การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบเดิม


ขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่หลายหน่วยงานใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์มีหลายรูปแบบ ได้แก่ Software Development Life Cycle หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า SDLC ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนดังนี้

  1. การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์
  2. การเก็บรวบรวมข้อมูล
  3. การวิเคราะห์ระบบ
  4. การออกแบบระบบ
  5. การพัฒนาระบบ
  6. การทดสอบระบบ
  7. การติดตั้งระบบและทดลองใช้งาน

แต่ละขั้นตอนต้องทำให้เสร็จสมบูรณ์จึงจะทำขั้นตอนต่อไป หากขั้นตอนใดมีปัญหาไม่สามารถย้อนกลับมาทำขั้นตอนก่อนหน้าได้ แต่ละขั้นตอนจะมีบุคคลในตำแหน่งต่าง ๆ รับผิดชอบ เช่น โปรเจ็คลีดเดอร์ จะทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตั้งแต่สมาชิกในทีม เทคโนโลยีที่ใช้ ค่าใช้จ่ายและรายได้จากการพัฒนา นักวิเคราะห์ระบบทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของระบบที่จะพัฒนา ซึ่งต้องติดต่อและเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่ต้องการใช้งานระบบหรือลูกค้า การรวบรวมข้อมูลจากลูกค้าบางครั้งโปรเจ็คลีดเดอร์และนักวิเคราะห์ระบบต้องทำงานร่วมกัน นอกจากนั้นนักวิเคราะห์ระบบยังต้องวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานของระบบเดิม จนกระทั่งการออกแบบระบบตั้งแต่ขั้นตอนการทำงานของระบบงานใหม่ ระบบฐานข้อมูล ส่วนติดต่อผู้ใช้(Interface) สำหรับส่วนติดต่อผู้ใช้ หน่วยงานขนาดใหญ่อาจจะมีตำแหน่งนักออกแบบเว็บ(Web Designer) ทำหน้าที่ออกแบบหน้าเว็บไซต์ เพราะต้องอาศัยศิลปะ ประสบการณ์ ความละเอียดและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการออกแบบ ส่วนการพัฒนาระบบจะเป็นหน้าที่ของนักพัฒนาระบบ เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้ตรงกับสิ่งที่ได้วิเคราะห์และออกแบบไว้แล้ว เมื่อพัฒนาระบบเสร็จเรียบร้อยแล้วจะเป็นหน้าที่ของนักทดสอบระบบ ทำหน้าที่ในการทดสอบผลการทำงานของระบบให้เป็นไปตามที่ได้วิเคราะห์และออกแบบไว้ เมื่อแน่ใจว่าระบบสามารถทำงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดทีมงานจึงติดตั้งระบบเพื่อให้ลูกค้าได้ทดลองใช้งานจริง หลังจากนั้นจึงส่งมอบงานโดยโปรเจ็คลีดเดอร์

จากขั้นตอนของ Software Development Life Cycle: SDLC ทั้ง 7 ขั้นตอน ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการทำงานในแต่ละขั้นตอน สามารถแจกแจงได้ตามภาพด้านล่างนี้

SDLC.bmp

จะเห็นว่า โปรเจ็คลีดเดอร์และนักวิเคราะห์และออกแบบระบบจะเป็นผู้ที่ติดต่อประสานไปยังลูกค้าตั้งแต่เริ่มต้นพัฒนาจนกระทั่งส่งมอบงาน สำหรับการทำงานตั้งแต่การวิเคราะห์ระบบ จนกระทั่งการทดสอบระบบผู้ที่ทำงานในส่วนนี้ จะเพียงรับขอบเขตงานแล้วมาพัฒนาตามหน้าที่เท่านั้น หากมีปัญหาหรือข้อสงสัยจะสอบถามไปยังโปรเจ็คลีดเดอร์หรือนักวิเคราะห์และออกแบบระบบ เป็นเหตุให้หากการพัฒนาระบบไม่สามารถทำงานได้สำเร็จลุล่วงตามที่ได้วางแผนไว้ เป็นหน้าที่ของโปรเจ็คลีดเดอร์หรือนักวิเคราะห์และออกแบบระบบที่ต้องคอยตอบคำถามจากลูกค้า และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นครั้ง ๆ ไป

 

หมายเลขบันทึก: 564063เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2014 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มีนาคม 2014 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท