อันตรายของยาลดไขมัน


 เครดิตภาพ-google

อันตรายของยาลดไขมันประเภท Lipitor, Crestor, Vytorin, และ Zocor

เพิ่มความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ไม่ใช้ยาลดไขมันต่อการเป็นโรคเบาหวาน 42และโรคมะเร็งเต้านม 12 เท่า (1)

นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของโรคตับ ไต กล้ามเนื้ออ่อนแรง และต้อกระจก (2)

องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา FDA ได้ออกกฏหมายบังคับให้ฉลากของยาลดไขมันระบุเตือนอันตรายของยาซึ่งสามารถทำให้ความจำเสื่อม น้ำตาลสูง กล้ามเนื้อถูกทำลาย และโรคตับอีกด้วย (3) (5)

ปกติแพทย์จะจ่ายยาลดไขมันให้ในขนาดตั้งแต่ 5 milligrams - 80 milligrams

เพื่อป้องกันโรคหัวใจและเส้นเลือดในสมองแตก

ในผู้ที่มีไขมันในเลือดรวมเกิน 240 mg/dL หรือไขมันชนืดเลวเกิน 130 mg/dL

โดยจะคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆด้วยเช่น กรรมพันธุ์ วิถีชีวิต โรคเบาหวาน ความดัน อ้วน สูบบุหรี่

ท่านสามารถลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและเส้นเลือดในสมองแตกโดยไม่ต้องทานยาลดไขมันได้ด้วยตนเอง

โดยการเลิกบุหรี่ ทานถูกหลักโภชนาการ ออกกำลังกายอย่างน้อยครั้งละ 30 นาทีแทบทุกวัน และบริหารความเครียด (4)

นอกจากนี้ ท่านมีความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงของยาลดไขมันมากยิ่งขึ้นหากท่านเป็นเพศหญิง อายุเกิน 65 ปี มีรูปร่างเล็ก ทานยาอย่างอื่นร่วมอยู่ด้วย มีโรคเบาหวาน ไต หรือตับ  และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์บ่อย (6) (7)

แม้ตัวแพทย์เองก็ยังได้รับผลข้างเคียงจากยาลดไขมันโดยที่คุณหมอชื่อ Dr. Graveline ซึ่งแม้จะใช้ยาในปริมาณที่ต่ำมาก Lipitor เพียง 5 mg ก็เป็นโรคความจำเสื่อมชนิดรุนแรงที่เรียกว่าโรค transient global amnesia ได้ (8)

และนี่เองจึงเป็นสาเหตุที่ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยชาวอเมริกันได้เลิกทานยาลดไขมันกันแล้ว ตั้งแต่เมื่อ 5 ปีก่อน (9)

ปัญหาจากการทานยาลดไขมันไม่หมดเพียงเท่านี้ แต่ยาลดไขมันยังได้หยุดกระบวนการผลิตฮอร์โมนที่สำคัญมากของร่างกายในการสร้างพลังงานในระดับของเซลล์ที่ชื่อ Co-Enzyme Q10 อีกด้วย (10) (11) (12)

และทั้งหมดนี้เป็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งแลกกับสุขภาพของคนไข้ (13)

ในที่สุด ไขมันในเลือดซึ่งจะตรวจไม่พบหลังทานยาลดไขมันแล้วก็ไม่ได้หายไปไหน แต่ไปเกาะรวมอยู่ที่ตับของเราเอง (14)

หมายเหตุ-ผู้เขียนมีสมาชิกที่มาออกกำลังกายจนความดันโลหิตและไขมันชนิดเลวลดลงจนเป็นปกติดีแล้ว แต่แพทย์ก็ยัง                         จ่ายยาลดไขมันให้ทานต่อไป

แหล่งข้อมูล 

1.statin-side-effects

http://drcate.com/statin-side-effects-almost-universal-and-often-missed/?utm_source=Dr.+Cate+Email+Updates&utm_campaign=35bf6e8568-RSS_EMAIL_CAMPAIGN&utm_medium=email&utm_term=0_5fafc09a70-35bf6e8568-47298617 

2. Big Pharma lies about statin drugs finally exposed in British Medical Journal 

http://www.naturalnews.com/028988_statin_drugs_side_effects.html 

3. Statin drugs news, articles and information

http://www.naturalnews.com/statin_drugs.html 

4. Statins: Are these cholesterol-lowering drugs right for you?

http://www.mayoclinic.com/health/statins/CL00010 

5. FDA Expands Advice on Statin Risks

http://www.fda.gov/ForConsumers/ConsumerUpdates/ucm293330.htm 

6. Statin side effects: Weigh the benefits and risks 

http://www.mayoclinic.com/health/statin-side-effects/MY00205

7. Statin Drugs May Increase Risk Of Diabetes

http://www.medicalnewstoday.com/articles/261021.php

8. The Common Drug that Destroys Your Memory

http://articles.mercola.com/sites/articles/archive/2011/02/12/dr-duane-graveline-on-cholesterol-and-coq10.aspx

9. Side Effects of Statins

http://articles.mercola.com/sites/articles/archive/2013/04/17/statin-side-effects.aspx

10. Dangers of Statin Drugs: What You Haven’t Been Told About Popular Cholesterol-Lowering Medicines

http://www.westonaprice.org/cardiovascular-disease/dangers-of-statin-drugs

11. Statin Adverse Effects

https://www.statineffects.com/info/adverse_effects.htm 

12. Statins Inhibit Coenzyme Q10 Synthesis 

http://www.cholesterol-and-health.com/Coenzyme-Q10.html 

13. "ขายยาให้กับคนไม่ป่วย ทางรวยของบริษัทยา" โดยนพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล

http://www.balavi.com/content_th/nanasara/Con00367.asp

14. หนังสือเรื่อง “ล้างพิษท่อน้ำดีและตับ (สูตรล้างพิษโดยไม่ต้องอด)

โดยนพ. บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล

หมายเลขบันทึก: 564902เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2014 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2014 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขออนุญาตนำไปแชร์ที่เฟสบุคนะคะ ขอบคุณค่ะ

ยินดีครับ คุณป้านพ หากสะดวกก็ขอทราบชื่อเฟส(ทางอีเมล์)จะได้ขอเข้าไปอ่านด้วยครับ

ขึ้นชื่อว่ายา

มีทั้งคุณและโทษนะครับ

ตอนนี้กำลังศึกษายาสมุนไพรครับ

ขอบคุณมากๆครับ

ค่ะ คุณขจิต ฝอยทอง คะ
ป้านพก็แพ้ยาปฎิชีวนะ ทุกชนิดเลยค่ะ
และสนใจสมุนไพรเช่นกันค่ะ

จริงครับ สมุนไพรของไทยมีดีมากมาย แต่วงการแพทย์มักไม่ยอมรับโดยอ้างว่าไม่มีงานวิจัยที่วัดปริมาณของตัวยาในเชิงเปรียบเทียบเป็นมาตรฐาน ในขณะที่ชาวต่างชาติพยายามเข้ามาสืบหาความรู้จากสมุนไพรของเราเพื่อไปทำตัวยาและจดลิขสิทธิ์ไปเป็นกรรมสิทธิ์เสียเอง ฝากทุกท่านช่วยกันรักษาทรัพยากรของเราเอาไว้ให้ลูกหลานด้วยนะครับ

ขอบคุณค่ะ

มีคนไข้ในความดูแลกินยาลดไขมันประจำ

และเขาเคร่งครัดที่จะกินยาด้วย

เหมือนไขมันสูงในเลือดเป็นโรคที่เขากลัวมาก

จะนำความรู้ไปแนะนำนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท