197. ศึกษาดูงาน-โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล


>>>

        โรงเรียนปากชมวิทยา ได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล ขึ้นในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เพื่อศึกษาดูงานการบริหารสถานศึกษาตามโครงสร้างการบริหารงาน การบริหารจัดการศึกษา การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และกิจกรรมสภานักเรียน ซึ่งสำหรับผู้เขียน ได้เข้าร่วมศึกษาดูงานในครั้งนี้ และมีกิจกรรมที่ได้ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนรียนรู้  ดังนี้

>>>

        โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดอุดรธานี ประเภทสหศึกษา ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๐ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีชื่อเรียกอย่างย่อว่า อุดรพิทย์ โดยมีผู้อำนวยการคนปัจจุบัน คือ นายประมวล โสภาพร      

        การบริหารงานของโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล บริหารงานตามภาระหน้าที่การบริหารงานในโรงเรียน ๔ ฝ่าย ตามกฎกระทรวงซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๓๙ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ (ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๔๕) ประกอบด้วย ด้านบริหารงานวิชาการ ด้านบริหารงานงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป

        การบริหารงานหลักสูตรการเรียนการสอน มีดังนี้

  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

       นอกจากนี้ โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล ยังได้ดำเนินการจัดการศึกษาตามแนวการดำเนินงานของโรงเรียนมาตรฐานสากล (worldclass school) และได้รับการประเมินเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ ลำดับที่ ๑๘ ของ โรงเรียนคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย ๒๕๕๖

>>>

       กิจกรรมสภานักเรียน

       การดำเนินงานสภานักเรียน ของโรงเรียนอุดรพิทยาคม นั้น มีการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ มีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะภายใต้ขอบเขตของสิทธิและหน้าที่ของตน ส่งเสริม ความสามัคคี ความมีวินัย รู้เหตุ รู้ผล อนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการบริหารงานของโรงเรียนตามครรลองประชาธิไตย ซึ่งกรมสามัญได้กำหนดไว้ในนโยบายข้อที่ ๗ การศึกษาเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย โดยกำหนดเป็นนโยบายว่า “พัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมเรียนรู้ และบรรยากาศในโรงเรียน ที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจลักษณะนิสัยและพฤติกรรมประชาธิปไตยในชีวิตประจำวันของนักเรียน” และกรมสามัญศึกษาได้กำหนดมาตรการให้ “ส่งเสริมกิจกรรมในลักษณะชุมชน ชมรม งานกิจการนักเรียน และจัดให้มีคณะกรรมการนักเรียนหรือ สภานักเรียน โดยให้มีรูปแบบและวิธีการที่สอดคล้องการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของประเทศ”

        โครงสร้างการดำเนินงานสภานักเรียน ประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ ตัวแทนนักเรียนที่มาจากการเลือกตั้งคณะกรรมนักเรียน ตัวแทนนักเรียนจากการเลือกตั้งหัวหน้าห้องเรียน และคณะอนุกรรมการที่มาจากการแต่งตั้งของสภานักเรียน โดยมีการวางแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การดำเนินของสภานักเรียน ผ่านกิจกรรมต่างๆ ภายในโรงเรียนและนอกโรงเรียน เช่น กิจกรรมประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย การจัดป้ายนิเทศ และการสร้างเว็บเพจทางลื่อออนไลน์ คือ https://www.facebook.com/www.Udonpittayanukoon.ac.th

>>>

 

หมายเลขบันทึก: 564071เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2014 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มีนาคม 2014 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท