ครูนอกระบบ
นาง ณัฐนิธิ อารีย์ อักษรวิทย์

<เล่าสู่กันฟัง>กตัญญูแบ่งได้เป็น 5 ประการ


กตัญญู ผู้รู้ความช่วยเหลือเผื่อแผ่ ที่ท่านทําให้ ระลึกถึงความดีที่ผู้อื่นทำให้ตน เช่น ลูกรู้คุณพ่อแม่ ลูกศิษย์รู้คุณอาจารย์ ผู้รู้คุณท่าน ผู้ใดก็ตามที่ทำคุณให้ตนแล้ว ไม่ว่าจะมากก็ตาม น้อยก็ตาม แล้วก็ตามระลึกนึกถึงด้วยความซาบซึ้งไม่ลืมเลย 
พยายามหาโอกาสตอบแทนคุณท่านให้ได้ ความกตัญญูแบ่งได้เป็น 5 ประการ คือ 

1.กตัญญูต่อคน คือ ใครก็ตามที่เคยมีพระคุณต่อเรา ไม่ว่าจะมากน้อยเพียงไร จะต้องกตัญญูรู้คุณท่าน ติดตามระลึกถึงเสมอด้วยความซาบซึ้งพยายามหาโอกาสตอบแทนคุณท่านให้ได้ โดยเฉพาะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บิดามารดา ครู อาจารย์ พระมหากษัตริย์ หรือ ผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองดูแล ที่ทรงทศพิธราชธรรม
(1.)การให้ เช่น ให้ชีวิตเป็นทาน ให้พร 
(2.)การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย 
(3.)การเสียสละ ปล่อยวาง 
(4.)ความซื่อตรง ประพฤติตรง เช่น ซื่อตรงต่อหน้าที่ ไม่คดโกง 
(5.)ความอ่อนโยน มีกิริยาวาจานิ่มนวล 
(6.)ความพยายามจนกว่าจะสําเร็จ
(7.)ความไม่โกรธ 
(8.)ความไม่เบียดเบียน เช่น ไม่เบียดเบียนสัตว์ เบียดเบียนเพื่อนให้สิ้นเปลือง ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน
(9.)ความอดทน ยอมรับสภาพความยากลำบาก
(10.)ความไม่เคลื่อนจากคุณความดี. จะต้องตามระลึกนึกถึงพระคุณของท่าน ให้ปฏิบัติตนให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เช่น เวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นประชาชนที่ดีของประเทศชาติ และเป็น พุทธมามกะสมชื่อ เช่น ผู้ประกาศตนบอกพระพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดา ของตน 

2.กตัญญูต่อสัตว์ สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย คือ สัตว์ที่มีคุณต่อเรา เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ที่ใช้งาน เราต้องเลี้ยงใช้เขา จะต้องใช้ด้วยความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ ไม่เฆี่ยนตีเขาเกินควร 

3.กตัญญูต่อสิ่งของ วัตถุต่างๆ คือ สิ่งต่าง ๆของสิ่งใดก็ตามที่มีคุณต่อเรา เช่นหนังสือ หนังสือธรรมะของพระพุทธเจ้า หนังสือเรียน สถานศึกษา โรงเรียน วัด ต้นไม้ ป่าไม้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการหาเลี้ยงชีพ ฯลฯ 

4.กตัญญูต่อความดี คือ รู้ว่าคนเราเกิดมามีอายุยืนยาว ร่างกายแข็งแรง มีกําลังมาก ผิวพรรณดี ปัญญารู้คิดและไหวพริบดี มีความสุขเดินสายกลางไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป ความเติบโต มีความก้าวหน้าสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในทางที่ดีขึ้น 
มีทรัพย์สมบัติมาก ก็เนื่องมาจากผลของความดี จะไปสวรรค์หรือกระทั่งไปนิพพานได้ก็ด้วยความดี กล่าวได้ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยความดี ทั้งความดีที่ได้สะสมมาดีแล้ว และความดีที่พยายามทำขึ้นประกอบกัน มีความรู้จักคุณของความดี มีกริยาวาจาไหว้เคารพผู้ใหญ่ เคารพสิทธิของผู้อื่น ไม่พูดยกตน พูดอวดความรู้ความสามารถหรือความมั่งมีเป็นต้น ไม่แสดงกิริยา
ท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเชิงดูหมิ่นความดี ตามระลึกถึงความดีให้จิตใจสดชื่น และ 
ไม่ขาดความระมัดระวังในการทำความดีให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป 

5.กตัญญูต่อตนเอง คือ รู้ว่าร่างกายของเรานี้เป็นสิ่งรักษาชีวิตสำคัญที่เราจะได้พึ่งใช้ในการทำความดี ใช้ในการทำความดีต่างๆเพื่อความสุข ความเติบโต มีความก้าวหน้า ให้ตนเองต่อไป คอยระวังรักษาเอาใจใส่ร่างกายรักษาสุขภาพให้ดี ไม่ทำลายด้วยการกินเหล้านํ้าเมา เสพสิ่งเสพย์ติด เช่นเขาฆ่าตัวตายเพราะเสพยาถึงขั้นมึนเมาแล้วกระโดดตึกตาย

 — กับ ศิร สุจริตจันทร

หมายเลขบันทึก: 564903เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2014 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2014 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท