เผยแพร่ผลงานวิชาการ


บทคัดย่อ

ชื่อวิจัย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (Brain Based Learning) เรื่องสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า) จังหวัดยะลา

ชื่อผู้วิจัย นางเนาวนิต จันทสุบรรณ                   

ปีการศึกษา2556

          การศึกษาค้นคว้ามีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (Brain Based Learning) เรื่องสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ให้มีคุณภาพตามมารตราฐานการประเมินของผู้เชี่ยวชาญและตรวจสอบกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (Brain Based Learning) ที่สร้างขึ้นด้วยการหาประสิทธิภาพ E1/E2 การหาประสิทธิผล E| เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (Brain Based Learning) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (Brain Based Learning) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนเทศบาล ๕ (บ้านตลาดเก่า) จังหวัดยะลา ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ ๒ ของปีการศึกษา ๒๕๕๕ จำนวน ๓๓ คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิด สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning) เรื่องสระของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ แบบฝึกทักษะ ชุดสระสนุก ประกอบด้วยเล่มที่ 1 สระเสียงสั้น เล่มที่ 2 สระเสียงยาว เล่มที่ 3 สระเกิน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน – หลังเรียน แบบประเมินคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัย และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (Brain Based Learning) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิตในการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การหาประสิทธิภาพ (E1/E2 ) การหาประสิทธิผล ( E| ) และการทดสอบที (t-test dependent)

ผลการศึกษาโดยการสรุปมีดังนี้

1. กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (Brain Based Learning) เรื่องสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.58 /82.02 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.62

  1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังเรียนการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิด สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning) เรื่องสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ แตกต่างกัน    มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (Brain Based Learning) เรื่องสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ อยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ (Tags): #บทคัดย่อ
หมายเลขบันทึก: 564174เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2014 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มีนาคม 2014 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท