การบริหารการเปลี่ยนแปลง


การบริหารการเปลี่ยนแปลง

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

ความหมาย

การใช้เทคนิควิธีที่เป็นระบบ เพื่อประกัน ว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผน และก่อให้เกิดความคุ้มค่าและประสิทธิภาพ ภายในเวลาที่กำหนดและบรรลุเป้าหมายที่ ต้องการ

ปัจจัย

1.ปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ความเปลี่ยนแปลงของสังคม ฯลฯ 2.ปัจจัยภายใน ได้แก่ โครงสร้างองค์การ นโยบายองค์การ กระบวนการทำงาน และการนำระบบเทคโนโลยีมาใช้งาน

ขั้นตอน

1. ขั้นตระหนักรับรู้ปัญหาและความต้องการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การ

2. ขั้นการวิเคราะห์ความท้าทายเชิงกลยุทธ์

3. ขั้นวางแผนกลยุทธ์

4. ขั้นออกแบบกิจกรรมการปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การ

5. ขั้นดำเนินการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การ

6. ขั้นประเมินผลการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์การ

รายละเอียดแต่ละขั้นตอน

1. ขั้นตระหนักรับรู้ปัญหาและ ความต้องการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การ ความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง..... 1. เปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์การจัดการ 2. สร้างบรรยากาศขององค์การ 3. เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการบริหาร 4. เปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ 5. ปรับปรุงความร่วมมือระหว่างกลุ่ม 6. พัฒนาระบบการสื่อสารและข้อมูลที่ทันสมัย 7.เปลี่ยนแปลงการวางแผน กำหนดเป้าหมายแบบมีส่วนร่วม 8. ยุบรวมหน่วยงานย่อยเพื่อแก้ปัญหาความซ้ำซ้อน 9. เปลี่ยนแปลงการจูงใจให้บุคลากรรู้สึกเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการทำงาน 10.ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ ๆ เช่น เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร ปัญหาสังคม

2. ขั้นการวิเคราะห์ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ มี 2 ลักษณะ คือ

2.1 วินิจฉัยสภาพแวดล้อมโดยรวม

2.2 วิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ วินิจฉัยสภาพแวดล้อมโดยรวม ระดับ - องค์การ / รร. - กลุ่ม / หมวด / สายชั้น - บุคคล / ครู วินิจฉัย ปัจจัยนำเข้าและการออกแบบองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น โครงสร้างภาระงาน การแบ่งหน้าที่การปฏิบัติงาน ทัศนคติ และการยอมรับของ ผู้ใต้บังคับบัญชา ส่งผลต่อการเกิดแรงสนับสนุนและแรงต่อต้าน ซึ่งเป็นสิ่งบ่งบอกถึง ความสำเร็จและล้มเหลว วิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ เป็นกระบวนการวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยที่เป็นวิกฤตและปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การ

3. ขั้นตอนวางแผนกลยุทธ์

1) กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ สื่อสารให้ทุกคนทราบ

2) กำหนดเป้าหมาย

3) ระบุความต้องการเปลี่ยนแปลง

4) เลือกการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น

5) ประเมินความสลับซับซ้อน

4. ขั้นออกแบบกิจกรรมการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การ เป็นการออกแบบกิจกรรมหรือวิธีการที่มีการวางแผนอย่างดี เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่บรรลุเป้าหมาย

สิ่งที่ควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม

1). เลือกใช้เทคนิคที่มีข้อมูลมากที่สุดเพื่อทราบปัญหาที่แท้จริง

2). หากใช้หลายเทคนิคประกอบกัน ควรจัดลำดับ เน้นความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด

3). จัดลำดับก่อน หลัง โดยคำนึงทรัพยากรคน งบประมาณ เวลา

4). กิจกรรมที่เน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสมาชิก นำมาใช้อย่างระมัดระวัง หรือ เมื่อสมาชิกสมัครใจ

5). ออกแบบกิจกรรมที่หลากหลาย

ประเภทของกิจกรรมการเปลี่ยนแปลง

1). กิจกรรมที่ได้รับการยอมรับเพื่อการแก้ไข

2). กิจกรรมเพื่อตรวจสอบ เช่น ระดมความคิด

3). กิจกรรมเพื่อการกระตุ้น เช่น การสัมภาษณ์

4). กิจกรรมเพื่อการสังเกต เช่น การแนะนำของ ผู้เชี่ยวชาญ

5). กิจกรรมพื้นฐานและแนวคิด เช่น ทดสอบกรอบแนวคิด

กิจกรรมการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

(1) ระดับบุคคล

(2) ระดับทีม

(3) ระหว่างกลุ่ม

(4) ระดับองค์การ

 

5.ขั้นดำเนินการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การ

ยากที่สุด เนื่องจาก

(1) ระบบการป้องกันตัวขององค์การ

- ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

- ต่อต้านของใหม่ แก้โดย สร้างความรู้สึกเร่งด่วน, สื่อสาร

ยากที่สุด เนื่องจาก

(2) ขัดความรู้สึกต่อผู้ร่วมงาน ต่อต้าน วิจารณ์ ตกใจ แก้โดย กระตุ้นให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม

ยากที่สุด เนื่องจาก

(3) จำนวนตัวแปรที่เข้ามาเกี่ยวข้องหลายตัว เช่น ปัจจัยทางสังคม การจัดการองค์การ ปัจจัยกายภาพ เทคโนโลยี แก้โดย สร้างความเข้าใจ ประชุม อบรม พัฒนาบุคลากร

ยากที่สุด เนื่องจาก

4. ความเชื่อมโยงของกิจกรรม กิจกรรมพัฒนาองค์การ มีผลต่อ การพัฒนาองค์การ องค์การ มีผลต่อ พฤติกรรมบุคคล พฤติกรรมบุคคล ทำให้เกิด ผลลัพธ์ต่อองค์การ ดังนั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบใดจะมีผลกระทบองค์ประกอบอื่น ๆ ด้วย

การนำแผนพัฒนาองค์การสู่การปฏิบัติ

(1)เปลี่ยนแปลงโดยวิธีปฏิวัติ

- หวังผลฉับพลันทันที

- ฝ่ายบริหารสั่งการพนักงานปฏิบัติ เช่น เปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ ระบบงาน ตำแหน่งงาน "เห็นผลเร็ว แต่ความขัดแย้งมาก"

(2) เปลี่ยนแปลงโดยวิธีวิวัฒนาการ

- ค่อยเป็นค่อยไป

- ไม่ก่อให้เกิดความตื่นเต้นมากนัก

- สมาชิกปรับตัวได้

"เห็นผลช้า แต่ความขัดแย้งน้อย"

(3)การเปลี่ยนแปลงโดยวางแผนล่วงหน้า

- ทำเป็นระบบปกติ

- ศึกษา วิเคราะห์ วางแผนล่วงหน้า

- มีขั้นตอน

- มีส่วนร่วม

- มีประสิทธิภาพ

"เห็นผลช้า ความขัดแย้งน้อยที่สุด "

 

6. ขั้นประเมินผลการเปลี่ยนแปลง เป็นกระบวนการทบทวนการปฏิบัติงาน และหากลไกในการบริหารการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การ ช่วยให้การดำเนินงานราบรื่น โดยติดตาม ตรวจสอบ การดำเนินงานด้านต่างๆ ขั้นประเมินผลการเปลี่ยนแปลงมี 4 ระดับ

1). ระดับความรู้

2). ระดับทัศนคติ

3). ระดับพฤติกรรม

4). ระดับประสิทธิผล/การเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติงาน การเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน ระดับพฤติกรรม ระดับทัศนคติ ระดับความรู้

ระดับการวัดความรู้ มี 6 ระดับ (Bloom :1956)

(1)ระดับความรู้ (ทบทวน)

(2)ระดับความเข้าใจ

(3)ระดับการนำไปประยุกต์ใช้

(4)ระดับการวิเคราะห์

(5)ระดับการสังเคราะห์

(6)ระดับการประเมิน(ซับซ้อนมาก)

เทคนิคการวัดทัศนคติ เป็นเทคนิคการวัดความรู้สึกของบุคคลที่จะมีพฤติกรรมชอบต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น -

 มาตรจัดประเภท เช่น ตอบ จริง/ไม่จริง

- มาตรจัดลำดับ เช่น จัดจากมากไปหาน้อย

- มาตรอันตรภาพ เช่น แบบประเมินความรู้สึก 5 ระดับ(5, 4, 3, 2, 1)

เทคนิคการวัดพฤติกรรม เป็นเทคนิคเพื่อทดสอบความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย มี 2 ระดับ

(1)ประเมินก่อนและระหว่างเข้าร่วมกิจกรรม

(2)ประเมินหลังเข้าร่วมกิจกรรม

 

เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง แล้ว ควร....

(1)รักษาระดับการเปลี่ยนแปลง

(2)การสร้างการเปลี่ยนแปลง เป็นการฉลองความสำเร็จที่เกิดขั้น ซึ่งเป็นจุดจบของสิ่งหนึ่ง และขณะเดียวกันเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับอีกสิ่งหนึ่งด้วย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

หมายเลขบันทึก: 56479เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2006 18:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 20:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท