อนไหว ออกกำลังกาย ฯ เพื่อช่วยให้ร่างกายเผาผลาญในสิ่งที่กินเข้าไปได้มากที่สุด ไม่ถูกสะสมอยู่ในร่างกายจนเกิดโรคภายหลัง และมีมากๆที่ร่างกายเป็นโรคเพราะ อาหาร และหายจากโรคได้ด้วย อาหารเป็นยา

ผักสมุนไพรผลไม้ที่ไม่มีรสหวาน หวานน้อย กินให้มากต่อวัน และออกกำลังกายสม่ำเสมอนะคะ

 

ด้วยความปรารถนาดี   กานดา แสนมณี

วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ ๒๕๕๗

 

 

หมายเลขบันทึก: 565825เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2014 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2014 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอข้าวด้วยค่ะ พี่ดา...:) น่าทานอีกแล้ว...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท