"องค์เอกกรอิสระที่แท้จริง"


                                          

ในการปกครองบ้านเมือง มีนายกฯ เป็นผู้นำทั้งคณะรัฐมนตรี ประชาชน และองค์กรต่างๆ ในการขับเคลื่อนสังคมให้ดำเนินไป ในภูมิภาคมีผู้ว่าฯ ดูแล บริหาร ให้เกิดความความสงบ ความเป็น อยู่ คือ.. ทำให้ประชาชนมีที่พึ่ง ที่อาศัยในคราทุกข์ร้อน ต่ำไปกว่านั้น ก็นายอำเภอ ปลัด กำนัน อบต. ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำครอบครัว เป็นผู้ขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชน ให้ดำเนินไปตามกฏ กติกาสังคม ให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข

ในการบริหาร การปกครองจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ (แนวโน้มถ่วง) ดั่งที่นพ.ประเวศ วะสี กล่าวนี้ มีจุดอ่อนคือ ใช้อำนาจไปในทางมิชอบได้ ผู้น้อยรอแต่คำสั่งอย่างเดียว ไม่มีอิสระในการทำงานด้วยตัวเอง เข้าลักษณะกล้าๆ กลัวๆ เมื่ออยู่ห่างไกลย่อมมีโอกาสแสวงหาประโยชน์ตนได้ และทำงานเชื่องช้า เพราะต้องรออำนาจเดินทางไกล (ทั้งๆที่เข้าสู่ยุคดิจิตอลแล้วก็ตาม) ผลคือ องค์กรของรัฐมีอิสระไปในทางมิชอบต่อหน้าที่ของตน เกิดทุจริต คอรับชั่นกันไปทั่ว นี่ไงคือผลที่ใครๆ เรียกร้องให้องค์กรต่างๆ ของรัฐมีอิสระในตนเอง โดยเฉพาะอบจ. และอบต.

มองในมุมกลับหากผู้นำส่วนท้องถิ่นเหล่านี้ เป็นผู้ได้รับอำนาจจากรัฐส่วนกลางมาแบบเบ็ดเสร็จ แล้วดำเนินการบริหารแบบอิสระจากส่วนกลาง เหมือนอเมริกา รัฐจะกล้าหรือกลัวการแบ่งอำนาจตนหรือไม่ หรือจะเกิดการทุจริต คอรัปชั่นมากมายขนาดไหนหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม กระแสความอิสระจะมีบทบาทหรือมีอิทธิพลต่อการปกครองในอนาคตเป็นแน่ รัฐจึงต้องระวังและในขณะเดียวกันก็มิควรกอดอำนาจไว้แต่ส่วนกลางอย่างเดียว

จากกรณีการประท้วงบ้านเมืองของปปกส. ชี้ให้เห็นว่า รัฐต้องยืดหยุ่นกับพลังอำนาจการประท้วงของประชาชน แม้แต่กลไกผู้ผู้ช่วยรัฐ เช่น ทหาร ตำรวจ ก็ไม่ได้ปฏิบัติการอย่างเต็มร้อย ซึ่งสะท้อนลึกๆ ว่า อำนาจคือ สิ่งที่ผู้คนทั่งโลกกำลังเอือมระอา ตั้งแต่อดีตมาแล้ว ประชาชนมีความรู้ รู้เรื่องการเมือง การปกครองมากกว่าแต่ก่อน รู้วาระซ่อนเร้น รู้กฏเกณฑ์ รู้กติกา ในการเมืองมากขึ้น เหลือแต่ว่า รัฐจะถูกเทคโอเวอร์เมื่อไหร่เท่านั้น

ท่านทั้งหลายก็รู้มานานอย่างขมขื่นที่เจ้าหน้ารัฐแสดงอำนาจต่อกิจการประชาชน เหมือนเจ้านายกับไพร่ ดูถูก ดูแคลนคนยากจน เห็นความเดือดร้อนเป็นเรื่องการเมืองหรือเรื่องมายา มาบีบน้ำตา ให้ปราณี ฯ รัฐจึงไม่คิดใยดีหรือมาพบปะพูดคุย คนรวยราชการก็โอ๋โอบ พีนอบพิเทา ส่วนคนจนคอยก่อน รอก่อน ตามคิว

แม้ว่าเราจะรู้ว่า เจ้าหน้าที่คือ หนังหน้าไฟของรัฐหรือหน้าด่าน แต่กลับแสดงบทบาทเหมือนเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจประหนึ่งว่า เจ้านาย  ใครกันแน่คือ เจ้านาย มิใช่ประชาชนหรือ? และเราจะรู้อยู่ว่า นี่คือ ระบบราชการแผ่นดิน แต่เพื่อใครละ ต่อไปเราจะขอไม่ขึ้นตรงต่อรัฐบ้าง ทำงานอย่างอิสระ ไม่ใยดีต่อรัฐ จะปกครอง บริหารกันเองในชุมชน รัฐจะคิดว่าเรา ใช้อริยขัดแย้งหรือไม่

ส่วนเจ้าหน้าที่ของรัฐในท้องถิ่นก็แสดงตัวเหมือนกับว่า เป็นองค์กรรัฐเต็มตัว หารู้ไม่เขามอบอำนาจบริหารให้กับตนเองร่วมกับประชาชนให้ดูแลประชาชนแทนส่วนกลาง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพฉับไว แต่เจ้าหน้าที่เหล่านี้กลับยังยึดโยงโครงสร้างอ้างว่า รัฐสั่งการหรือเป็นอำนาจรัฐมนตรีอยู่ เมื่อไหร่พวกนายจะเป็นตัวองค์กรอิสระเสียทีละ

ที่แสดงน้ำหนักอารมณ์เช่นนี้ มิใช่ผู้เขียนเพราะมีอารมณ์ค้างมาจากการกระทำของเจ้าหน้าที่นะครับ แต่สะท้อนภาพรวมในการบริการของเจ้าหน้าที่รัฐทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น เรื่อง "ความเป็นอิสระในองค์กร" หากเราต้องการความเป็นอิสระเหมือนส่วนกลางต้องการให้ส่วนท้องถิ่น มีอิสระในการทำงาน ใยต้องอิงอำนาจส่วนกลางละ คือ ผู้เขียนเข้าใจว่า ๑) ส่วนท้องถิ่น ยังมีเยื่อใยในอำนาจส่วนกลางอยู่ ๒) ส่วนท้องถิ่นขาดงบประมาณ ๓) ขาดอุปกรณ์ในการบรรเทาสาธารณภัยในเขตของตน ๔) บางเรื่องไปเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่นๆ ๕) เจ้าหน้าที่ไม่มีทักษะหรือความรู้มากพอ ๖) กลัวเรื่อง การฟ้องร้อง ๗) ขาดการบริหารเชิงระบบ ๘) ไม่มีความปลอดภัยกับตนเอง ๙) กลัวไม่มีงานทำ ๑๐) ขาดมุมมองแบบโลกทัศน์ ประเทศทัศน์และความร่วมมือของคนในท้องถิ่น

เรื่องนี้ ก็สะท้อนไปถึงส่วนลึกได้เหมือนกันนั่นคือ "องค์เอกกรอิสระ" (Independent mind organization) หมายถึง ความอิสระในตนเองหรือในใจของตน ที่ขาดการประสานงานหรือการทำงานอย่างเป็นเอกภาพในตนเอง หมายความว่า ในปัจเจกบุคคล ตั้งแต่เกิดมาได้รับรู้ ข้อมูลมามากมาย จนกระทั่งเติบโต จบการศึกษาสูง มีความรู้ ปัญญา มีความสามารถต่างๆ แต่จัดการระบบความรู้ ความคิดในตนไม่ได้ ไม่มีอิสระในตนเอง เป็นเหมือนองค์กรแห่งการกระทำ ดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ด้วยความรู้ ปัญญา ทักษะ ความสามารถ ศักยภาพ ฯ เป็นเหมือนองค์กรต่างๆ ที่รวมไว้ที่ตนเองหมด แต่กลับไม่มีอิสระในการจัดการ บริหารตนเองได้อย่างอิสระครับ

หากจะโยงไปถึงระบบการปกครองบ้านเมือง เหมือนชีวิตหนึ่ง หากต้องการอิสระจากสิ่งภายนอกหรือถูกสิ่งภายนอกครอบงำ จะบริหารจัดการตนอย่างไรให้เป็นอิสระ เหมือนกับตัวเรา ที่ผ่านชีวิต ผ่านโลกมา เจอปัญหาอุปสรรคมากมาย เราจะทำอย่างไรให้ใจ (นายกฯ) บริหารตนเองให้เกิดอิสรภาพในตัวเองได้ นั่นคือ ความพ้นทุกข์ ที่ถูกครอบงำของโลก ที่สำคัญทำอย่างไรจะไม่ถูกครอบงำด้วยอำนาจตนและคนที่อยู่ข้างในเราเอง (กิเลส)

-----------------<๒๒-๓-๕๗>--------------------

คำสำคัญ (Tags): #อิสระ
หมายเลขบันทึก: 564398เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2014 09:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2014 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

..... เหนื่อยใจค่ะ ..... ใช้อำนาจไปในทางมิชอบ...????

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับองค์เอกกรอิสระ ที่ไม่มีความอิสระในการดำเนินการ วินิจฉัยสั่งการ หลายคนเข้าลักษณะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก การทำงานในองค์กรก็จะมีลักษณะที่คล้ายกันนี้ครับ

ตอนนี้ดูข่าวการเมืองตอนเช้า

เหมือนดู talk show เลยค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท